星期一, 二月 13, 2017

Mak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/207/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ในทิฏฐิที่ตนตัดสินแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้ง
อยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ. คำว่า นับถือเองแล้ว ความว่า นับถือ ตรวจเอง
แล้วว่า ศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู ธรรมนี้อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว
หมู่คณะนี้ปฏิบัติแล้ว ทิฏฐินี้เป็นทิฏฐิเจริญ ปฏิปทานี้อันศาสดาบัญญัติ
ดีแล้ว มรรคนี้เป็นมรรคอาทิผิด อักขระนำให้พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ใน
ทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว.
[๕๙๘] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก
ความว่า อนาคต เรียกว่า ข้างหน้า เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งวาทะของตนใน
ข้างหน้า ย่อมถึง เข้าถึง เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งความทะเลาะ
ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง ด้วยตนเอง
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้า
ในโลก อีกอย่างหนึ่ง เจ้าทิฏฐินั้น ย่อมทำความทะเลาะ ความหมายมั่น
ความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความทุ่มเถียง กับบุคคลอื่นผู้กล่าวใน
ข้างหน้าว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้อง
วาทะ ถ้าท่านสามารถ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมถึงความ
วิวาทในข้างหน้าในโลก.
[๕๙๙] คำว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ความว่า ทิฏฐิ ๖๒
ประการ เรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ ชันตุชน ละ สละ ทิ้ง ปลดปล่อย
บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งทิฏฐิที่ตนตัดสินแล้วทั้งปวง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละทิฏฐิตกลงใจทั้งปวงแล้ว.
[๖๐๐] คำว่า ชันตุชน . . . ย่อมไม่ทำความทุ่มเถียงในโลก
ความว่า ชันตุชนย่อมไม่ทำความทะเลาะ ไม่ทำความหมายมั่น ไม่ทำ
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: