星期二, 二月 28, 2017

Bandit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/225/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเผาไม้อยู่อย่า
สำคัญซึ่งความบริสุทธิ์ ก็การเผาไม้นี้เป็น
ของภายนอก ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าว
ความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้นั้น ดูก่อน
พราหมณ์ เราละการเผาไม้ซึ่งบุคคล
พึงปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้
อันเป็นของมีในภายนอก แล้วยังไฟคือ
ญาณให้โพลงภายในตนทีเดียว เราเป็น
พระอรหันต์ มีไฟอันโพลงแล้วเป็นนิตย์
มีจิตตั้งไว้ชอบแล้วเป็นนิตย์ ประพฤติ-
พรหมจรรย์อยู่ ดูก่อนพราหมณ์ มานะแล
เป็นดุจภาระคือหาบของท่าน ความโกรธ
ดุจควัน มุสาวาทเป็นดุจเถ้า ลิ้นเป็น
ประดุจภาชนะเครื่องบูชา หทัยเป็นที่ตั้ง
กองกูณฑ์ ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นความรุ่ง-
เรืองของบุรุษ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้
ถึงเวททั้งหลายนั้นแล อาบในห้วงน้ำคือ
ธรรมของบุรุษทั้งหลาย มีท่าคือศีลไม่ขุ่น
มัว อันบัณฑิตอาทิผิด สระทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มี
ตัวไม่เปียกแล้ว ย่อมข้ามถึงฝั่ง ดูก่อน
พราหมณ์ สัจธรรม ความสำรวม
พรหมจรรย์ การถึงธรรมอันประเสริฐ
อาศัยในท่ามกลาง ท่านจงกระทำความ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 26, 2017

Tam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/222/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผันแปรไป ลมอาทิผิด อักขระนอกทางก็พัดผิดทาง ครั้นลมนอกทางพัดผิดทาง เทวดา
ทั้งหลายก็ปั่นป่วน ครั้นเทวดาทั้งหลายปั่นป่วน ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล ครั้น
ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์
ทั้งหลายบริโภคข้าวที่สุกไม่ดี ย่อมอายุสั้น ผิวพรรณก็ไม่งาม กำลังก็ลดถอย
และมีอาพาธมาก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอาทิผิด อักขระ ในสมัยใด พระราชาทั้งหลายประพฤติเป็นธรรม
ในสมัยนั้น แม้ข้าราชการทั้งหลายก็ประพฤติเป็นธรรมไปด้วย เมื่ออาทิผิด ข้าราชการ
ทั้งหลายประพฤติเป็นธรรม พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็ประพฤติเป็นธรรม
บ้าง เมื่อพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายประพฤติเป็นธรรม ชาวบ้านชาวเมือง
ก็ประพฤติเป็นธรรมไปตามกัน ครั้นชาวบ้านชาวเมืองประพฤติเป็นธรรม
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็โคจรอาทิผิด สม่ำเสมอ ครั้นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์โคจรสม่ำเสมอ
ดาวนักษัตรทั้งหลายก็เดินสม่ำเสมอ ครั้นดาวนักษัตรทั้งหลายเดินสม่ำเสมอ
คืนและวันก็ตรง ครั้นคืนและวันตรง เดือนและปักษ์ก็ตรง ครั้นเดือนและ
ปักษ์ตรง ฤดูและปีก็สม่ำเสมอ ครั้นฤดูและปีสม่ำเสมอ ลมก็พัดเป็นปกติ
ครั้นลมพัดเป็นปกติ ลมในทางก็พัดไปถูกทาง ครั้นลมในทางพัดไปถูกทาง
เทวดาทั้งหลายก็ไม่ปั่นป่วน ครั้นอาทิผิด อาณัติกะเทวดาทั้งหลายไม่ปั่นป่วน ฝนก็ตกตาม
ฤดูกาล ครั้นฝนตกตามอาทิผิด อักขระฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกได้ที่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคข้าวที่สุกได้ที่ ย่อมมีอายุยืน ผิวพรรณงาม มีกำลัง
และมีอาพาธน้อย
เมื่อฝูงโคข้ามฟากอยู่ ถ้าโคโจกตัว
นำฝูงไปคด โคนอกนั้นไปคดตามกัน
ในหมู่มนุษย์เหมือนกัน ถ้าท่านผู้ได้รับ
สมมติให้เป็นใหญ่ ประพฤติไม่เป็นธรรม
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 25, 2017

Vanijja

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/238/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แก่พราหมณ์ชื่อชูชก ทำมหาปฐพีอาทิผิด ให้ไหวแล้ว. ในบทว่า ปฏิคฺคาหกโต
วิสุชฺฌติ นี้ ควรกล่าวถึงชาวประมง ผู้อยู่ที่ประตูปากแม่น้ำอาทิผิด อักขระกัลยาณี. ได้ยินว่า
ชาวประมงนั้น ได้ถวายบิณฑบาตสามครั้งแก่พระทีฆสุมนเถระ นอนบนอาทิผิด อักขระเตียง
มรณะกล่าวว่า บิณฑบาตที่ได้ถวายแก่พระเป็นเจ้าทีฆสุมนเถระยกเราขึ้นได้.
ในบทว่า เนว ทายกโต นี้ ควรกล่าวถึงนายพรานผู้อยู่บ้านวัฒมานะ ได้ยินว่า
นายพรานนั้นเมื่อทำบุญอุทิศเพื่อคนที่ตายแล้ว จึงได้ให้แก่ปฏิคาหกผู้ทุศีล
คนเดียวสามครั้ง. ในครั้งที่สาม อมนุษย์ (ผู้ตายไปเกิดเป็นเปรต) ร้องว่า
ปฏิคคาหกทุศีลปล้นเราดังนี้. ทักษิณาถึงผู้ตายนั้นในเวลาที่ทักษิณาอันเขา
ถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่งแล้ว. ในบทว่า ทายกโต เจว ปฏิคฺคา-
หกโต จ วิสุชฺฌติ นี้ บัณฑิตควรกล่าวอสทิสทานแล.
จบอรรถกถาทักขิณาสูตรที่ ๘
๙. วณิชชอาทิผิด สระสูตร
ว่าด้วยการค้าขาย
[๗๙] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ
ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้การค้าขาย
อย่างเดียวกัน พ่อค้าบางคนประกอบแล้วขาดทุน ...บางคนประกอบแล้วได้
กำไรไม่เท่าที่ประสงค์ ...บางคนประกอบแล้วได้กำไรตามที่ประสงค์ ...
บางคนประกอบแล้วได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์
พ. ตรัสตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้เข้าไปหา
สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ปวารณาสมณะหรือพราหมณ์นั้นให้บอกขอปัจจัยได้
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 24, 2017

Khatha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 41/217/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กามแม้ ๒อย่าง ย่อมไม่ซึมซาบ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของพระขีณาสพ ฉันนั้น”
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาอาทิผิด อักขระ ใน
พราหมณวรรคว่า :-
“เรากล่าวบุคคล ผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย
เหมือนน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์
ผักกาดไม่ติดอยู่ที่ปลายเหล็กแหลม; ว่าเป็นพราหมณ์.”
เนื้อความแห่งพระคาถานี้ จักแจ่มแจ้งในพราหมณวรรคนั่นแล.
ภิกษุณีควรอยู่ในพระนคร
ก็พระศาสดา รับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมาแล้ว ตรัสว่า
“ มหาบพิตร แม้กุลธิดาทั้งหลาย ในพระศาสนานี้ ละหมู่ญาติอันใหญ่
และกองแห่งโภคะมาก บวชแล้ว ย่อมอยู่ในป่า เหมือนอย่างกุลบุตร
ทั้งหลายเหมือนกัน, คนลามก ถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมเบียดเบียนภิกษุณี
เหล่านั้น ผู้อยู่ในป่า ด้วยสามารถแห่งการดูถูกดูหมิ่นบ้าง ให้ถึงอันตราย
แห่งพรหมจรรย์บ้าง; เพราะฉะนั้น พระองค์ควรทำที่อยู่ภายในพระนคร
แก่ภิกษุณีสงฆ์.”
พระราชา ทรงรับว่า “ดีละ” ดังนี้แล้ว รับสั่งให้สร้างที่อยู่
เพื่อภิกษุณีสงฆ์ ที่ข้างหนึ่งแห่งพระนคร. จำเดิมแต่นั้นมา พวกภิกษุณี
ย่อมอยู่ในละแวกบ้านเท่านั้น.
เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี จบ.
๑. ขุ. ธ. ๒๕/๖๙.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 二月 22, 2017

Samai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/492/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เข้ารีตเดียรถีย์
[๖๐๒] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งครองผ้ากาสาวะ ไปเข้ารีตเดียรถีย์
นางกลับอาทิผิด อักขระมาขออุปสมบทกะภิกษุณีทั้งหลายอีก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีรูปใด ครองผ้า
กาสาวะไปเข้ารีตเดียรถีย์ นางนั้นมาแล้ว ไม่พึงให้อุปสมบท.
[๖๐๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยินดีการอภิวาท การ
ปลงผม การตัดเล็บ การรักษาแผล จากบุรุษทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ยินดี.
นั่งขัดสมาธิ
[๖๐๔] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ ยินดีสัมผัสส้นอาทิผิด เท้า ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุณีไม่พึงนั่งขัดสมาธิ รูปใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๖๐๕] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ นางเว้นขัดสมาธิไม่สบาย
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีนั่งพับเพียบได้.
เรื่องถ่ายอุจจาระ
[๖๐๖] สมัยอาทิผิด อักขระนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี ภิกษุณีฉัพ-
พัคคีย์ยังครรภ์ให้ตกในวัจจกุฎีนั้นเอง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงถ่ายอุจจาระใน
วัจจกุฎี รูปใดถ่าย ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่ซึ่งเปิดข้าง
ล่างปิดข้างบน.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 20, 2017

Upabat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 55/211/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า พระราชา พระราชเทวี พระราชกุมาร
ชื่อว่าสมมติเทพ. เทพสูง ๆ ขึ้นไปตั้งแต่ภุมมเทวดาไป ชื่อว่า
อุปบัติอาทิผิด สระเทพ ? พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ ชื่อ
ว่าวิสุทธิเทพ.
ธรรมของเทพเหล่านี้ ชื่อว่า เทวธรรม.
บทว่า วุจฺจเร แปลว่า ย่อมกล่าว จริงอยู่ กุศลธรรมทั้งหลายมีหิริ
โอตตัปปะเป็นมูล ชื่อว่า เป็นธรรมของเทพทั้ง ๓ ประเภทเหล่านี้ เพราะ
อรรถว่าเป็นเหตุแห่งกุศลสัมปทา แห่งการเกิดในเทวโลกและแห่งความหมดจด
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเทวธรรม แม้บุคคลผู้ประกอบด้วยเทวธรรมเหล่านั้น
ก็เป็นผู้มีเทวธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม
เหล่านั้น ด้วยเทศนาอันเป็นบุคคลอธิษฐานจึงตรัสว่า สัปบุรุษผู้สงบระงับ
เรียกว่า ผู้มีเทวธรรมในโลก.
ยักษ์ครั้นได้ฟังธรรมเทศนานี้ มีความเลื่อมใสจึงกล่าวกะพระโพธิสัตว์
ว่า ดูก่อนบัณฑิต เราเลื่อมใสท่าน จะให้น้องชายคนหนึ่ง จะให้นำคนไหนมา.
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ท่านจงนำน้องชายคนเล็กมา. ยักษ์กล่าวว่า ดูก่อนบัณฑิต
ท่านรู้แต่เทวธรรมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ไม่ประพฤติในเทวธรรมเหล่านั้น.
พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร ? ยักษ์กล่าวว่า เพราะเหตุที่ท่านเว้น
พี่ชายเสียให้นำน้องชายมา ชื่อว่าไม่กระทำกรรมของผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญที่สุด.
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนยักษ์ เรารู้เทวธรรมทีเดียว และประพฤติใน
เทวธรรมเหล่านั้น เพราะว่าเราทั้งหลายเข้าบ้าน เพราะอาศัยน้องชายนี้ ด้วยว่า
พระมารดาของน้องชายนี้ ทูลขอราชสมบัติกะพระบิดาของพวกเรา เพื่อ
ประโยชน์แก่น้องชายนี้ แต่พระบิดาของพวกเราไม่ให้พรนั้น เพื่อจะทรง
อนุรักษ์พวกเรา จึงทรงอนุญาตการอยู่ป่า พระกุมารนั้นติดตามมากับพวกเรา.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 17, 2017

Nam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 55/217/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับนั่งในอากาศทรงแสดงธรรมอยู่อย่างนี้ พระ
ราชาได้ทรงสดับแล้ว จึงทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า จงมาเถิดพ่อ เราแหละ
จักชุบเลี้ยงเจ้า. มีมือตั้งพันเหยียดมาแล้ว พระโพธิสัตว์ไม่ลงในมือคนอื่น ลง
ในพระหัตถ์ของพระราชาเท่านั้น แล้วประทับนั่งบนพระเพลา พระราชาทรง
ประทานความเป็นอุปราชแก่พระโพธิสัตว์นั้น แล้วได้ทรงตั้งมารดาให้เป็น
อัครมเหสี. เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว พระโพธิสัตว์นั้นได้เป็นพระราชาพระ
นามอาทิผิด อักขระว่า กัฏฐวาหนะ ครองอาทิผิด ราชสมบัติ โดยธรรม ได้เสด็จไปตามยถากรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาทรงแสดงแก่พระเจ้าโกศล
แล้ว ทรงแสดงเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่ออนุสนธิ แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระ
มารดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระมหามายาเทวี พระบิดาในครั้งนั้นได้มาเป็น
พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ส่วนพระเจ้ากัฏฐวาหนราชในครั้งนั้น ได้เป็น
เราเองแล.
จบกัฏฐาหาริชาดกที่ ๗

๘. คามนิชาดก

ว่าด้วยไม่ใจเร็วด่วนได้

[๘] เออ ก็ความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่
ใจเร็วด่วนได้ เรามีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว ท่านจง
เข้าใจดังนี้เถิด พ่อคามนิ.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 13, 2017

Mak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/207/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ในทิฏฐิที่ตนตัดสินแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้ง
อยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ. คำว่า นับถือเองแล้ว ความว่า นับถือ ตรวจเอง
แล้วว่า ศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู ธรรมนี้อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว
หมู่คณะนี้ปฏิบัติแล้ว ทิฏฐินี้เป็นทิฏฐิเจริญ ปฏิปทานี้อันศาสดาบัญญัติ
ดีแล้ว มรรคนี้เป็นมรรคอาทิผิด อักขระนำให้พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ใน
ทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว.
[๕๙๘] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก
ความว่า อนาคต เรียกว่า ข้างหน้า เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งวาทะของตนใน
ข้างหน้า ย่อมถึง เข้าถึง เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งความทะเลาะ
ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง ด้วยตนเอง
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้า
ในโลก อีกอย่างหนึ่ง เจ้าทิฏฐินั้น ย่อมทำความทะเลาะ ความหมายมั่น
ความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความทุ่มเถียง กับบุคคลอื่นผู้กล่าวใน
ข้างหน้าว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้อง
วาทะ ถ้าท่านสามารถ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมถึงความ
วิวาทในข้างหน้าในโลก.
[๕๙๙] คำว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ความว่า ทิฏฐิ ๖๒
ประการ เรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ ชันตุชน ละ สละ ทิ้ง ปลดปล่อย
บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งทิฏฐิที่ตนตัดสินแล้วทั้งปวง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละทิฏฐิตกลงใจทั้งปวงแล้ว.
[๖๐๐] คำว่า ชันตุชน . . . ย่อมไม่ทำความทุ่มเถียงในโลก
ความว่า ชันตุชนย่อมไม่ทำความทะเลาะ ไม่ทำความหมายมั่น ไม่ทำ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 12, 2017

Borikhan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 5/245/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๒๑๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ทั้งหลายหาบริขารอาทิผิด อักขระของตนไม่พบ ต่างก็ถามภิกษุณีจัณฑกาลีดังนี้ว่า แม่เจ้า
ท่านเห็นบริขารของพวกดิฉันบ้างไหม.
ภิกษุณีจัณฑกาลีเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ข้าพเจ้าคนเดียวเป็น
โจรแน่ละ ข้าพเจ้าคนเดียวเป็นคนไม่ละอายแน่ละ เพราะแม่เจ้าพวกที่หา
บริขารของตนไม่พบ ต่างก็มากล่าวอย่างนี้กะข้าพเจ้าว่า แม่เจ้า ท่านเห็น
บริขารของพวกดิฉันบ้างไหม แม่เจ้าทั้งหลาย ถ้าข้าพเจ้าถือเอาบริขารของ
พวกท่านไป ข้าพเจ้าก็มิใช่สมณะ ย่อมเคลื่อนจากพรหมจรรย์ ต้องตกนรก
แม้แม่เจ้าที่กล่าวอย่างนั้นกะข้าพเจ้าด้วยคำไม่จริง ก็ขอให้เป็นไม่ใช่สมณะ
ต้องเคลื่อนจากพรหมจรรย์ ต้องตกนรก.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลีจึงได้แช่งตนและคนอื่นด้วยนรกบ้าง ด้วย
พรหมจรรย์บ้างเล่า. . .

ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีแช่งตนและคนอื่น ด้วยนรกบ้าง ด้วยพรหมจรรย์บ้าง
จริงหรือ.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 10, 2017

Doi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/174/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ประสูติบัดเดี๋ยวนั้น ก็ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระ
พักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดยอาทิผิด อักขระย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อท้าวมหา-
พรหมกั้นพระเศวตฉัตร ทรงเหลียวดูทั่วทิศ ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า
เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
ในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีต่อไป
ดังนี้ . และการเสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็ได้เป็นอาการ
อันแท้ ไม่แปรผันด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษหลาย
ประการ คือ ข้อที่พระองค์ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ก็ได้ประทับยืน
ด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔ ของ
พระองค์. อนึ่ง ความที่พระองค์บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เป็น
บุพนิมิตแห่งความเป็นโลกุตตรธรรมทั้งปวง. การย่างพระบาท ๗ ก้าว
เป็นบุพนิมิตแห่งการได้รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ. อนึ่ง การยก
พัดจามรขึ้นที่กล่าวไว้ในคำนี้ว่า พัดจามรทั้งหลาย มีด้ามทองก็โบกสะบัด
นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการย่ำยีเดียรถีย์ทั้งปวง. อนึ่ง การกั้นพระเศวตฉัตร
เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตร อันบริสุทธิ์ ประเสริฐ คือ พระ
อรหัตตวิมุตติธรรม. การประทับยืนบนก้าวที่ ๗ ทอดพระเนตรเหลียวดู
ทั่วทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้พระอนาวรญาณ คือความเป็นพระ
สัพพัญญู. การเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพนิมิตแห่งการประกาศพระธรรม-
จักรอันประเสริฐ อันใคร ๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นี้ ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น และการเสด็จไปของพระองค์นั้น
ก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่แปรผัน ด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุ
คุณวิเศษเหล่านั้นแล ด้วยเหตุนั้นพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 06, 2017

Khap Khaep

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 22/219/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ว่า ฆราวาสคับแคบอาทิผิด อักขระ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่
ครองเรือน จะประพฤติอาทิผิด อักขระพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์
ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวดนุ่ง
ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วออกจากเรือน บวชเป็น อนาคาริก เถิด. ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุ สมัยต่อมา ข้าพเจ้านั้นแล จึงละโภคสมบัติ น้อยบ้าง มากบ้าง
ละวงศ์ญาติ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว
ออกจากเรือน บวชเป็น อนาคาริก. ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้บวชแล้วอย่างนี้ ถึง
พร้อมด้วย สิกขา และ สาชีพ ของภิกษุทั้งหลาย เพราะละ ปาณาติบาต
จึงเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศัสตรา มีความละอาย มี
ความเอ็นดูได้เป็นผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลภูตและสรรพสัตว์. เพราะละ อทินนา-
ทาน จึงเป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่
เขาให้ มีตนเป็นคนสะอาด ไม่ใช่ขโมยอยู่. เพราะละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่
พรหมจรรย์ จึงเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติอาทิผิด อักขระห่างไกล (และ) เว้น
จากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้าน. เพราะละมุสาวาท จึงเป็นผู้เว้น
ขาดจากมุสาวาท เป็นผู้กล่าวคำจริง ดำรงอยู่ในคำสัตย์เป็นหลักฐาน เชื่อถือ
ได้ ไม่พูดลวงโลก. เพราะ ละวาจาส่อเสียด จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อ
เสียด ได้ยินจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่ (นำไป) บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้หรือ
ได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่ (นำไป) บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้
เมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกันหรือเมื่อเขาดีกันอยู่ ก็ส่งเสริมชอบความ
พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกัน
เป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคีกัน. เพราะละวาจาหยาบ จึงเป็นผู้เว้นขาดจาก
วาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะโสต ชวนให้รักใคร่ จับใจ
เป็นภาษาของคนเมืองที่คนส่วนมากปรารถนาและชอบใจ. เพราะละการเจรจา
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 05, 2017

Chao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 22/228/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ก็หมวด (ธรรม) ๖ หมวดนี้ พึงชำระให้ถูกต้อง โดยปริยายที่ขยาย
ความไว้ในพระวินัยอย่างนี้ว่า ท่านบรรลุอะไร ? บรรลุอย่างไร ? บรรลุ
เมื่อไร ? บรรลุที่ไหน ? ละกิเลสพวกไหน ? ได้ธรรมพวกไหน ?
ก็ในที่นี้ คำที่ว่า ท่านบรรลุอะไร ? เป็นคำถามถึงการบรรลุ
คือ (ถามว่า) ท่านบรรลุอะไร ในบรรดาฌาณและวิโมกข์เป็นต้น หรือใน
บรรดามรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.
คำว่า ท่านบรรลุอย่างไร ? เป็นคำถามถึงอุบาย (วิธีทำให้บรรลุ)
เพราะว่าในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ท่านทำอนิจจลักษณะให้เป็นธุระ จึงบรรลุ
หรือทำทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นธุระ จึงบรรลุ
อีกอย่างหนึ่ง ท่านยึดมั่นด้วยอำนาจสมาธิ หรือยึดมั่นด้วยอำนาจวิปัสสนา
อนึ่ง ยึดมั่นในรูป หรือยึดมั่นในอรูป อีกอย่างหนึ่ง ยึดมั่นในภายใน หรือ
ยึดมั่นในภายนอก จึงบรรลุ.
คำว่า ท่านบรรลุเมื่อไร ? เป็นการถามถึงเวลา (ที่ได้บรรลุ) มี
คำอธิบายว่า ท่านบรรลุในเวลาไหน ในบรรดาเวลาเช้าอาทิผิด อักขระ และเวลาเที่ยง
เป็นต้น
คำว่า ท่านบรรลุที่ไหน ? เป็นการถามถึงโอกาส (ที่บรรลุ) มี
คำอธิบายว่า ในโอกาสไหน คือในที่พักกลางคืน ในที่พักกลางวัน ที่โคน
ไม้ ที่มณฑป หรือที่วิหารไหน.
คำว่า ท่านละกิเลสพวกไหน ? เป็นการถามถึงกิเลสที่ละได้ มี
คำอธิบายว่า ท่านละกิเลสที่มรรคไหนจะพึงฆ่า.
คำว่า ท่านได้ธรรมพวกไหน ? เป็นการถามถึงธรรมที่ได้บรรลุ
มีคำอธิบายว่า บรรดาธรรมมีปฐมมรรคเป็นต้น ท่านได้ธรรมเหล่าไหน
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 04, 2017

Tham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 31/223/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๘. ทีปสูตร

อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ

[๑๓๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[๑๓๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมอาทิผิด อักขระ
วินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึง
ขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาโดย
ความเห็นสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดย
ความสละคืนหายใจเข้า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
[๑๓๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้ง
เราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ก็ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่อเราอยู่
ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายไม่ลำบาก จักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อม
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น.
[๑๓๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวัง
ว่า แม้กายของเราไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึง
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้
แหละให้ดี.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 03, 2017

Kluean Klon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 31/229/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาสตรามา
โดยวันเดียวกัน.
[๑๓๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นโดยล่วง
กึ่งเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์
เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนเบาบางไป ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอสุภกถา ตรัส
สรรเสริญคุณแห่งอสุภะ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภะ แก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยอเนกปริยาย ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอสุภกถา
ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภะ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภะ โดยอเนก
ปริยาย จึงขวนขวายประกอบการเจริญอสุภะอันเกลื่อนกล่นอาทิผิด อักขระด้วยอาการเป็นอเนก
อยู่ อึดอัดระอา เกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาสตราสำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง
ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาสตรามาโดยวันเดียวกัน ขอประทาน
พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกปริยาย โดยวิธีที่ภิกษุสงฆ์
จะพึงดำรงอยู่ในอรหัตผลเถิด.
[๑๓๕๑] พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้น ภิกษุมีประมาณเท่าใด
ที่อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ เธอจงให้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดประชุมกัน ในอุปัฏฐานศาลา.
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยังภิกษุทั้งหมดที่
อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ ให้มาประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุม
กันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.
[๑๓๕๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา
แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสตินี้แล อันภิกษุ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 02, 2017

Sikkha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/98/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บัดนี้พึงทราบว่า มี ๓ มีวินัยเป็นต้น เพราะรวมเข้ากับปิฎกศัพท์
นั้น พึงทราบว่ามี ๓ มีวินัยเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้ว่า เพราะทำสมาสกับ
ปิฎกศัพท์ ซึ่งมีเนื้อความ ๒ อย่างนั้น อย่างนี้ คือวินัยด้วย วินัยนั้นเป็น
ปิฎกด้วย เพราะเป็นปริยัติ และเพราะเป็นภาชนะแห่งเนื้อความนั้น ๆ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อวินัยปิฎก โดยนัยตามที่กล่าวแล้ว พระสูตรด้วย พระสูตร
นั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสุตตันตปิฎก อภิธรรมด้วย อภิธรรม
นั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอภิธรรมปิฎก
ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในประการต่าง ๆ ใน
ปิฎกทั้ง ๓ เหล่านั้นอีกครั้ง
พึงแสดงประเภทของเทศนา ประเภทของ
ศาสนา ประเภทของกถา และสิกขาอาทิผิด อักขระ
ปหานะ คัมภีรภาพตามสมควรในปิฎก
เหล่านั้น ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภทแห่งการ
เล่าเรียนใด ซึ่งอาทิผิด อาณัติกะสมบัติใด แม้ซึ่งวิบัติใด
ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดงซึ่ง
ประเภทแห่งการเล่าเรียนทั้งหมดแม้นั้น
ด้วยอาการนั้น.
ในคาถาเหล่านั้น มีคำอธิบายอย่างแจ่มแจ้งและชัดเจน ดังต่อไปนี้
จริงอยู่ ปิฎก ๓ เหล่านั้น ท่านเรียกตามลำดับว่า อาณาเทศนา โวหาร-
เทศนา ปรมัตถเทศนา ยถาปราธศาสนา ยถานุโลมศาสนา ยถาธรรม-
ศาสนา และสังวราสังวรกถา ทิฏฐิวินิเวฐนกถา นามรูปปริจเฉทกถา.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 二月 01, 2017

Mae

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 73/203/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เมื่อโอกาสของเรายังไม่ทันเสร็จ พระชินมหา
มุนีทีปังกร พร้อมด้วยภิกษุสี่แสนรูป ซึ่งเป็นผู้มี
อภิญญา ๖ ผู้คงที่ ผู้สิ้นอาสวะ ผู้ไร้มลทินก็เสด็จ
พุทธดำเนินไปยังหนทาง.
การรับเสร็จก็ดำเนินไป เภรีทั้งหลายก็ประโคม
มนุษย์และเทวดาทั้งหลายบันเทิงใจแล้ว ก็พากันแซ่
ซ้องสาธุการ.
พวกเทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้อาทิผิด อาณัติกะพวกมนุษย์ก็
เห็นพวกเทวดา เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ก็ประ-
คองอัญชลี ตามเสด็จพระตถาคต.
พวกเทวดาก็บรรเลงด้วยดนตรีทิพย์ พวกมนุษย์
ก็บรรเลงด้วยดนตรีมนุษย์ เทวดาและมนุษย์ทั้งสอง
พวกก็บรรเลงตามเสด็จพระตถาคต
ในอากาศ พวกเทวดา เหล่าเดินหน ก็โปรยดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะอันเป็นของทิพย์
ไปทั่วทิศานุทิศ.
ในอากาศ พวกเทวดาเหล่าเดินหน ก็โปรยจุรณ
จันทน์ และของหอมอย่างดี อันเป็นของทิพย์ไปสิ้น
ทั่วทิศานุทิศ.
พวกมนุษย์ ที่ไปตามภาคพื้นดิน ก็ชูดอกจำปา
ดอกช้างน้าว ดอกกระทุ่ม ดอกกระถินพิมาน ดอก
บุนนาค ดอกเกด ทั่วทิศานุทิศ.
 
พระปิฎกธรรม