星期五, 四月 01, 2016

Phakhawa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/289/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เราไม่ควรเพิกเฉยราหุลนี้เหมือนอย่างเรือลำใหญ่เต็มไปด้วยรัตนะมาก
มายบรรจุน้ำไปในระหว่างกระดานแตก นายเรือไม่ควรเพิกเฉยแม้เพียงครู่เดียว
ฉะนั้น. เราจักข่มราหุลนั้นตราบเท่าที่กิเลสนี้ยังไม่ทำให้ศีลรัตนะเป็นต้นใน
ภายในของราหุลนั้นพินาศไปเสียก่อน. ในฐานะเห็นปานนี้ เป็นธรรมดาของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงเหลียวดูดุจพญาช้าง. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงทรงประทับยืนหมุนพระวรกายทั้งสิ้น ดุจปฏิมาทองหมุนกลับตรัส
เรียกพระราหุลภัททะ. พระอานนทเถระหมายถึงพระราหุลภัททะนั้นจึงกล่าว
คำมีอาทิว่า อถ โข ภควา อวโลเกตฺวา ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงผินพระพักตร์ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้นบทมีอาทิว่า ยํ กิญฺจิ รูปํ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
พิสดารแล้วในขันธนิเทศในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง. บทมีอาทิว่า
เนตํ มม นั่นไม่ใช่ของเรา ท่านกล่าวไว้แล้วในมหาหัตถิปโทปมสูตร.
เพราะเหตุไร พระราหุลจึงทูลถามว่า รูปเมว นุโข ภควาอาทิผิด อักขระ ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า รูปเท่านั้นหรือพระเจ้าข้า. นัยว่าพระราหุลนั้นเกิดนัยขึ้น
เพราะสดับว่า รูปทั้งปวงนั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของ
เรา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอพึงเห็นรูปทั้งปวงอย่างนี้ด้วยวิปัสสนาปัญญา
ในเวทนาเป็นต้นจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ. เพราะฉะนั้นพระราหุลตั้งอยู่ในนัย
นั้นจึงทูลถาม. จริงอยู่ท่านพระราหุลนี้เป็นผู้ฉลาดในนัย เมื่อพระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่าสิ่งนี้ไม่ควรทำ ย่อมแทงตลอดแม้ตั้งร้อยนัยพันนัยว่า สิ่งนี้ควรทำ
สิ่งนี้ไม่ควรทำ. แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สิ่งนี้ควรทำก็มีนัยนี้เหมือน
กัน.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: