星期三, 八月 03, 2016

Athibai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 18/494/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พรหมผู้มีอานุภาพมากใช้องคุลีหนึ่ง แผ่รัศมีไปใน ๑,๐๐๐ จักรวาล แผ่รัศมี
ไปใน ๑๐,๐๐๐ จักรวาลด้วย ๒ องคุลี ฯล ฯ ๑๐ องคุลี และเสวยสุขอันเกิด
แต่ฌานสมาบัติอันยอดเยี่ยม พรหมแม้นั้นพระองค์ทรงการทำให้แจ้งแล้วหรือ
ดังนี้ จึงตรัสว่า สพฺรหฺมกํ. แต่นั้นเมื่อจะทรงกำจัดความสงสัยของเหล่าชน
ผู้มีความคิดว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมากเป็นข้าศึกต่อพระศาสนาแม้เหล่านั้น
พระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้วหรือดังนี้ จึงตรัสว่า สสฺสมณฺพฺรหฺมณึ ปชํ.
ก็แลครั้นพระองค์ทรงประกาศความที่พระองค์ทรงทำให้แจ้งมารและสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นอย่างสูงสุดอย่างนี้แล้ว ลำดับนั้นเมื่อจะทรงประกาศความที่
พระองค์ทรงทำให้แจ้งสัตว์โลกที่เหลือ โดยกำหนดอย่างสูง หมายถึงสมมติเทพ
และมนุษย์ที่เหลือ จึงตรัสว่า สเทวมนุสฺสํ. ในคำนี้มีลำดับ ความแจ่มแจ้ง
ดังนี้ . ก็พระโบราณาจารย์กล่าวว่า บทว่า สเทวกํ ได้แก่ โลกที่เหลือกบ
เหล่าเทวดา. บทว่า สมารกํ ได้แก่ โลกที่เหลือกับมาร. บทว่า สพฺรหฺมกํ
ได้แก่ โลกที่เหลือกับเหล่าพรหม. ท่านใส่เหล่าสัตว์ที่เข้าถึงไตรภพแม้ทั้งหมด
ลงในบททั้งสามด้วยอาการสามด้วยประการฉะนี้ เมื่อจะกำหนดถือเอาด้วยบท
ต้นทั้งสองอีก จึงกล่าวว่า สสฺสมณพฺรหฺมณึ ปชํ สเทวมนุสฺสํ ดังนี้
เป็นอันว่า ท่านกำหนดถือเอาไตรธาตุเท่านั้น ด้วยอาการนั้น ๆ ด้วยบททั้งห้า
ด้วยประการฉะนี้.
ในคำว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ บทว่า สยํ แปลว่า
เอง. บทว่า อภิญญา แปลว่า รู้ อธิบายอาทิผิด อักขระว่า รู้ด้วยญาณยิ่งเอง. บทว่า
สจฺฉิกตฺวา ได้แก่ ทำให้ประจักษุ. เป็นอันท่านปฏิเสธการคาดคะเนเป็นต้น
ด้วยข้อนี้. บทว่า ปเวเทติ ได้แก่ ทำให้ตื่น ให้รู้ให้แจ้งประกาศ. บทว่า โส
ธมฺมํ เทเสติ อาทิมชฺฌปริโยสานกลฺยาณํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้นทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ทรงแสดงธรรมมีสุขอันเกิดแต่วิเวก
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: