星期五, 九月 29, 2017

Ti

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/200/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ พระราชากาลี
ท่านเคยเห็นที่ไหน ? คนผู้ปรารถนาสวรรค์ ฆ่าบุตร
ภรรยา เศรษฐี และคฤหบดีผู้ไม่คิดประทุษร้าย.
กัณฑหาลปุโรหิต และพระราชาได้ฟังพระดำรัส
ของท้าวสักกะ ได้เห็นรูปอันน่าอัศจรรย์แล้ว ให้เปลื้อง
เครื่องพันธนาการของสัตว์ทั้งปวง เหมือนดังเปลื้อง
เครื่องพันธนาการของคนผู้ไม่มีความชั่ว เมื่อสัตว์ทั้ง
ปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่ประชุมอยู่ ณ ที่
นั้นในกาลนั้นทุกคน เอาก้อนดินคนละก้อนทุ่มลง การ
ฆ่าซึ่งกัณฑหาลปุโรหิตได้มีแล้วด้วยประการดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมนฺสฺโส ได้แก่ ท้าวสักกเทวราช.
บทว่า พชฺฌสฺสุ แปลว่า ทรงรู้คือทรงกำหนด. บทว่า ราชกลิ ความว่า ดู
ก่อนพระราชาผู้กาลกิณี พระราชาผู้ลามก. บทว่า มา เตหํ ความว่า ดู
ก่อนพระราชาชั่ว ท่านจงรู้ อย่าให้เราตีอาทิผิด อักขระ คือประหารกระหม่อมของท่าน.
บทว่า โก เต ทิฏฺโฐ ความว่า ใครที่ไหน ที่ท่านเคยเห็น. ศัพท์ว่า หิ
ในบทว่า สคฺคกามา หิ นี้เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ผู้ใคร่ต่อสวรรค์
คือผู้ปรารถนาสวรรค์. บทว่า ตํ สุตฺวา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กัณฑหาลปุโรหิตฟังคำแห่งท้าวสักกเทวราชแล้ว. บทว่า อพฺภูตมิทํ ความว่า
อนึ่งพระราชาทรงเห็นแล้วซึ่งการแสดงรูปแห่งท้าวสักกเทวราชนี้อันน่าอัศจรรย์
ไม่เคยมีมาก่อนเลย. บทว่า ยถา ตํ ความว่า ให้ปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวง
เหมือนเปลื้องคนหาความชั่วมิได้ฉะนั้น. บทว่า เอเกกเลฑฺฑุมกํสุ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายทั้งปวงมีประมาณเท่าใด ประชุมกัน
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 九月 28, 2017

Parideva

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/397/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๕. สานุสูตร

ว่าด้วยสามเณรถูกยักษ์สิง

[๘๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี.
สมัยนั้นแล บุตรของอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสานุ ถูกยักษ์เข้าสิง.
[๘๑๕] ครั้งนั้นแล อุบาสิกานั้นได้ปริเทวนาการอาทิผิด กล่าวคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า
ฉันได้สดับต่อพระอรหันต์ทั้งหลาย
ว่า ชนเหล่าใดเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔
ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาริหา-
ริกปักษ์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ยักษ์ทั้ง
หลายย่อมไม่เล่นกับชนเหล่านั้น บัดนี้
ฉันเห็นในวันนี้ ยักษ์เล่นกับสามเณรสานุ.
[๘๑๖] ยักษ์กล่าวว่า
ท่านได้สดับต่อพระอรหันต์ทั้งหลาย
ว่า ชนเหล่าใดเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔
ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาริ-
หาริกปักษ์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ยักษ์
ทั้งหลายย่อมไม่เล่นกับชนเหล่านั้น เป็น
การชอบ ท่านพึงบอกสานุผู้ฟื้นขึ้นแล้ว
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 九月 27, 2017

Kha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/141/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข้าแต่บุรุษผู้อาชาไนย ข้าพเจ้าขอ
นอบน้อมท่าน ข้าแต่บุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้า
ขอนอบน้อมท่าน ข้าอาทิผิด อาณัติกะแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้ใด
หมดอาสวะแล้ว ผู้นั้นเป็นทักขิเณยยบุคคล
ดังนี้.
แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หญิงแก่ถวายภิกษาแก่พระอรหันต์ผู้เช่นกับท่าน
ผู้เข้าไปเพื่อบิณฑบาตจักพ้นจากทุกข์ ดังนี้. พระเถระลุกขึ้นแล้วเปิดประตู
ออกไปตรวจดูเวลา ทราบว่า ยังเช้าอยู่ จึงถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่บ้าน. แม้
ทาริกาเตรียมอาหารเสร็จแล้ว ก็เปิดประตูนั่งแลดูอยู่ด้วยคิดว่า "บัดนี้ พี่ชาย
ของเราจักมา". เมื่อพระเถระมาถึงประตูบ้าน ทาริกานั้น จึงรับบาตรแล้วทำ
ให้เต็มด้วยข้าวเจือด้วยน้ำนมปรุงด้วยเนยใสและน้ำอ้อย แล้วจึงวางไว้บนมือ
ของพระเถระ พระเถระกระทำอนุโมทนาว่า “จงเป็นสุขเถิด” แล้วหลีกไป
แม้ทาริกานั้น ก็ยืนแลดูพระเถระอยู่ ในเวลานั้น ผิวพรรณของพระเถระบริสุทธิ์
งามยิ่งนัก อินทรีย์ทั้งหลายผุดผ่องไพโรจน์ยิ่ง เป็นราวกะว่าผลตาลสุกที่หลุด
จากขั้ว ฉะนั้น. มหาอุบาสิกากลับมาจากป่า จึงถามธิดาว่า “ลูกแม่ พี่ชายของ
เจ้ามาแล้วหรือ” ธิดานั้นได้บอกความเป็นไปทั้งปวงนั้น มหาอุบาสิกาทราบว่า
วันนี้กิจแห่งบรรพชิตแห่งบุตรของเราถึงที่สุดแล้ว จึงกล่าวว่า “ลูกแม่ พี่ชาย
ของเจ้าจะไม่เดือดร้อนอาทิผิด อักขระในพระพุทธศาสนา” ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งความ
เป็นทายาท (คือผู้รับมรดก) ว่า ชื่อว่า มรดกของพระศาสดา คืออริย-
ทรัพย์นั้นยิ่งใหญ่แล มรดกนั้นอันผู้เกียจคร้านไม่อาจเพื่อได้ เหมือนอย่าง
ว่า บิดามารดา ทำบุตรผู้ปฏิบัติผิดให้มีในภายนอกว่า "ผู้นี้มิใช่บุตรของ
เรา" บุตรนั้นย่อมไม่ได้มรดกโดยกาลอันล่วงไปแห่งบิดามารดา ฉันใด
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 24, 2017

Asom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/191/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อสุญฺโญ คืออาศรมอาทิผิด นั้นไม่ว่างฉันใด เราเป็นผู้ไม่ว่างเพราะ
ทำอาศรมนั้นไม่ให้ว่าง. ปาฐะว่า อสุญฺเญ คือเรารักษาเด็กทั้งสองคนอยู่
ในอาศรมอันไม่ว่าง ด้วยการอยู่ของเรา คือเราตั้งอยู่ในอาศรมนั้น. ด้วย
อานุภาพแห่งเมตตาของพระโพธิสัตว์ แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งปวงก็ได้เมตตา
ในที่ ๓ โยชน์โดยรอบ.
เมื่อกษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ ประทับอยู่ ณ เขาวงกตนั้น พราหมณ์
ชูชก ชาวเมืองกลิงครัฐ เมื่อภรรยาชื่อว่าอมิตตตาปนา พูดว่าเราไม่สามารถ
จะทำการซ้อมข้าว ตักน้ำ หุงข้าวยาคู และข้าวสวยแก่ท่านได้เป็นนิจ. ท่าน
จงนำทาสชายหรือทาสหญิงมารับใช้เราเถิด ชูชกกล่าวว่า น้องเอ๋ย เราหรือ
ก็ยากจน จะได้ทาสชายหรือทาสหญิงแต่ไหนมาให้น้องได้เล่า. เมื่อนาง-
อมิตตตาปนาบอกว่า ก็พระราชาเวสสันดรนั่นอย่างไรเล่า พระองค์ประทับ
อยู่ที่เขาวงกต ท่านจงขอพระโอรสธิดาของพระองค์มาให้เป็นคนรับใช้เรา
เถิด ชูชกไม่อาจละเลยถ้อยคำของนางได้ เพราะว่าที่มีใจผูกพันนางด้วยอำ-
นาจกิเลส จึงให้นางเตรียมเสบียงอาทิผิด เดินทางถึงกรุงเชตุดรโดยลำดับ แล้ว
ถามอาทิผิด ว่า พระเวสสันดรมหาราชอยู่ที่ไหน.
มหาชนต่างเกรี้ยวกราดว่า [พระราชา] ของพวกเรา เพราะทรงให้ทานยาจก
พวกนี้จึงต้องถูกเนรเทศออกจากแว่นแคว้น. อีตาพราหมณ์เฒ่าผู้นี้ทำให้
พระราชาของพวกเราได้รับความพินาศแล้วยังมีหน้ามาถึงที่นี้อีก ต่างถือ
ก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ด่าว่าติดตามพราหมณ์ไป.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 九月 23, 2017

Arakkha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/192/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พราหมณ์ชูชกนั้นเทวดาดลใจออกจากกรุงเชตุดร แล้วเดินตรงไปยัง
ทางที่จะไปเขาวงกต ถึงประตูป่าโดยลำดับ หยั่งลงสู่ป่าใหญ่ หลงทางเที่ยว
ไป เตลิดไปพบกับเจตบุตรซึ่งพระราชาเหล่านั้นทรงตั้งไว้เพื่ออารักขาอาทิผิด สระพระ-
โพธิสัตว์. เจตบุตรถามว่า จะไปไหนพราหมณ์. ชูชกบอกว่า จะไปหา
พระเวสสันดรมหาราช. เจตบุตรคิดว่าอีตาพราหมณ์นี้น่าจะไปทูลขอพระ
โอรสธิดาหรือพระเทวีของพระเวสสันดรเป็นแน่ จึงขู่ตะคอกว่า พราหมณ์
ท่านอย่าไปที่นั้นนะ. หากไปเราจะตัดหัวท่านเสียที่นี่แหละ แล้วให้สุนัข
ของเรากิน ชูชกถูกขู่ก็กลัวตายจึงกล่าวเท็จว่า พระชนกของพระเวสสันดร
ส่งเราเป็นทูตมาด้วยหมายใจว่าจักนำพระเวสสันดรกลับพระนคร
เจตบุตรได้ฟังดังนั้นก็ร่าเริงยินดี แสดงความเคารพนับถือพราหมณ์
จึงบอกทางไปเขาวงกตอาทิผิด อักขระให้แก่พราหมณ์. พราหมณ์เดินทางออกจากนั้นใน
ระหว่างทาง ได้พบกับอัจจุตดาบสจึงถามถึงหนทาง เมื่ออัจจุตอาทิผิด สระดาบสบอก
หนทางให้ จึงเดินไปตามทางตามเครื่องหมายที่อัจจุตดาบสบอก ถึงที่ตั้ง
อาศรมบทของพระโพธิสัตว์โดยลำดับ จึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ในเวลาที่
พระนางมัทรีเทวีไปหาผลไม้ แล้วทูลขอพระกุมารกุมารีทั้งสอง ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
เมื่อเราอยู่ในป่าใหญ่ ชูชกพราหมณ์
เดินเข้ามาหาเรา ได้ขอบุตรทั้งสองของเรา
คือ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 九月 22, 2017

Bhuta

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 85/172/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,
ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทยวัตถุอาศัยขันธ์
ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย
มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตต-
สมุฏฐานรูป กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น,
มหาภูตรูป ๓ อาศัยพาหิรมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑
อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น,
อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ซึ่งมีอาหารเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น,
มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป
๒ เกิดขึ้น, อุปาทารูปอาศัยมหาภูตอาทิผิด สระรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ซึ่งมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น,
มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป
๒ เกิดขึ้น, อุปาทารูปอาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.
สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป
๒ เกิดขึ้น, กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.
๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น
เพราะสหชาตปัจจัย
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 18, 2017

Koet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 85/180/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.
๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.
ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.
๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย
คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตต-
สมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, เพราะวิปปยุตตปัจจัย.
๖. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดอาทิผิด สระขึ้น
เพราะวิปปยุตตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิด
ขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.
ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, จิตต-
สมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.
๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ
วิปปยุตตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 17, 2017

Nathi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/178/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า บิดามารดาของเรา ในวันอื่น ๆ เคย
กลับเวลานี้ บัดนี้เราไม่รู้เรื่องราวของท่านทั้งสองนั้น จึงเดินสวนทางร้องเรียก
หาไป ท่านทั้งสองนั้นจำเสียงบุตรได้ก็ขานรับ แล้วกล่าวห้ามด้วยความรักใน
บุตรว่า มีอันตรายในที่นี้ อย่ามาเลยลูก พระมหาสัตว์ตอบท่านทั้งสองว่า
ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งสองจงจับปลายไม้เท้านี้มาเถิด แล้วยื่นไม้เท้ายาวให้ท่าน
ทั้งสองจับ ท่านทั้งสองจับปลายไม้เท้าแล้วมาหาบุตร พระมหาสัตว์ถามว่า
จักษุของท่านทั้งสองมืดไปด้วยเหตุอะไร บิดามารดาทั้งสอง ก็เล่าให้พระมหา-
สัตว์ผู้บุตรฟังว่า ลูกรัก เมื่อฝนตก เราทั้งสองยืนอยู่บนยอดจอมปลวกที่โคน
ไม้ในที่นี้ จักษุทั้งสองมืดไปด้วยเหตุนั้น พระมหาสัตว์ได้สดับคำของบิดามารดา
ก็รู้ว่าอสรพิษมีในจอมปลวกนั้น อสรพิษนั้นขัดเคืองปล่อยลมในจมูกออกมา
พระมหาสัตว์เห็นบิดามารดาแล้วร้องไห้และหัวเราะ บิดามารดาจึงถามว่า
ทำไมถึงร้องไห้ และหัวเราะ พระมหาสัตว์ตอบว่า ข้าพเจ้าร้องไห้ ด้วยเสีย
ใจว่าจักษุของท่านทั้งสองพินาศไป ในเวลาที่ข้าพเจ้ายังเป็นเด็กอยู่ แต่ข้าพเจ้า
หัวเราะด้วยดีใจว่า ข้าพเจ้าจักได้ปฏิบัติบำรุงท่านทั้งสองในบัดนี้ ขอท่านทั้ง
สองอย่าได้คิดอะไรเลย ข้าพเจ้าจักปฏิบัติบำรุงท่านทั้งสองให้ผาสุก พระมหา-
สัตว์ปลอบโยนให้บิดามารดาทั้งสองเบาใจ แล้วนำมาอาศรมบท ผูกเชือกเป็น
ราวในที่ทั้งปวงสำหรับ บิดามารดาทั้งสองนั้น คือที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน
ที่จงกรม บรรณศาลา ที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ จำเดิมแต่นั้นมา ให้บิดามารดา
อยู่ในอาศรมบท ไปนำมูลผลาผลในป่ามาเองตั้งไว้ในบรรณศาลา กวาดที่อยู่
ของบิดามารดาแต่เช้าทีเดียว ไหว้บิดามารดาแล้ว ถือหม้อน้ำไปสู่มิคสัมมตานทีอาทิผิด อาณัติกะ
นำน้ำดื่มมา แต่งตั้งของฉันไว้ ให้ไม้สีฟันและน้ำบ้วนปากเป็นต้น ให้
ผลาผลที่มีรสอร่อย เมื่อบิดามารดาบริโภคแลบ้วนปากแล้ว ตนเองจึงบริโภค
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 九月 12, 2017

Thamnai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/176/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
หลายบทว่า จิตฺตานิ นมนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุํ มีความว่า ได้
ยินว่า เทวดาเหล่านั้น สิงในสรีระของชนทั้งหลาย ผู้รู้ทำนายอาทิผิด สระชัยภูมิ แล้ว
น้อมจิตไปอย่างนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะเทวดาทั้งหลายนั้น จักกระทำสักการะตามสมควรแก่เรา
ทั้งหลาย.
บทว่า ตาวตึเสหิ มีความว่า ได้ยินว่า เสียงที่ว่า บัณฑิตทั้งหลาย
ชาวดาวดึงส์ หมายเอาท้าวสักกเทวราชและพระวิสสุกรรมเฟื่องฟุ้งไปโนโลก
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตาวตึเสหิ. อธิบายว่า สุนีธอมาตย์
และวัสสการอมาตย์นั้นราวกับได้หารือเทพเจ้าชาวดาวดึงส์แล้ว จึงได้สร้าง.
บทว่า ยาวตา อริยานํ อายตนํ มีความว่า ชื่อว่าสถานเป็นที่
ประชุมแห่งมนุษย์ผู้เป็นอริยะทั้งหลาย มีอยู่เท่าใด.
บทว่า ยาวตา วณิชฺชปโถ มีความว่า ชื่อว่า สถานเป็นที่ซื้อและ
ขาย ด้วยอำนาจแห่งกองสินค้าที่นำมาแล้วนั่นเทียว ของพ่อค้าทั้งหลาย มีอยู่
เท่าใด.
สองบทว่า อิทํ อคฺคนครํ มีความว่า เมืองปาฏลีบุตร ซึ่งเป็นแดน
แห่งพระอริยะ เป็นสถานแห่งการค้าขาย ของมนุษย์เหล่านั้น นี้จักเป็นเมือง
ยอด.
บทว่า ปุฏเภทนํ ได้แก่ เป็นสถานที่แก้ห่อสินค้า. มีคำอธิบายว่า
จักเป็นสถานที่อาทิผิด อาณัติกะแก้มัดสินค้าทั้งหลาย.
วินิจฉัยบทว่า อคฺคิโต วา เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 11, 2017

Sangahita

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 79/151/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาวิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส
บัดนี้ เพื่อจำแนก วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตอาทิผิด บท พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า “รูปกฺขนฺเธน” เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น
วิปปโยคะของบทเหล่าใด ที่มิได้ยกขึ้นมา (ในที่นี้) บทเหล่านั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอาในวาระนี้. ถามว่า ก็บทเหล่านั้น เป็นบทอะไร ตอบ
ว่าเป็นบทธัมมายตนะเป็นต้น. เพราะว่าวิปปโยคะ ย่อมไม่มีในธรรมทั้งหลาย
มีขันธ์เป็นต้นของธัมมายตนะ แม้สักบทเดียว. แม้ในธัมมธาตุเป็นต้น ก็นัย
นี้นั่นแหละ. บัณฑิตพึงทราบอุทานแห่งบทเหล่านั้นดังนี้.
“ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ ชีวิตินฺทฺริยเมว จ
นามรูปปทญฺเจว สฬายตนเมว จ.
ชาติอาทิตฺตยํ เอกํ ปทํ วีสติเม ติเก
ติกาวสานิกํ เอกํ สตฺต จูฬนฺตเร ปทา.
ทเสว โคจฺฉเก โหนฺติ มหทนฺตรมฺหิ จุทฺทส
ฉ ปทานิ ตโต อุทฺธํ สพฺพานิปิ สมาสโต.
ปทานิ จ ลพฺภนฺติ จตฺตาฬีสญฺจ สตฺตธา”.
แปลว่า
ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ ชีวิตินทรีย์ นามรูป
สฬายตนะ ธรรมทั้ง ๓ มีชาติเป็นต้น (คือ ชาติ ชรา
มรณะ) ในติกะที่ ๒๐ บทหนึ่ง (คือ อัชฌัตตพหิทธบท)
บทสุดท้ายของติกะ ๑ บท คือ (อนิทัสสนอัปปฏิฆบท)
ในจูฬันตรทุกะ ๗ บท ในโคจฉกะ ๑๐ บท ในมหันตร-
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 10, 2017

Ta

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 79/165/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ติกมาติกา
[๙] บุคคล ๓ จำพวก
๑. บุคคลผู้ไม่มีความหวัง
บุคคลผู้มีความหวัง
บุคคลผู้มีความหวังปราศไปแล้ว
๒. บุคคลเปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวก
๓. บุคคลผู้ชื่อว่า กายสักขีอาทิผิด สระ
บุคคลผู้ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ
บุคคลผู้ชื่อว่า สัทธาวิมุต
๔. บุคคลผู้มีวาจาเหมือนคูถ
บุคคลผู้มีวาจาเหมือนดอกไม้
บุคคลผู้มีวาจาเหมือนน้ำผึ้ง
๕. บุคคลผู้มีจิตเหมือนแผลเรื้อรัง
บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ
บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าผ่า
๖. บุคคลผู้บอด
บุคคลผู้มีตาอาทิผิด อักขระข้างเดียว
บุคคลผู้มีตาสองข้าง
๗. บุคคลผู้มีปัญญาดังหม้อคว่ำ
บุคคลผู้มีปัญญาดังหน้าตัก
บุคคลผู้มีปัญญามาก
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 九月 08, 2017

Chitta

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 89/156/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๗. จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสมุฏ-
ฐานธรรม และจิต ฯลฯ ขันธ์ ๒.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม
และจิต ฯลฯ ขันธ์ ๒.
๘. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตต-
สมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย
คือ ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏ-
ฐานธรรม และจิต.
ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม
และมหาภูตรูปทั้งหลาย.
ในปฏิสนธิขณะ จิต อาศัยขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม
และหทยวัตถุ.
๙. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏ-
ฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตอาทิผิด สระ-
สมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
จิตตสมุฏฐานธรรม และจิต ฯลฯ ขันธ์ ๒.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 九月 06, 2017

Phum

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 82/196/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บุคคลที่กำลังปรินิพพานในสุทธาวาสภูมิก็ดี บุคคลที่กำลังตาย
ในอสัญญสัตตภูมิก็ดี รูปขันธ์กำลังดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น แต่
เวทนาขันธ์ไม่ใช่เคยดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น, บุคคลนอกจากนี้
ที่กำลังตายในปัญจโวการภูมิ รูปขันธ์กำลังดับ และเวทนาขันธ์ก็เคยดับ
แก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
ก็หรือว่า เวทนาขันธ์เคยดับแก่บุคคลใดในภูมิใด, รูปขันธ์
ก็กำลังดับแก่บุคคลนั้นในภูมิอาทิผิด อักขระนั้น ใช่ไหม ?
บุคคลที่กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่ในอรูปภูมิ
ก็ดี เวทนาขันธ์เคยดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น แต่รูปขันธ์ไม่ใช่
กำลังดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น, บุคคลที่กำลังตายในปัญจโวการภูมิ
เวทนาขันธ์เคยดับ และรูปขันธ์ก็กำลังดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
จบ รูปขันธมูละ เวทนาขันธมูลี
รูปขันธมูล จบ
เวทนาขันธมูล
เวทนาขันธมูละ สัญญาขันธมูลี :-
[๑๙๔] เวทนาขันธ์กำลังดับแก่บุคคลใดในภูมิใด, สัญญาขันธ์
ก็เคยดับแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 九月 04, 2017

Yam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/157/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แก้ อภิกฺกนุตศัพท์
ในคำว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา นี้ อภิกกันตศัพท์ใช้ในความ
ทั้งหลาย มี สิ้นไป ดี งาม ยินดียิ่ง เป็นต้น.
ในความเหล่านั้น ใช้ในความว่า สิ้นไป ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้
ว่า อภิกฺกนฺตา ภนฺเต รตฺติ, นิกฺขนฺโต ปฐโม ยาโม จิรนิสินฺโน
ภิกฺขุสงฺโฆ อุทฺทิสตุ ภนฺเต ภควา ภิกฺขูนํ ปาฏิโมกฺขํ ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ ราตรีสิ้นไปแล้ว ปฐมยามอาทิผิด อักขระล่วงไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้ว ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิดพระเจ้าข้า.
ใช้ในความว่า ดี ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อยํ อิเมสํ จตุนฺนํ
ปุคฺคาลานํ อภิกฺกนฺตตโต จ ปณีตตโร จ นี้ดีกว่า ประณีตกว่า บุคคล
๔ จำพวกนี้.
ใช้ในความว่า งาม ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า
โก เม วนฺทติ ปาทานิ อิทฺธิยา ยสสา ชลํ
อภิกนฺเตน วณฺเณน สพฺพา โอภาสยํ ทิสา.
ใครหนอ รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ด้วยยศ มีวรรณะงาม
ส่องรัศมีสว่างทั่วทิศ มาไหว้เท้าเรา.
ใช้ในความว่า ยินดียิ่ง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อภิกฺกนฺตํ
โภ โคตม อภิกฺกนฺตํ โภ โคตม ไพเราะจริง ท่านพระโคดม
ไพเราะจริง ท่านพระโคดม.
แต่ในพระสูตรนี้ ใช้ในความว่า สิ้นไป. ท่านอธิบายว่า บทว่า
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา แปลว่า เมื่อราตรีสิ้นไปแล้ว.
ในคำว่า อภิกนฺตวณฺณา นี้ อภิกกันตศัพท์ในความว่า งาม.
วัณณศัพท์ ใช้ในความว่า ผิว สรรเสริญ พวกตระกูล เหตุ ทรวดทรง
ขนาด รูปายตนะ เป็นต้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 九月 03, 2017

Suat Song

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/158/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ใช้ในความว่า ผิว ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุวณฺณวณฺโณ
ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้ามี พระฉวี ดังทอง.
ใช้ในความว่า สรรเสริญ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน
คฤหบดี คำสรรเสริญพระสมณโคดมเหล่านั้น ท่านรวบรวมไว้เมื่อไร.
ใช้ในความว่าพวกตระกูล ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ท่านพระ-
โคดม วรรณะ ๔ เหล่านั้น.
ใช้ในความว่าเหตุ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกน นุ วณฺเณน
คนฺธเถโนติ วุจฺจติ เพราะเหตุอะไรเล่าหนอ จึงมาว่าเราเป็นผู้ขโมยกลิ่น.
ใช้ในความว่า ทรวดทรง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า มหนฺตํ
หตฺถีราชวณฺณํ อภินิมฺมิตฺวา เนรมิตทรวดทรงอาทิผิด อักขระเป็นพระยาช้าง.
ใช้ในความว่า ขนาด ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตโย ปตฺตสฺส
วณฺณา ขนาดของบาตรสามขนาด.
ใช้ในความว่า รูปายตนะ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า วณฺโณ
คนฺโธ รโส โอชา รูป กลิ่น รส โอชา.
วัณณศัพท์นั้น ในสูตรนี้ พึงเห็นว่าใช้ในความว่า ผิว ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงอธิบายว่า บทว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา แปลว่า มีวรรณะน่ารัก.

แก้อรรถบท เกวลกปฺปํ
เกวลศัพท์ในบทว่า เกวลกปฺปํนี้ มีความหมายเป็นอเนก เช่น ไม่
มีส่วนเหลือ โดยมาก ไม่ปน [ล้วน ๆ ] ไม่มากเกิน มั่นคง ไม่เกาะ
เกี่ยว จริงอย่างนั้น เกวลศัพท์นั้นมีความว่าไม่มีส่วนเหลือ ได้ในประโยค
เป็นต้นอย่างนี้ว่า เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ พรหมจรรย์บริ-
สุทธิ์บริบูรณ์ ไม่มีส่วนเหลือ.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 九月 01, 2017

Satthinsi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 79/159/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์
๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์
๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธินอาทิผิด สระทรีย์
๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์
๑๘. สมาธินทรีย์
๑๙. ปัญญินทรีย์อาทิผิด
๒๐. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์
การบัญญัติธรรมที่เป็นใหญ่ว่า อินทรีย์ ก็มี ๒๒ ตามจำนวนธรรม
เหล่านี้.
๖. บุคคลบัญญัติ
การบัญญัติจำพวกบุคคลของบุคคลทั้งหลาย มีเท่าไร

เอกกมาติกา
[๗] บุคคล ๑ จำพวก
๑. บุคคลผู้พ้นแล้วในสมัย
 
พระปิฎกธรรม