Nara Chon
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 66/273/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ทั้งปวงอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาการละเหตุแห่งทุกข์เป็นต้น ย่อมกล่าว
ความบริสุทธิ์ด้วยทัศนะอื่น พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงก้าวล่วงเดียรถีย์
เหล่านั้น ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยทัศนะอื่นนั่นแล.
พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ปสฺสํ นโร นรชนเมื่อ
เห็นดังนี้เป็นต้น. มีอะไรที่จะกล่าวยิ่งกว่านี้อีก มีดังต่อไปนี้. นรชนใด
ได้เห็นด้วยปรจิตตญาณเป็นต้น นรชนนั้นเมื่อเห็นก็ย่อมเห็นนามรูปไม่อื่น
ไปจากนั้น หรือเห็นแล้วก็รู้จักนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น โดยความเป็นของ
เที่ยงหรือโดยความเป็นสุข ไม่เห็นเป็นอย่างอื่น นรชนเมื่อเห็นอย่างนี้
เห็นนามรูปมากบ้าง น้อยบ้าง โดยความเป็นของเที่ยง และโดยเป็นสุข
โดยแท้ ถึงอย่างนั้นผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวความหมดจดด้วยความ
เห็นนามรูปนั้นเลย.
พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า นิวิสฺสวาที นรชนผู้กล่าว
ด้วยความถือมั่นดังนี้เป็นต้นต่อไป. แม้เมื่อความบริสุทธิ์ไม่มีด้วยความ
เห็นนั้น นรชนใดกล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น ความ
บริสุทธิ์นั้นเป็นจริง หรืออาศัยความเห็นนั้น ถือความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ
กล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนี้ว่า นี้เท่านั้นจริง นรชนนั้นเป็นผู้อันใคร ๆ
ไม่พึงแนะนำให้ดีได้ เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดปรุงแต่งแล้วไว้ในเบื้องหน้า
นรชนนั้นอาทิผิด อาศัยวัตถุใดมีศาสดาเป็นต้น ก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะ
ทิฏฐินั้น สำคัญตนว่า เราเป็นผู้มีวาทะหมดจด มีวาทะบริสุทธิ์ดังนี้ ได้
เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น คือได้เห็นความไม่วิปริตในทิฏฐิของตนนั้น. อธิบาย
ว่า ทิฏฐินั้นเป็นไปอย่างใด ได้เห็นทิฏฐินั้นเป็นไปอย่างนั้น ไม่ปรารถนา
จะเห็นโดยประการอื่น.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论