星期五, 一月 27, 2017

Wihingsa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 19/224/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แม้นี้ ก็ห้ามไว้แล้ว โดยเนื่องด้วยสิกขาบท ในสูตรนี้ ไม่ตรัสถึง
มโนสมาจารทั้งสองนั้น โดยตรัสแต่ธรรมชื่อขัดเกลาอย่างยิ่ง. ภิกษุ
ใด ย่อมตรึกถึงกามวิตก หรือพยาบาทวิตก หรือวิหิงสาอาทิผิด วิตก มโนสมาจาร
ของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. มโนสมาจารที่ตรงกันข้าม ชื่อว่า บริสุทธิ์.
ในอาชีวะ ภิกษุใด เพราะอาชีวะเป็นเหตุย่อมเลี้ยงชีพด้วยอำนาจ
อเนสนา ๒๑ อย่าง เช่นทำเวชกรรมรับใช้ค่าฝี การให้น้ำมันทาขา ย่อมหุง
น้ำมันเป็นต้น หรือว่า ภิกษุใด ทำวิญญัติบริโภค อาชีวะของภิกษุนั้นชื่อว่า
ไม่บริสุทธิ์. ก็อาชีวะอันไม่บริสุทธิ์นี้ ตรัสห้ามไว้โดยเนื่องด้วย
สิกขาบท. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสถึงอาชีวะอันไม่บริสุทธิ์
ทั้งสอง ได้ตรัสแต่ธรรมชื่อขัดเกลาอย่างยิ่ง.
จริงอยู่ ภิกษุใด ได้ปัจจัยมีเนยใส เนยข้นอาทิผิด สระ น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย
เป็นต้นแล้วคิดว่า จักฉันในวันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ แล้วฉันสิ่งที่ตนสั่งสมไว้. หรือ
ว่า ภิกษุใด เห็นช่อสะเดาเป็นต้น แล้วกล่าวกะพวกสามเณรว่า พวกเธอจง
เคี้ยวกินช่อสะเดา ดังนี้. พวกสามเณรคิดว่า พระเถระอยากจะเคี้ยวกิน จึงทำให้
เป็นกัปปิยะแล้วถวาย. ภิกษุกล่าวกะภิกษุหนุ่มหรือสามเณรว่า ดูก่อนผู้มีอายุ
พวกเธอจงดื่มน้ำดังนี้. ภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรเหล่านั้น คิดว่า พระเถระ
ต้องการจะดื่มน้ำ จึงทำน้ำนั้นให้สะอาดแล้วถวาย. อาชีวะของภิกษุผู้บริโภค
น้ำนั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. อาชีวะตรงกันข้าม ชื่อว่า บริสุทธิ์.
บทว่า มตฺตญฺ ได้แก่ ผู้รู้จักพอดี รู้จักพอควร รู้จักพอประ
มาณ ในการแสวงหาการรับและการบริโภค.
บทว่า ชาคริยมนุยุตฺตา ได้แก่ ทำการแบ่งกลางคืนกลางวันออก
เป็น ๖ ส่วนแล้วกระทำโอกาสเพื่อการหลับส่วนหนึ่ง ประกอบขวนขวายแล้ว
ในธรรมเป็นเครื่องตื่น ๕ ส่วน. ในบทว่า สีหเสยฺยํ นี้ได้แก่ การนอน ๔
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: