星期日, 二月 28, 2016

Namatsakan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 54/226/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นี้ว่า ดูก่อนอาทิผิด อาณัติกะเขมา จงดูร่างกายอันกระสับกระส่ายไม่
สะอาด เน่าเปื่อย ไหลเข้าไหลออกที่พวกพาลชนยินดี
กันนัก จงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์เดียวด้วย
อสุภารมณ์เถิด จงมีกายคตาสติ มีความเบื่อหน่ายมากๆ
ไว้เถิด รูปหญิงนี้ฉันใด รูปของเธอนั้นก็ฉันนั้น รูป
ของเธอฉันใด รูปหญิงนี้ก็เป็นฉันนั้น เธอจงคลาย
ความพอใจในกายทั้งภายในภายนอกเสียเถิด จงอบรม
อนิมิตตวิโมกข์ จงละมานานุสัยเสีย เธอจักเป็นผู้
สงบ จาริกไปเพราะละมานานุสัยนั้นได้.
ชนเหล่าใดกำหนัดอยู่ด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่
กระแสตัณหา เหมือนแมลงมุมตกไปยังใยที่ตัวเองทำ
ไว้ฉะนั้น ชนเหล่านั้นตัดกระแสตัณหานั้นเสียได้แล้ว
เป็นผู้หมดอาลัย ละกามสุขได้ย่อมงดเว้นกิจคฤหัสถ์
[บวช] อยู่ ขณะนั้น พระบรมศาสดาผู้เป็นสารถีอาทิผิด อักขระฝึก
นรชนทรงทราบว่าข้าพเจ้ามีจิตควรแล้ว จึงทรงแสดง
มหานิทานสูตรเพื่อทรงแนะนำข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ฟัง
สูตรอันประเสริฐนั้นแล้ว ระลึกถึงสัญญาในกาลก่อน
ได้ดำรงอยู่ในสัญญานั้นแล้ว ชำระธรรมจักษุให้หมด
จด ทันใดนั้น ข้าพเจ้าหมอบลงแทบพระบาทยุคลแห่ง
พระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เพื่อประสงค์จะ
แสดงโทษ [ขอขมา] จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ขอถวายนมัสการอาทิผิด อักขระ
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 26, 2016

Sitthi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 56/370/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๗. นามสิทธิชาดก
ว่าด้วยชื่อไม่เป็นของสำคัญ
[ ๙๗] “ เพราะเห็นคนชื่อ ชีวกะตาย นางธนปาลี
ตกยาก นายปันถกะหลงทางในป่า เจ้าปาปกะ
จึงกลับมา”
จบ นามสิทธิอาทิผิด อักขระชาดกที่ ๗
อรรถกถานามสิทธิชาดกที่ ๗
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้หวังความสำเร็จโดยชื่อ รูปหนึ่ง ตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า ชีวกญฺจ มตํ ทิสฺวา ดังนี้.
ได้ยินว่า กุลบุตรผู้หนึ่ง โดยนาม ชื่อว่า ปาปกะ บวช
ถวายชีวิตในพระศาสนา เมื่อถูกพวกภิกษุเรียกว่า มาเถิด
อาวุโส ปาปกะ หยุดเถิดอาวุโส ปาปกะ ก็คิดว่า ในโลกผู้ที่มี
ชื่อว่า ปาปกะ เขากล่าวกันว่า ลามก เป็นตัวกาฬกรรณี เรา
ต้องให้พระอุปัชฌาย์อาจารย์หาชื่อที่ประกอบไปด้วยมงคล
อย่างอื่น เธอเข้าไปหา อุปัชฌาย์อาจารย์กราบเรียนว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ชื่อของผมเป็นอัปมงคล กรุณาตั้งชื่ออย่างอื่นให้
กระผมเถิด. ครั้งนั้นอาจารย์และอุปัชฌาย์ ก็กล่าวกะอาทิผิด สระเธออย่างนี้
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 二月 24, 2016

Wa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 57/16/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า ทฺทรํ อภินาทยิ ความว่า ไกรสรราชสีห์นั้น
บันลือสีหนาทน่ากลัวดุจสำเนียงอสนิบาตฟาดลงสักร้อยครั้ง
คือ ได้กระทำรชฏบรรพตให้มีเสียงกึกก้องเป็นอันเดียวกัน.
บทว่า ททฺทเร วสํ ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกซึ่งอาศัยอยู่ในรชฏบรรพต
ติดกับถ้ำแก้วผลึก. บทว่าอาทิผิด อาณัติกะ ภีโต สนฺตาสมาปาทิ ความว่า สุนัข
จิ้งจอกกลัวตาย ถึงความหวาดสะดุ้ง. บทว่า หทยญฺจสฺส อปฺผลิ
ความว่า หัวใจของสุนัขจิ้งจอกนั้นแตกเพราะความกลัว.
ราชสีห์โพธิสัตว์ ครั้นให้สุนัขจิ้งจอกถึงแก่ความตายแล้ว
จึงปกคลุมพวกน้อง ๆ ไว้ในที่แห่งหนึ่ง แล้วแจ้งการตายของ
ราชสีห์เหล่านั้นให้นางราชสีห์ผู้น้องรู้ ปลอบน้องอยู่อาศัยใน
ถ้ำทองจนสิ้นชีพแล้วก็ไปตามยถากรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึง
ทรงประกาศสัจธรรมประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจธรรม
อุบาสกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็น
บุตรช่างกัลบกในบัดนี้. นางราชสีห์ได้เป็นกุมาริกาแห่งเจ้า
ลิจฉวี น้อง ๆ ทั้งหกได้เป็นพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ส่วนราชสีห์
พี่ใหญ่ได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๒
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 二月 23, 2016

Anasawa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/273/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
องค์มรรค ๘ เป็นโลกุตตระ
องค์มรรค ๘ เป็นเกนจิวิญเญยยะ, เป็นเกนจินวิญเญยยะ
องค์มรรค ๘ เป็นโนอาสวะ
องค์มรรค ๘ เป็นอนาสวะ
องค์มรรค ๘ เป็นอาสววิปปยุต
องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ
องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็น
อาสวสัมปยุตตโนอาสวะ
องค์มรรค ๘ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะอาทิผิด อักขระ
องค์มรรค ๘ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนคันถะ
ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนโยคะ ฯลฯ
องค์มรรค ๘ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ องค์
มรรค ๘ เป็นสารัมมณะ
องค์มรรค ๘ เป็นโนจิตตะ
องค์มรรค ๘ เป็นเจตสิกะ
องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสัมปยุต
องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐะ
องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสมุฏฐานะ
องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสหภู
องค์มรรค ๘ เป็นจิตตานุปริวัตติ
องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ
องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 20, 2016

Pucchaka

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/275/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
องค์มรรค ๘ เป็นนกามาวจร
องค์มรรค ๘ เป็นนรูปาวจร
องค์มรรค ๘ เป็นนอรูปาวจร
องค์มรรค ๘ เป็นอปริยาปันนะ
องค์มรรค ๘ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยานิกะก็มี
องค์มรรค ๘ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี
องค์มรรค ๘ เป็นอนุตตระ
องค์มรรค ๘ เป็นอรณะ ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะอาทิผิด สระจบ
มัคควิภังค์ จบบริบูรณ์
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 19, 2016

Daet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/157/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงผึ่งแดดอาทิผิด อักขระทำให้สะอาดตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง
พึงผึ่งแดดอาทิผิด เช็ดถูเสีย แล้วขนกลับตั้งอาทิผิด อักขระไว้ตามเดิม.
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ
ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงวางบาตรบนพื้น
ที่ไม่มีสิ่งใดรอง.
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ
สายระเดียงแล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างในแล้วจึงเก็บจีวร.
ถ้าลมเจือด้วยผงคลีพัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวัน-
ออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก. พึงปิดหน้าต่างด้านอาทิผิด อักขระตะวันตก ถ้าพัดมาแต่
ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน พึงปิดกลางคืน ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้า
ต่างกลางวัน พึงเปิดกลางคืน.
ถ้าบริเวณ ซุ้มอาทิผิด อาณัติกะน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย
ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ใน
หม้อชำระ.
ถ้าความกระสันบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงช่วยระงับหรือพึง
วานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าความ
รำคาญบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงบรรเทาหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย
บรรเทา หรือพึงทำธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าความเห็นผิดบังเกิดแก่
สัทธิวิหาริกอุปัชฌายะพึงให้สละเสียหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรม-
กถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าสัทธิอาทิผิด สระวิหาริกต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส อุปัชฌายะ
พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่สัทธิ-
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 18, 2016

Athibai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 22/357/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในบทว่า อารติ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ชื่อว่า อารติ
เพราะยินดีความห่างไกลจากวจีทุจริต.
ชื่อว่า วิรติ เพราะเว้นจากวจีทุจริตเหล่านั้น.
ชื่อว่า ปฏิวิรติ เพราะถอยกลับจากวจีทุจริตนั้น ๆ แล้วงดเว้น
จากวจีทุจริตเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเพิ่มบทด้วยอำนาจอุปสรรค. บท
ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของภาวะคือ การงดเว้นทั้งนั้น.
ชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ำยีเวร ได้แก่ ทำเวรให้พินาศไป แม้บท
นี้ก็เป็นไวพจน์ของความงดเว้นเหมือนกัน.
แม้คำทั้งสองว่า เจตนา ๑ วิรติ ๑ ย่อมใช้ได้เหมือนกัน แม้ในคำว่า
ปาณาติปาตา เวรมณี เป็นต้น.

อธิบายอาทิผิด สระกุหนาเป็นต้น

ในบทว่า กุหนา เป็นต้น
ชื่อว่า กุหนา (วาจาล่อลวง) เพราะลวงโลกให้อาทิผิด อักขระงงงวยด้วยวาจานั้น
ด้วยเรื่องหลอกลวง ๓ ประการ.
ชื่อว่า ลปนา (วาจายกยอ) เพราะคนผู้ต้องการลาภ สักการะยกยอ
ด้วยวาจานั้น.
ชื่อว่า ผู้ทำบุ้ยใบ้ เพราะมี (แต่ทำ) บุ้ยใบ้อาทิผิด อาณัติกะเป็นปกติ. ภาวะของผู้
ทำบุ้ยใบ้เหล่านั้น ชื่อว่า เนมิตฺตกตา (ความเป็นผู้ทำบุ้ยใบ้)
ชื่อว่า ผู้ทำอุบายโกง เพราะคนเหล่านั้นมีการทำอุบายโกงเป็นปกติ
ภาวะของคนผู้ทำอุบายโกงเหล่านั้น ชื่อว่า นิปฺเปสิกตา (ความเป็นผู้ทำ
อุบายโกง)
ชื่อว่าการแลกลาภด้วยลาภ เพราะแลก คือหา ได้แก่แสวงหาลาภ
ด้วยลาภ ภาวะแห่งการแลกลาภด้วยลาภเหล่านั้น ชื่อว่า การหาลาภด้วย
ลาภ. ความย่อในที่นี้มีเพียงเท่านี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 15, 2016

Tamnak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/248/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ออกบวชเป็นพระพุทธเจ้า บุตรคนที่ ๒ ของเรา ก็เป็นอัครสาวก
บุตรปุโรหิตเป็นสาวกที่ ๒ และภิกษุที่เหลือเหล่านี้ ในเวลาเป็น
คฤหัสถ์ เที่ยวแวดล้อมบุตรของเราเท่านั้น ภิกษุเหล่านี้ ทั้งเมื่อก่อน
ทั้งบัดนี้เป็นภาระของเราผู้เดียว เราเท่านั้นจักบำรุงภิกษุเหล่านั้น
ด้วยปัจจัย ๔ จักไม่ให้โอกาสแก่คนเหล่าอื่น จึงให้สร้างรั้วไม้ตะเคียน
สองข้าง ตั้งแต่ซุ้มประตูพระวิหารจนถึงทวารพระตำหนักอาทิผิด อักขระพระ-
ราชนิเวศน์ ให้ปิดด้วยผ้า ให้สร้างเพดานพวงดอกไม้ต่าง ๆ แม้
ขนาดต้นตาล วิจิตรด้วยดาวทองห้อยเป็นระย้า ให้ลาดพื้นล่างด้วย
เครื่องลาดอันวิจิตร ให้ตั้งหม้อน้ำเต็ม ไว้ใกล้กอมาลัยและของหอม
ทั้งสองข้าง วางดอกไม้ไว้ระหว่างของหอม และวางของหอมไว้ใน
ระหว่างดอกไม้ เพื่อให้กลิ่นตลบตลอดทาง แล้วกราบทูลเวลาแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้ว
เสด็จไปสู่พระราชมณเฑียร กระทำภัตกิจแล้ว กลับมายังวิหาร
ภายในม่านนั่นแหละ. ใคร ๆ อื่น แม้จะดูก็ยังไม่ได้ แล้วไฉนจะได้
ถวายภิกษาหารและการบูชาเล่า.

ชาวพระนคร คิดว่าเมื่อพระศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
เป็นเวลา ๗ ปี ๗ เดือน ในวันนี้ พวกเราก็ยังไม่ได้เฝ้า จะป่วย
กล่าวไปไย ที่จะได้ถวายภิกษา กระทำการบูชา หรือฟังธรรมเล่า
พระราชายึดถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นของเรา พระสงฆ์เป็นของเรา
จึงทรงบำรุงด้วยพระองค์เองผู้เดียว พระศาสดา เมื่อเสด็จอุบัติ
ก็อุบัติเพื่อประโยชน์แก่โลกพร้อมด้วยเทวโลก หาอุบัติเพื่อประโยชน์
แก่พระราชาเท่านั้นไม่ นรกเป็นของร้อนสำหรับพระราชาพระองค์
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 14, 2016

Mom Chan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 42/267/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แม้พระราชา ถึงความโทมนัสว่า “ พระศาสดาไม่ทรงทำอนุโมทนา
ให้สมควรแก่เราผู้ถวายทานแล้วยืนอยู่ในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนี้ ตรัส
เพียงพระคาถาเท่านั้นแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะไป, เราจักเป็นอันไม่ทำ
ทานให้สมควรแก่พระศาสดา ทำทานอันไม่สมควรเสียแล้ว. เราจักเป็น
อันไม่ถวายกัปปิยภัณฑ์ ถวายแต่อกัปปิยภัณฑ์ถ่ายเดียวเสียเเล้ว. เราพึง
เป็นผู้อันพระศาสดาทรงขุ่นเคืองเสียแล้ว, การทำอนุโมทนาอันสมควรแก่
ทาน ซึ่งผู้ใดผู้หนึ่งนั้นแล จึงควร ” ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปสู่วิหาร
ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทานที่ควรจะถวาย หม่อมฉันมิได้ถวายแล้วหรือหนอ หรือหม่อมฉัน
มิได้ถวายกัปปิยภัณฑ์อันสมควรแก่ทาน ถวายแต่อกัปปิยภัณฑ์เท่านั้น ? ”
พระศาสดา. นี่อย่างไร ? มหาบพิตร.
พระราชา. พระองค์ไม่ทรงทำอนุโมทนา ที่สมควรแก่ทานของ
หม่อมฉันอาทิผิด อักขระ.
พระศาสดา. มหาบพิตร พระองค์ถวายทานอันสมควรแล้วทีเดียว
ก็ทานนั่นชื่อว่าอสทิสทาน. ใครๆ อาจเพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าพระองค์
หนึ่ง ครั้งเดียวเท่านั้น. ธรรมดาทานเห็นปานนี้ เป็นของยากที่บุคคลจะ
ถวายอีก.
พระราชา. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงทำ
อนุโมทนา ให้สมควรแก่ทานของหม่อมฉัน ? พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เพราะบริษัทไม่บริสุทธิ์ มหาบพิตร.
พระราชา. โทษอะไรหนอแล ของบริษัท ? พระเจ้าข้า.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 12, 2016

Matika

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 85/270/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุเรชาตญฺจ อาเสวนญฺจ ฐเปตฺวา ดังนี้
ปัจจัยที่เหลือเว้นอวิคตปัจจัย ย่อมได้โดยอนุโลมในปุเรชาปัจจัย ปัจฉา-
ชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย วิปากปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยเป็น
ปัจจนิก. เว้นวิปากปัจจัยเสีย ที่เหลือย่อมได้โดยอนุโลมในกัมมปัจจัย
ที่ตั้งอยู่โดยปัจจนิก. เว้นปัจจัยที่อุปการะในที่ทั้งปวง และอัญญมัญญ-
ปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทริยปัจจัย ที่เหลือย่อมไม่ได้
โดยอนุโลมในอาหารปัจจัยและอินทริยปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก.
ปัจจัยนอกนี้ย่อมได้ด้วยอำนาจที่เหมาะสม เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย อาเสวน-
ปัจจัย และมัคคปัจจัย ย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในฌานปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็น
ปัจจนิก. ในมัคคปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก ย่อมไม่ได้เหตุปัจจัย และ
อธิปติปัจจัยโดยเป็นอนุโลม. ในวิปปยุตปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก
เว้นปุเรชาตปัจจัยย่อมได้ปัจจัยที่เหลือโดยอนุโลม บัณฑิตครั้นทราบปัจจัย
ที่ไม่ได้โดยเป็นอนุโลม ในบรรดาปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิกอย่างนี้แล้ว
พึงทราบด้วยการนับด้วยอำนาจปัจจัยที่นับได้น้อยกว่า ในการเปรียบเทียบ
กับปัจจัยนั้น.
ในมาติกาอาทิผิด อักขระทั้งหลายมีทุกะมาติกาเป็นต้นใด ๆ อันท่านแสดงเริ่มแต่
ปัจจัยใด ๆ ในนัยทั้งหลายมีทุมูลกอาทิผิด สระนัยเป็นต้น ทุกะมาติกานั้น ๆ ท่าน
แสดงไว้แล้วโดยวิธีใด ๆ ด้วยอำนาจปัจจัยที่หาได้และหาไม่ได้ บัณฑิต
พึงกำหนดทุกะมาติกาเป็นต้นนั้นให้ดี โดยวิธีนั้น ๆ. พึงทราบวินิจฉัย
ในคำนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงนัยมีทุมูลกอาทิผิด สระนัยเป็นต้น ด้วย
อำนาจเหตุปัจจัยตรัสว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมณปจฺจยา ฯ เป ฯ
นาเสวนปจฺจยา ดังนี้ แล้วตรัสคำใดไว้ คำอธิบายทั้งหมดเช่นเดียวกัน
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 08, 2016

Winyan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 85/285/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์
๑ อาศัยขันธ์ ๓ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทย-
วัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลและมหา-
ภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.
[๒๕๑] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณ-
ปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์
๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.
[๒๕๒] ๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณ-
ปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.
๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ
อารัมมณปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา
เกิดขึ้น. ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิด
ขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น,
ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, จักขุวิญญาณอาทิผิด อักขระ อาศัยจักขายตนะเกิด
ขึ้น, โสตวิญญาณ อาศัยโสตายตนะเกิดขึ้น, ฆานวิญญาณ อาศัยฆานาย-
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 07, 2016

Nara Chon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/273/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทั้งปวงอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาการละเหตุแห่งทุกข์เป็นต้น ย่อมกล่าว
ความบริสุทธิ์ด้วยทัศนะอื่น พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงก้าวล่วงเดียรถีย์
เหล่านั้น ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยทัศนะอื่นนั่นแล.
พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ปสฺสํ นโร นรชนเมื่อ
เห็นดังนี้เป็นต้น. มีอะไรที่จะกล่าวยิ่งกว่านี้อีก มีดังต่อไปนี้. นรชนใด
ได้เห็นด้วยปรจิตตญาณเป็นต้น นรชนนั้นเมื่อเห็นก็ย่อมเห็นนามรูปไม่อื่น
ไปจากนั้น หรือเห็นแล้วก็รู้จักนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น โดยความเป็นของ
เที่ยงหรือโดยความเป็นสุข ไม่เห็นเป็นอย่างอื่น นรชนเมื่อเห็นอย่างนี้
เห็นนามรูปมากบ้าง น้อยบ้าง โดยความเป็นของเที่ยง และโดยเป็นสุข
โดยแท้ ถึงอย่างนั้นผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวความหมดจดด้วยความ
เห็นนามรูปนั้นเลย.
พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า นิวิสฺสวาที นรชนผู้กล่าว
ด้วยความถือมั่นดังนี้เป็นต้นต่อไป. แม้เมื่อความบริสุทธิ์ไม่มีด้วยความ
เห็นนั้น นรชนใดกล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น ความ
บริสุทธิ์นั้นเป็นจริง หรืออาศัยความเห็นนั้น ถือความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ
กล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนี้ว่า นี้เท่านั้นจริง นรชนนั้นเป็นผู้อันใคร ๆ
ไม่พึงแนะนำให้ดีได้ เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดปรุงแต่งแล้วไว้ในเบื้องหน้า
นรชนนั้นอาทิผิด อาศัยวัตถุใดมีศาสดาเป็นต้น ก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะ
ทิฏฐินั้น สำคัญตนว่า เราเป็นผู้มีวาทะหมดจด มีวาทะบริสุทธิ์ดังนี้ ได้
เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น คือได้เห็นความไม่วิปริตในทิฏฐิของตนนั้น. อธิบาย
ว่า ทิฏฐินั้นเป็นไปอย่างใด ได้เห็นทิฏฐินั้นเป็นไปอย่างนั้น ไม่ปรารถนา
จะเห็นโดยประการอื่น.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 05, 2016

Rang Dum

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/344/7  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สองบทว่า อุสฺสาโห กรณีโย ได้แก่ พึงทำการแสวงหา. แต่
เขตกำหนดไม่มี, จะแสวงหามาแม้ตั้งร้อยผืนก็ควร. จีวรนี้ทั้งหมด พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสสำหรับภิกษุผู้ยินดี.
วินิจฉัยในข้อว่า อคฺคฬํ ตุนฺนํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ท่อนผ้าที่ภิกษุยกขึ้นทาบให้ติดกัน ชื่อผ้าปะ, การเย็บเชื่อมด้วยด้าย
ชื่อการชุน.
ห่วงเป็นที่ร้อยกลัดไว้ ชื่อรังดุมอาทิผิด อักขระ. ลูกสำหรับกลัด เรียกลูกดุม.
ทัฬหีกัมมะ นั้น ได้แก่ ท่อนผ้าที่ประทับลง ไม่รื้อ (ผ้าเก่า)
ทำให้เป็นชั้นรอง.
เรื่องนางวิสาขาอาทิผิด อักขระ มีเนื้อความตื้น. เรื่องอื่นจากเรื่องนางวิสาขานั้น ได้
วินิจฉัยแล้วในหนหลังแล.
บทว่า โสวคฺคิกํ ได้แก่ ทำให้เป็นเหตุแห่งสวรรค์. ด้วยเหตุนั้น
แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์.
ทานใด ย่อมกำจัดความโศกเสีย เหตุนั้น ทานนั้น ชื่อโสกนุท
บรรเทาความโศกเสีย.
บทว่า อนามยา คือ ผู้ไม่มีโรค.
สองบทว่า สคฺคมฺหิ กายมฺหิ ได้แก่ ผู้เกิดในสวรรค์

ว่าด้วยถือวิสาสะเป็นต้น
สามบทว่า ปุถุชฺชนา ถาเมสุ วีตราคา ได้แก่ ปุถุชนผู้ได้ฌาน.
บทว่า สนฺทิฏฺโฐ ได้แก่ เพื่อนที่สักว่าเคยเห็นกัน.
บทว่า สมฺภตฺโต ได้แก่ เพื่อนผู้ร่วมสมโภค คือเพื่อนสนิท.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 04, 2016

Khop Khet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/17/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
การพยากรณ์นิมิต

[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระวิปัสสีราชกุมารประสูติแล้วแล
พวกอำมาตย์ได้กราบทูลแด่พระเจ้าพันธุมว่า ขอเดชะ พระราชโอรสของพระ-
องค์ประสูติแล้ว ขอพระองค์จงทอดพระเนตรพระราชโอรสนั้นเถิด ภิกษุ
ทั้งหลาย พระเจ้าพันธุมได้ทอดพระเนตรเห็นพระวิปัสสีราชกุมาร แล้วรับสั่ง
เรียกพวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตมาแล้วตรัสว่า ขอพวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตผู้เจริญจง
ตรวจดูพระราชกุมารเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตได้เห็นพระวิ-
ปัสสีราชกุมารนั้นแล้ว ได้กราบทูลพระเจ้าพันธุมนั้นดังนี้ว่า
ขอเดชะ ขอพระองค์จงดีพระทัยเถิด พระราชโอรสของพระองค์ที่ประสูติ
แล้วมีศักดิ์ใหญ่ ข้าแต่มหาราช เป็นลาภของพระองค์ ผู้เป็นเจ้าของสกุลอันเป็น
ที่บังเกิดแห่งพระราชโอรส เห็นปานดังนี้ ขอเดชะ พระองค์ได้ดีแล้วเพราะ
พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ซึ่งมีคติเป็นสองเท่า
นั้นไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรง
ชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว
ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗
พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา
มิต้องใช้ศาตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบอาทิผิด อักขระเขต ถ้าเสด็จออกผนวช
เป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปิดหลังคาคือกิเลส
แล้วในโลก.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 二月 02, 2016

Muean

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   3/12/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนเปรียงเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนอาทิผิด อักขระน้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนนมสดเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนนมส้มเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจ พยายาม สุกกะสีเหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
สุทธิกสังฆาทิเสส จบ
ขัณฑจักร
มีความประสงค์อย่างเดียวเป็นมูล หมวดที่ ๑
[๓๐๗] ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อความสุข
สุกกะเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อเป็นยา สุกกะ
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจ พยายาม เพื่อความหายโรคและเพื่อให้ทาน สุกกะ
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 01, 2016

Khiao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 3/52/16  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ขัณฑจักร
[๓๒๘] ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเขียว พยายาม สุกกะ
สีเหลือง เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเขียว พยายาม สุกกะสีแดง เคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจ จักปล่อยสุกกะสีเขียว พยายาม สุกกะสีขาว เคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเขียวพยายาม สุกกะสีเหมือนเปรียง
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเขียว พยายาม สุกกะสีเหมือนน้ำท่า
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเขียว พยายาม สุกกะสีเหมือนน้ำมัน
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเขียว พยายาม สุกกะสีเหมือนนมสด
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเขียวอาทิผิด อักขระ พยายาม สุกกะสีเหมือนนมส้ม
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเขียว พยายาม สุกกะสีเหมือนเนย-
ใส เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ขัณฑจักร จบ
 
พระปิฎกธรรม