Sangahita
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 79/151/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อรรถกถาวิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส
บัดนี้ เพื่อจำแนก วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตอาทิผิด บท พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า “รูปกฺขนฺเธน” เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น
วิปปโยคะของบทเหล่าใด ที่มิได้ยกขึ้นมา (ในที่นี้) บทเหล่านั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอาในวาระนี้. ถามว่า ก็บทเหล่านั้น เป็นบทอะไร ตอบ
ว่าเป็นบทธัมมายตนะเป็นต้น. เพราะว่าวิปปโยคะ ย่อมไม่มีในธรรมทั้งหลาย
มีขันธ์เป็นต้นของธัมมายตนะ แม้สักบทเดียว. แม้ในธัมมธาตุเป็นต้น ก็นัย
นี้นั่นแหละ. บัณฑิตพึงทราบอุทานแห่งบทเหล่านั้นดังนี้.
“ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ ชีวิตินฺทฺริยเมว จ
นามรูปปทญฺเจว สฬายตนเมว จ.
ชาติอาทิตฺตยํ เอกํ ปทํ วีสติเม ติเก
ติกาวสานิกํ เอกํ สตฺต จูฬนฺตเร ปทา.
ทเสว โคจฺฉเก โหนฺติ มหทนฺตรมฺหิ จุทฺทส
ฉ ปทานิ ตโต อุทฺธํ สพฺพานิปิ สมาสโต.
ปทานิ จ ลพฺภนฺติ จตฺตาฬีสญฺจ สตฺตธา”.
แปลว่า
ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ ชีวิตินทรีย์ นามรูป
สฬายตนะ ธรรมทั้ง ๓ มีชาติเป็นต้น (คือ ชาติ ชรา
มรณะ) ในติกะที่ ๒๐ บทหนึ่ง (คือ อัชฌัตตพหิทธบท)
บทสุดท้ายของติกะ ๑ บท คือ (อนิทัสสนอัปปฏิฆบท)
ในจูฬันตรทุกะ ๗ บท ในโคจฉกะ ๑๐ บท ในมหันตร-
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论