星期二, 一月 10, 2017

Lap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/353/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นายพรานถูกตรึงอาทิผิด อักขระด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวานของสุมุขหงส์นั้น จึงกล่าว
คาถาว่า
เรามิได้ผูกท่านไว้ และไม่ปรารถนาจะฆ่าท่าน
เชิญท่านรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา แล้วจงอยู่
เป็นสุขตลอดกาลนานเถิด.
ลำดับนั้น สุมุขหงส์จึงกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า
ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ โดยเว้นจาก
ชีวิตของพญาหงส์นี้ ถ้าท่านยินดีเพียงตัวเดียว ขอ
ให้ท่านปล่อยพญาหงส์นี้ และจงกินข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
ทั้งสองเป็นผู้เสมอกัน ด้วยรูปทรงสัณฐานและวัย
ท่านไม่เสื่อมแล้วจากลาภอาทิผิด อักขระ ขอท่านจงเปลี่ยนข้าพเจ้า
กับพญาหงส์นี้เถิด เชิญท่านพิจารณาดูในข้าพเจ้า
ทั้งสอง เมื่อท่านมีความปรารถนาเฉพาะตัวเดียว จง
เอาบ่วงผูกข้าพเจ้าไว้ก่อน จงปล่อยพญาหงส์ใน
ภายหลัง ถ้าท่านทำตามที่ข้าพเจ้าขอร้อง ลาภของท่าน
ก็คงมีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน ทั้งท่านจะได้เป็น
มิตรกับฝูงหงส์ธตรฐจนตลอดชีวิตด้วย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตํ ความว่า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาความ
เป็นอยู่ของข้าพเจ้าโดยปราศจากชีวิตของพญาหงส์นี้เลย. บทว่า ตุลฺยสฺมา
ได้แก่ ข้าพเจ้าทั้งสองย่อมเป็นผู้สม่ำเสมอกัน. บทว่า นิมินา ตุวํ คือ
ท่านจงแลกเปลี่ยนตัวกันเสียเถิด. บทว่า ตวสฺมสุ ความว่า สุมุขหงส์นั้น
กล่าวว่า ท่านมีความปรารถนาในข้าพเจ้าทั้งสอง ท่านจะประโยชน์อะไร
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: