星期日, 十一月 08, 2015

Ekka Thet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   1/279/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[กถาว่าด้วยปุพเพนิวาสญาณ]
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเอกเทศอาทิผิด อักขระแห่งคุณทั้งหลาย ที่
จตุตถฌานเป็นเหตุอำนวยให้เหล่านั้น จึงตรัสว่า เอวํ สมาหิเต จิตฺเต
ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า โส เอวํ เป็นต้นเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โส คือ โส อหํ แปลว่า เรานั้น. บทว่า เอวํ นั่นเป็น
บทแสดงลำดับแห่งจตุตถฌาน. มีอธิบายว่า เราได้เฉพาะจตุตถฌาน ด้วย
ลำดับนี้.
บทว่า สมาหิเต ความว่า (เมื่อจิตของเรา) ตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิ
ในจตุตถฌานนี้.
ส่วนในคำว่า ปริสุทฺเธ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ อันอุเบกขาให้
เกิดแล้ว. มีคำอธิบายไว้ว่า ชื่อว่า ผุดผ่อง คือใสสว่าง เพราะความเป็น
ธรรมชาติบริสุทธิ์นั่นเอง.
ชื่อว่า ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน เพราะความที่กิเลสเพียงดังเนินมีราคะ
เป็นต้น อันมรรคกำจัดแล้ว เพราะฆ่าซึ่งปัจจัยมีสุขเป็นต้นเสียได้. ชื่อว่า
มีอุปกิเลสปราศไปแล้ว เพราะความไม่มีกิเลสเพียงดังเนินนั่นเอง. จริงอยู่
จิตย่อมเศร้าหมอง เพราะกิเลสเพียงดังเนิน.
ชื่อว่า เป็นธรรมชาติอ่อน เพราะอบรมดีแล้ว มีคำอธิบายว่า ถึงความ
ชำนาญ. แท้จริง จิตที่เป็นไปอยู่ในอำนาจ ท่านเรียกว่า มุทุ (อ่อน). อนึ่ง
ชื่อว่าควรแก่การงาน เพราะความเป็นจิตอ่อนนั่นเอง มีคำอธิบายว่า เหมาะแก่
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: