Rang Dum
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 7/344/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
สองบทว่า อุสฺสาโห กรณีโย ได้แก่ พึงทำการแสวงหา. แต่
เขตกำหนดไม่มี, จะแสวงหามาแม้ตั้งร้อยผืนก็ควร. จีวรนี้ทั้งหมด พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสสำหรับภิกษุผู้ยินดี.
วินิจฉัยในข้อว่า อคฺคฬํ ตุนฺนํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ท่อนผ้าที่ภิกษุยกขึ้นทาบให้ติดกัน ชื่อผ้าปะ, การเย็บเชื่อมด้วยด้าย
ชื่อการชุน.
ห่วงเป็นที่ร้อยกลัดไว้ ชื่อรังดุมอาทิผิด อักขระ. ลูกสำหรับกลัด เรียกลูกดุม.
ทัฬหีกัมมะ นั้น ได้แก่ ท่อนผ้าที่ประทับลง ไม่รื้อ (ผ้าเก่า)
ทำให้เป็นชั้นรอง.
เรื่องนางวิสาขาอาทิผิด อักขระ มีเนื้อความตื้น. เรื่องอื่นจากเรื่องนางวิสาขานั้น ได้
วินิจฉัยแล้วในหนหลังแล.
บทว่า โสวคฺคิกํ ได้แก่ ทำให้เป็นเหตุแห่งสวรรค์. ด้วยเหตุนั้น
แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์.
ทานใด ย่อมกำจัดความโศกเสีย เหตุนั้น ทานนั้น ชื่อโสกนุท
บรรเทาความโศกเสีย.
บทว่า อนามยา คือ ผู้ไม่มีโรค.
สองบทว่า สคฺคมฺหิ กายมฺหิ ได้แก่ ผู้เกิดในสวรรค์
ว่าด้วยถือวิสาสะเป็นต้น
สามบทว่า ปุถุชฺชนา ถาเมสุ วีตราคา ได้แก่ ปุถุชนผู้ได้ฌาน.
บทว่า สนฺทิฏฺโฐ ได้แก่ เพื่อนที่สักว่าเคยเห็นกัน.
บทว่า สมฺภตฺโต ได้แก่ เพื่อนผู้ร่วมสมโภค คือเพื่อนสนิท.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论