turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 51/182/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ กรุงกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า
อุสภะ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในสมาคมพระญาติของพระศาสดา
ได้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว.
จำเดิมแต่เวลาที่บวชแล้ว พระอุสภะไม่บำเพ็ญสมณธรรม ยินดีใน
การคลุกคลีด้วยหมู่ในกลางวัน ชอบนอนหลับตลอดทั้งคืน ยังเวลาให้ล่วงไป.
วันหนึ่ง ท่านปล่อยสติ ขาดสัมปชัญญะนอนหลับ ฝันเห็นตนเอง ปลงผมและ
หนวดแล้ว ห่มจีวรสีใบมะม่วงอ่อน นั่งบนคอช้าง เข้าไปสู่พระนครเพื่อ
บิณฑบาต เพื่อมนุษย์ทั้งหลายมาชุมนุมกันในที่นั้นนั่นแล จึงลงจากคอช้าง
ด้วยความละอาย ตื่นขึ้น เกิดความสลดใจว่า เราปล่อยสติไม่มีสัมปชัญญะ
นอนหลับฝันเห็นเป็นเช่นนี้ไป ดังนี้ แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต
ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในกาลนั้น เราได้ถวายผลสะคร้อ แด่พระ-
นราสภผู้ประเสริฐกว่าทวยเทพ งามเหมือนต้นรกฟ้า
ขาว กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๓๑ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการ
ถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ลำดับนั้น พระเถระอาทิผิด อักขระทำความฝันตามที่ตนเห็นแล้วนั่นแล ให้เป็นข้อ
พยากรณ์พระอรหัตผล โดยระบุถึงความฝันนั้นนั่นแล เพราะความที่ตนได้
บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
เราฝันว่า ได้ห่มจีวรสีอ่อนเฉวียงบ่า นั่งบน
คอช้าง เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พอเข้าไปก็ถูก
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 36/155/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อริยสาวิกาผู้ใด ย่อมเจริญด้วย
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
ทั้งสองฝ่าย อริยสาวิกาผู้เช่นนั้น เป็นผู้มี
ศีล เป็นอุบาสิกา ชื่อว่าย่อมยึดถือสาระ
แห่งตนในโลกนี้ไว้ได้ทีเดียว.
จบทุติยวัฑฒิสูตรที่ ๔
๕. สากัจฉสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ
[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตน
เอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภ
สมาธิสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้
พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
วิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทา
ได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้
พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติอาทิผิด อักขระญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนา
ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
จบสากัจฉสูตรที่ ๕
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 84/178/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
น กายินทริยมูล
น กายินทริยมูละ น จักขุนทริยมูลี:-
[๔๗๐] ธรรมที่ไม่ชื่อว่ากายะ, ไม่ชื่อว่า อินทรีย์ ใช่ไหมอาทิผิด อักขระ ?
ใช่.
ธรรมที่ไม่ชื่อว่าอินทรีย์ ไม่ชื่อว่า จักขุนทรีย์ ใช่ไหม ?
ใช่.
ฯลฯ
น กายินทริยมูละ น อัญญาตาวินทริยมูลี:-
ธรรมที่ไม่ชื่อว่ากายะ, ไม่ชื่อว่า อินทรีย์ ใช่ไหม ?
ใช่.
ธรรมที่ไม่ชื่อว่าอินทรีย์, ไม่ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ ใช่ไหม ?
ใช่.
จบ น กายินอาทิผิด อักขระทริยมูละ น อัญญาตาวินทริยมูลี
น กายินทริยมูล จบ
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 8/168/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
นั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้เธอไม่ยอม
สละทิฏฐินั้น สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละ
ทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง
คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความอาทิผิด อักขระนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง
มีทิฏฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า
เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่
ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ เธอไม่ยอมสละทิฏฐินั้น สงฆ์ทำ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุ
อริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์
การทำอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละอาทิผิด อักขระทิฏฐิอันเป็นบาปแก่
ภิกษุอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง คือ ห้ามสมโภคกับ
สงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 32/158/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
[๑๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา
ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดย
แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา
ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่
รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา
ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา
ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.
[๑๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา
ไม่เล็งเห็นเหตุอาทิผิด อักขระอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่
เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 32/170/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เพียงนั้น. ในกาลใด พระราชาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทรงให้ใส่ถุงทรัพย์
หนึ่งแสนลงในผอบทองตั้งบนคอช้างแล้วให้ตีกลองร้องประกาศไป
ในพระนครว่า ชนผู้รู้คาถา ๔ บท ที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จงถือ
เอาทรัพย์หนึ่งแสนนี้ไป ก็ไม่ได้คนที่จะรับเอาไป แม้ด้วยการให้เที่ยว
ตีกลองประกาศคราวเดียว ย่อมมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง จึงให้
เที่ยวตีกลองประกาศไปถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้ผู้ที่จะรับเอาไป. ราชบุรุษ
ทั้งหลาย จึงให้ขนถุงทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น กลับสู่ราชตระกูลตามเดิม.
ในกาลนั้น ปริยัตติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมไป ดังว่านี้ ชื่อว่า การอันตรธาน
แห่งพระปริยัตติ.
เมื่อกาลล่วงไป ๆ การรับจีวร การรับบาตร การคู้ การ
เหยียด การดูแล การเหลียวดู ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใส.
ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ปลายแขนถือเที่ยวไป เหมือนสมณนิครนถ์
ถือบาตรน้ำเต้าเที่ยวไป. แม้ด้วยอาการเพียงเท่านี้ เพศก็ชื่อว่ายัง
ไม่อันตรธาน. เมื่อกาลล่วงไป ๆ เอาบาตรลงจากปลายแขนหิ้วไป
ด้วยมือหรือด้วยสาแหรกเที่ยวไป แม้จีวรก็ไม่ทำการย้อมให้ถูกต้อง
กระทำให้มีสีแดงใช้. เมื่อกาลล่วงไป การย้อมจีวรก็ดี การตัด
ชายผ้าก็ดี การเจาะรังดุมก็ดี ย่อมไม่มี ทำเพียงเครื่องหมายแล้ว
ใช้สอย ต่อมากลับเลิกรังดุม ไม่ทำเครื่องหมาย ต่อมา ไม่กระทำอาทิผิด สระ
ทั้ง ๒ อย่าง ตัดชายผ้าเที่ยวไปเหมือนพวกปริพาชก เมื่อกาลล่วงไป
ก็คิดว่า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยการกระทำเช่นนี้ จึงผูกผ้า
กาสายะชิ้นเล็ก ๆ เข้าที่มือหรือที่คอ หรือขอดไว้ที่ผม กระทำการ
เลี้ยงภรรยา เที่ยวไถอาทิผิด อาณัติกะหว่านเลี้ยงชีพ. ในกาลนั้น ชนเมื่อให้ทักขิณา
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 32/175/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ทั้งหลายก็นิ่ง. คำของพระเถระผู้เป็นธรรมกถึกนั้นแล เชื่อถือได้.
เหมือนอย่างว่า ในระหว่างโคผู้ ๑๐๐ ตัว หรือ ๑,๐๐๐ ตัว เมื่อไม่มี
แม่โคผู้จะรักษาเชื้อสายเลย วงศ์เชื้อสาย ก็ไม่สืบต่อกัน ฉันใด
เมื่อภิกษุเริ่มวิปัสสนา ตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑,๐๐๐ รูป มีอยู่ แต่ปริยัติไม่มี
ชื่อว่าการแทงตลอดอาทิผิด อักขระอริยมรรคก็ไม่มี ฉันนั้นนั่นแล. อนึ่งเมื่อเขาจารึก
อักษรไว้หลังแผ่นหิน เพื่อจะให้รู้ขุมทรัพย์ อักษรยังทรงอยู่เพียงใด
ขุมทรัพย์ทั้งหลาย ชื่อว่ายังไม่เสื่อมหายไปเพียงนั้น ฉันใด เมื่อ
ปริยัติ ยังทรงอยู่ พระศาสนา ก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน ไป ฉันนั้น
เหมือนกันแล.
จบ อรรถกถาวรรคที่ ๑๐
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 63/161/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
[๕๐๐] ท่านทั้งสองจักษุมืดไม่สามารถจะเห็น
อะไร ๆ ในป่า ใครเล่าหนอนำผลไม้มาเพื่อท่านทั้งสอง
ความสะสมผลไม้น้อยใหญ่ไว้โดยเรียบร้อยนี้ ปรากฏ
แก่ข้าพเจ้าว่า ดูเหมือนคนตาดีสะสมไว้.
[๕๐๑] สามะหนุ่มน้อยรูปร่างสันทัดงดงามน่าดู
เกศาของเธอยาวดำ เฟื้อยลงไปปลายงอนช้อนขึ้นข้าง
บน เธอนั่นแหละนำผลไม้มาถือหม้อน้ำจากที่นี่ ไปสู่
แม่น้ำนำน้ำมา เห็นจะกลับมาใกล้แล้ว.
[๕๐๒] ข้าพเจ้าได้ฆ่าสามกุมารผู้ปฏิบัติบำรุง
ท่านเสียแล้ว ผู้เป็นเจ้ากล่าวถึงสามกุมารผู้งดงามน่าดู
ใด เกศาของสามกุมารนั้นยาวดำเฟื้อยลงไปปลายงอน
ช้อนขึ้นเบื้องบน สามอาทิผิด อักขระกุมารนั้นข้าพเจ้าฆ่าเสียแล้ว
นอนอยู่ที่หาดทรายเปรอะเปื้อนด้วยโลหิต.
[๕๐๓] ข้าแต่ทุกูลบัณฑิต ท่านพูดกับใครซึ่ง
บอกว่า ข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้ว ใจของดิฉันย่อม
หวั่นไหวเพราะได้ยินว่า สามกุมารถูกฆ่าเสียแล้ว
กิ่งอ่อนแห่งต้นโพธิ์ใบอันลมพัดให้หวั่นไหว ฉันใด
ใจของดิฉันย่อมหวั่นไหวเพราะได้ยินว่า สามกุมารถูก
ฆ่าเสียแล้ว ฉันนั้น.
[๕๐๔] ดูก่อนนางปาริกา ท่านผู้นี้คือพระเจ้า
กาสี พระองค์ทรงยิงสามกุมารด้วยลูกศร ที่มิคสัมม-
ตานที ด้วยความโกรธ เราทั้งสองอย่าปรารถนาบาป
ต่อพระองค์เลย.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 30/170/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
๑๓. ขีลสูตร
เสาเขื่อน ๓
[๓๒๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้ ๓อาทิผิด
อย่างเป็นไฉน ได้แก่เสาเขื่อนคือราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้แล.
[๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละเสาเขื่อน ๓
อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
จบขีลสูตรที่ ๑๓
๑๔. มลสูตร
มลทิน ๓
[๓๒๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้ ๓
อย่างเป็นไฉน ได้แก่มลทินอาทิผิด สระ คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้แล. .
[๓๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละมลทิน ๓ อย่าง
นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
จบมลสูตรที่ ๑๔
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 61/177/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลายํ พาลสฺส ความว่า พระราชานี้
เป็นพาลด้วยพระองค์เอง ทรงฟังถ้อยคำของชฎิลโกงผู้เป็นพาลโง่เขลาแล้ว
ตรัสสั่งให้ฆ่าข้าพเจ้าโดยหาเหตุมิได้.
ก็แลพระโพธิสัตว์เจ้า ตรัสดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระราชบิดาให้ทรง
อนุญาตให้พระองค์ทรงบรรพชาแล้ว ตรัสพระคาถานอกนี้ความว่า
เมื่อรากยังเจริญงอกงามแผ่ไพศาลอยู่ ไม้ไผ่ที่
แตกเป็นกอใหญ่แล้ว ก็แสนยากที่จะถอนให้หมดสิ้น
ไปได้ ข้าแต่พระราชบิดาผู้เป็นจอมประชาอาทิผิด อักขระราษฎร์
เกล้ากระหม่อมฉันขอถวายบังคมพระยุคลบาทอาทิผิด อักขระ ขอ
พระราชทานพระบรมราชานุญาต กระหม่อมฉันจักขอ
ออกบวช พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสเต ความว่า (ไม้ไผ่) แตกเป็นกอ
ลำใหญ่. บทว่า ทุนฺนิกฺขโย ความว่า ยากที่จะถอนให้หมดสิ้น.
ต่อแต่นี้ไป เป็นคาถาประพันธ์ โต้ตอบระหว่างพระราชากับพระราช-
โอรส.
(พระราชาตรัสว่า) โสมนัสสกุมารเอ๋ย เจ้าจง
เสวยสมบัติอันไพบูลย์เถิด อนึ่ง บิดาจะมอบอิสริยยศ
ทั้งหมดให้แก่เจ้า เจ้าจงเป็นพระราชาของชาวกุรุรัฐ
เสียในวันนี้ทีเดียวเถิด อย่าบวชเลย เพราะการบวช
เป็นทุกข์.
(พระโพธิสัตว์ทูลว่า) ขอเดชะ บรรดาโภค-
สมบัติของพระองค์ ซึ่งมีอยู่ในราชธานีนี้ สิ่งไรเล่าที่
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 55/161/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เป็นต้น ชุกชุม ชื่อว่ากันดารเพราะสัตว์ร้ายอาศัยอยู่. สถานที่ที่ไม่มีน้ำอาบหรือ
น้ำกิน ชื่อว่ากันดารเพราะขาดน้ำ. ทางที่อมนุษย์สิงอยู่ ชื่อว่ากันดารเพราะมี
อมนุษย์สิงอยู่. สถานที่ซึ่งเว้นจากของควรเคี้ยวอันเกิดแต่หัว เป็นต้น ชื่อว่า
กันดารเพราะอาหารน้อย ในกันดาร ๕ อย่างนี้ กันดารนั้นหมายเอากันดาร
เพราะการขาดน้ำและกันดารเพราะมีอมนุษย์สิงอยู่. เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้า
เกวียนผู้เขลานั้นจึงตั้งตุ่มใหญ่ ๆ ไว้บนเกวียนทั้งหลาย บรรจุเติมด้วยน้ำ
เดินทางกันดาร ๖๐ โยชน์.
ครั้นในเวลาที่บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น ถึงท่ามกลางทางกันดาร ยักษ์
ผู้สิงอยู่ในทางกันดารคิดว่า เราจักให้พวกมนุษย์เหล่านี้ ทิ้งน้ำที่บรรทุกมาเสีย
ทำให้กะปลกกะเปลี้ยแล้วกินมันทั้งหมด จึงนิรมิตยานน้อย น่ารื่นรมย์ เทียมด้วย
โคพลิพัทหนุ่มขาวปลอด ห้อมล้อมด้วยอมนุษย์ ๑๒ คน ชุ่มด้วยน้ำและโคลน
ถืออาวุธพร้อมทั้งโล่เป็นต้น ประดับดอกอุบลและโกมุท มีผมเปียกและผ้า
เปียกนั่งมาบนยานน้อยนั้น ประหนึ่งคนเป็นใหญ่มีล้อยานเปื้อนเปือกตม เดิน
สวนทางมา.
ฝ่ายพวกอมนุษย์ผู้เป็นบริวารของยักษ์นั้น เดินไปมาข้างหน้าและข้าง
หลัง มีผมเปียกและผ้าเปียก ประดับดอกอุบลและดอกโกมุท ถือกำดอกปทุม
และดอกบุณฑริก เคี้ยวกินเหง้าบัว มีหยาดน้ำและโคลนหยด ได้พากันเดินไป.
ก็ธรรมดาว่าพ่อค้าเกวียนทั้งหลาย ในกาลใด ลมพัดมาข้างหน้า ในกาลนั้น
จะนั่งบนยานน้อยห้อมล้อมด้วยคนอุปัฏฐาก หลีกเลี่ยงฝุ่นในหนทางไปข้างหน้า
ในกาลใด ลมพัดมาข้างหลัง ในกาลนั้น ก็หลีกไปทางข้างหลังโดยนัยนั้นนั่นแล.
ก็ในกาลนั้น ได้มีลมพัดมาข้างหน้า เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น
จึงได้ไปข้างหน้า. ยักษ์นั้นเห็นบุตรพ่อค้าเกวียนนั้น กำลังมาอยู่ จึงให้ยานน้อย
ของตนหลีกลงจากทางได้ทำการปฏิสันถารกับบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นว่า ท่าน
ทั้งหลายจะไปไหน. ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียนก็ยังยานน้อยของตนหลีกลงจากทาง
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 55/166/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
พระศาสดาครั้นตรัสธรรมกถานี้แล้วตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ในกาล
ก่อน คนผู้มีปกติยึดถือโดยการคาดคะเน ถึงความพินาศใหญ่หลวงด้วย
ประการอย่างนี้ ส่วนคนผู้มีปรกติยึดถือตามอาทิผิด อักขระความจริง พ้นจากเงื้อมมือของ
พวกอมนุษย์ ไปถึงที่ที่ปรารถนา ๆ โดยสวัสดี แล้วกลับมาเฉพาะยังที่อยู่ของ
ตนแม้อีก เมื่อจะทรงสืบต่อเรื่องแม้ทั้งสองเรื่อง ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเองใน
อปัณณกธรรมเทศนานี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
คนพวกหนึ่งกล่าวฐานะไม่ผิด นักเดาทั้งหลาย
กล่าวฐานะนั้น ว่าเป็นที่สอง คนมีปัญญารู้ฐานะและ
มิใช่ฐานะนั้นแล้วควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปณฺณกํ ได้แก่ เป็นไปอย่างแน่นอน
คือ ไม่ผิด เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. บทว่า ฐานํ ได้แก่ เหตุ. จริงอยู่
ในเหตุ เพราะเหตุที่ผลชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ เพราะมีความเป็นไปต่อเนื่องกับเหตุนั้น
ฉะนั้น ท่านจึงเรียกเหตุนั้นว่าฐานะ และพึงทราบประโยคของบทว่า านํ
นั้นในประโยคมีอาทิว่า ฐานญฺจ ฐานโต อฐานญฺจ อฐานโต ฐานะโดย
ฐานะ และมิใช่ฐานะ.โดยมิใช่ฐานะ. ดังนั้น แม้ด้วยบททั้งสองว่า อปณฺณ-
กฏฺฐานํ ท่านแสดงว่า เหตุใดนำมาซึ่งความสุขโดยส่วนเดียว เหตุนั้น
บัณฑิตทั้งหลายปฏิบัติแล้ว เหตุอันเป็นไปอย่างแน่นอน เหตุอันงาม ชื่อว่า
อปัณณกะไม่ผิด นี้เป็นเหตุอันไม่ผิด เป็นเหตุเครื่องนำออกจากทุกข์ ความ
ย่อในที่นี้ เพียงเท่านี้. แต่เมื่อว่าโดยประเภท สรณคมน์ ๓ ศีล ๕ ศีล ๘
ศีล ๑๐ ปาฏิโมกขสังวร อินทรีย์สังวร อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยปฏิเสวนะ
การเสพปัจจัย จตุปาริสุทธิศีลแม้ทั้งหมด ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย ความรู้ประมาณในโภชนะ ชาคริยานุโยค ฌาน วิปัสสนา อภิญญา
สมาบัติ อริยมรรค อริยผล แม้ทั้งหมดนี้ เป็นฐานะอันไม่ผิด อธิบายว่า
ข้อปฏิบัติไม่ผิด ข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 24/256/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
บทเหล่านั้น บทว่า อารามโรปา แปลว่า ปลูกสวนดอกไม้และสวนผลไม้.
บทว่า วนโรปา อธิบายว่า ทำการล้อมเขตแดนในป่าธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง
แล้ว ทำเจดีย์ ปลูกต้นโพธิ์ ทำที่จงกรม ทำมณฑป กุฏิ ที่หลีกเร้น และที่พัก
ในเวลากลางวันและกลางคืน. เมื่อบุคคลปลูกต้นไม้อาศัยร่มเงาให้อาศัยอยู่ ก็
ชื่อว่า การปลูกอาทิผิด สระหมู่ไม้. บทว่า เสตุการกา ได้แก่ชนทั้งหลายสร้างสะพาน
ในที่อันไม่เสมอกันหรือ ย่อมมอบเรือให้ไป. บทว่า ปปํ ได้แก่ โรงที่ให้
น้ำดื่ม. บทว่า อุทปานํ ได้แก่ ที่ใดที่หนึ่งมีสระโบกขรณีและบ่อที่มีน้ำเป็น
ต้น. บทว่า อปสฺสยํ ได้แก่ บ้านที่พักอาศัย พระบาลีว่า อุปาสยํ ก็มี
แปลว่า ให้เข้าไปอาศัย. บทว่า สทา ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ อธิบายว่า เมื่อ
ไม่ตรึกถึงอกุศลวิตก หรือเมื่อไม่หลับ บุญย่อมเจริญ. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า บุญย่อมเจริญทุกเมื่อ ดังนี้ ทรงหมายเอาเนื้อความนี้ว่า ก็ในกาลใด
ย่อมระลึกถึง ในกาลนั้น บุญย่อมเจริญ ดังนี้. บทว่า ธมฺมฏฺฐา สีลสมฺปนฺนา
อธิบายว่า ชื่อว่า ตั้งอยู่แล้วในธรรม เพราะความที่บุคคลนั้นดำรงอยู่ในธรรม
ชื่อว่า สมบูรณ์แล้วด้วยศีล เพราะความที่บุคคลนั้นถึงพร้อมแล้วด้วยศีลแม้นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลทั้งหลายทำบุญทั้งหลายเห็นปานนี้ ชื่อว่า ย่อมบำเพ็ญ
กุศลธรรมสิบ คือว่าบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ตั้งอยู่แล้วในธรรม เพราะความที่
บุคคลเหล่านั้น ตั้งอยู่ในกุศลธรรมสิบเหล่านั้น และชื่อว่า สมบูรณ์แล้วด้วยศีล
เพราะความที่บุคคลเหล่านั้นถึงพร้อมแล้วด้วยศีลนั้นนั่นแหละ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาวนโรปสูตรที่ ๗
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 41/201/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คุ้ยฝุ่นออกแล้ว ถือเอาถุงทรัพย์ คุกคามว่า “แกปล้นเรือนแล้ว เทียว
ไปราวกับไถนาอยู่” โบยด้วยท่อนไม้ นำไปแสดงแก่พระราชาแล้ว.
พระราชา ทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้ประหารชีวิตชาวนา
นั้น. พวกราชบุรุษ มัดชาวนานั้นให้มีแขนไพล่หลัง เฆี่ยนด้วยหวาย
นำไปสู่ตะแลงแกงแล้ว. ชาวนานั้นถูกราชบุรุษเฆี่ยนด้วยหวาย ไม่กล่าว
คำอะไร ๆ อื่น กล่าวอยู่ว่า “เห็นไหม อานนท์ อสรพิษ, เห็น
พระเจ้าข้า อสรพิษร้าย ” เดินไปอยู่. ครั้งนั้น พวกราชบุรุษ ถามเขาว่า
“ แกกล่าวถ้อยคำของพระศาสดาและพระอานนทเถระเท่านั้น, นี่ชื่อ
อะไร ?” เมื่อชาวนาตอบว่า “เราเมื่อได้เฝ้าพระราชาจึงจักบอก,” จึง
นำไปสู่สำนักของพระราชา กราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระราชาแล้ว.
ชาวนาพ้นโทษเพราะอ้างพระศาสดาอาทิผิด เป็นพยาน
ลำดับนั้น พระราชา ตรัสถามชาวนานั้นว่า “เพราะเหตุไร เจ้า
จึงกล่าวดังนั้น ?” แม้ชาวนานั้น กราบทูลว่า “ข้าแต่สมมติเทพ
ข้าพระองค์ไม่ใช่โจร” แล้วก็กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดแด่พระราชา จำเดิม
แต่กาลที่ตนอาทิผิด อักขระออกไปเพื่อต้องการจะไถนา. พระราชา ทรงสดับถ้อยคำของ
ชาวนานั้นแล้ว ตรัสว่า “ พนาย ชาวนานี้อ้างเอาพระศาสดาผู้เป็นบุคคล
เลิศในโลกเป็นพยาน, เราจะยกโทษแก่ชาวนานี่ยังไม่สมควร, เราจักรู้สิ่งที่
ควรกระทำในเรื่องนี้” ดังนี้แล้ว ทรงพาชาวนานั้นไปยังสำนักของพระ-
ศาสดาในเวลาเย็น ทูลถามพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระ-
องค์ได้เสด็จไปสู่ที่ไถนาของชาวนานั้น กับพระอานนท์เถระแลหรือ ?”
พระศาสดา. ขอถวายพระพร มหาบพิตร.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 72/161/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เราได้เสวยผลของดอกกระดึงทองเหล่า
นั้น ดอกกระดึงทอง ๒๒,๐๐๐ ดอกแวดล้อมเรา
ทุกภพ
เพราะเราเป็นผู้บำเรอพระสถูปฝุ่นละออง
ย่อมไม่ติดที่ตัวเรา เหงื่อไม่ไหล เรามีรัศมีซ่าน
ออกจากตัว
โอ พระสถูปเราได้สร้างไว้ดีแล้ว แม่น้ำ
อมริกา เราได้เห็นหมดแล้ว เราได้บรรลุบทอันไม่
หวั่นไหว
ก็เพราะได้ก่อพระสถูปทราย อันสัตว์ผู้
ปรารถนาจะกระทำกุศลควรเป็นผู้ยึดเอาสิ่งที่เป็น
สาระ ไม่ใช่เป็นด้วยเขตหรือไม่ใช่เขต ความ
ปฏิบัตินั่นเองเป็นสาระ
บุรุษผู้มีกำลัง มีความอุตสาหะที่จะข้าม
ทะเลหลวง พึงถือเอาท่อนไม้เล็กอาทิผิด อักขระ วิ่งไปสู่ทะเล
หลวง ด้วยคิดว่า
เราอาศัยไม้นี้จักข้ามทะเลหลวงไปได้
นรชนพึงข้ามทะเลหลวงไปด้วยความเพียรอุตสาหะ
แม้ฉันใด
เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยกรรมเล็ก ๆ
น้อย ๆ ที่ได้ทำไว้แล้ว จึงข้ามพ้นสงสารไปได้
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 64/195/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
องค์นี้ผู้มีพระทัยดี ซึ่งจะกราบทูลทัดทานพระราชาว่า
อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าพระราชโอรสอันเกิดแต่พระอุระเลย
ย่อมไม่มีเลย พระญาติและมิตรของพระราชาองค์นี้ผู้มี
พระทัยดี ซึ่งจะกราบทูลทัดทานพระราชาว่าอย่าได้รับ
สั่งให้ฆ่าพระราชโอรส อันเกิดแต่พระอุระพระองค์นี้
เลยย่อมไม่มีเป็นแน่ทีเดียว บุตรของข้าพระบาทเหล่านี้
ประดับพวงดอกไม้สวมกำไลทองต้นแขน ขอพระราชา
จงเอาบุตรของข้าพระบาทเหล่านั้นบูชายัญ แต่ขอพระ
ราชทานปล่อยโคตมีบุตรเถิด ข้าแต่พระมหาราชา ขอจง
ทรงตัดแบ่งข้าพระบาทให้เป็นร้อยส่วนแล้วทรงบูชายัญ
ในสถานที่ ๗ แห่ง อย่าทรงฆ่าพระราชโอรสองค์ใหญ่
ผู้ไม่ผิดไม่ประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์เลย ข้าแต่
พระมหาราชา ขอจงตัดแบ่งข้าพระบาทให้เป็นร้อย
ส่วนแล้วทรงบูชายัญในสถานที่ ๗ แห่ง อย่าได้ทรงฆ่า
พระราชโอรสองค์ใหญ่เป็นที่มุ่งหวังของโลกทั้งปวงเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ ความว่า เมื่อพระเจ้าเอกราชตรัส
อย่างนั้น. ด้วยบทว่า หนฺติ พระนางทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
เหตุไรหรือพระองค์จึงตรัสเช่นนั้น แล้วทุบตีพระองค์ด้วยฝ่าพระหัตถ์. บทว่า
ปิสฺสามิ แปลว่า จักดื่ม. บทว่า อิเม เตปิ ความว่า ทรงจับมือ
เด็กอาทิผิด อักขระที่เหลือแม้เหล่านี้ตั้งต้นแต่วสุลกุมาร ประทับยืนอยู่ใกล้บาทมูลของพระราชา
แล้วได้กล่าวอย่างนั้น. บทว่า คุณิโน ความว่า ประกอบด้วยอาภรณ์คือ
กลุ่มดอกไม้. บทว่า กายุรธาริโน ความว่า ทรงไว้ซึ่งเครื่องประดับคือกำไล
พระปิฎกธรรม