星期四, 八月 04, 2016

Kla

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/255/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า สมณะนี้กล่าวว่า แม้เราก็ไถก็หว่าน แต่
เราไม่เห็นเครื่องไถมีแอกและไถเป็นต้นที่ใหญ่ ๆ ของสมณะนี้ สมณะนี้กล่าว
เท็จหรือหนอตรวจดูพระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งแต่พื้นพระบาทจนถึงปลายพระเกศา
เพราะตนสำเร็จวิชาดูลักษณะ จึงรู้ว่าสมณะนั้นสมบูรณ์ด้วยลักษณะประเสริฐ
๓๒ ประการ เหตุได้สั่งสมบุญญาธิการไว้ เกิดมานะอย่างแรงกล้าอาทิผิด อาณัติกะว่า ข้อที่
สมณะเห็นปานนี้พูดมุสามิใช่ฐานะที่จะเป็นได้ จึงละวาทะว่าสมณะในพระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อจะเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยโคตร จึงกล่าวว่า น โข ปน
มยํ ปสฺสาม โภโต โคตมสฺส เป็นต้น. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงแสดงพุทธานุภาพ เพราะเหตุที่ขึ้นชื่อว่าการกล่าวด้วยเป็นผู้เทียบด้วยธรรม
มีในก่อน เป็นอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงตรัสคำมีอาทิว่า สทฺธา
พีชํ ดังนี้.
ถามว่า ก็ในข้อนี้ ความเป็นผู้มีส่วนเสมอด้วยธรรมมีในก่อน คือ
อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพราหมณ์ถามถึงเครื่องไถมีแอกและไถเป็นต้น
มิใช่หรือ แต่พระองค์ตรัสว่า สทฺธา พีชํ เป็นต้น เพราะพืชที่ไม่ถูกถาม
เทียบกันได้ และเมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ถ้อยคำก็ต่อกัน ไม่ได้ ธรรมดาว่าถ้อยคำ
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ต่อกันไม่ได้ จะมีไม่ได้เลย. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จะตรัสด้วยความที่ธรรมมีในก่อนเทียบกันไม่ได้ ก็หาไม่. ก็ในข้อนี้ พึงทราบ
อนุสนธิอย่างนี้ว่า จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพราหมณ์ถามถึงการไถ โดย
เครื่องไถมีแอกและไถเป็นต้น. ด้วยความอนุเคราะห์พราหมณ์นั้น พระองค์
ประสงค์ให้พราหมณ์ทราบเรื่องการไถพร้อมทั้งมูล พร้อมทั้งอุปการะ พร้อม
ทั้งสัมภาระที่เหลือ พร้อมทั้งผล มิให้ลดน้อยลง ด้วยพระดำริว่า ข้อนี้เขา
มิได้ถาม เมื่อจะทรงแสดงจำเดิมแต่ต้นมา จึงตรัสคำมีอาทิว่า สทฺธา พีชํ
ดังนี้. พืชในเรื่องนั้น เป็นมูลของการไถ เพราะเมื่อพืชมีก็ควรทำ เมื่อพืช
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: