Kho
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 28/461/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว เพราะทราบโดยวาระแห่งชวนจิต
ที่สองว่า กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ชวนจิตสหรคตด้วยสังวรก็จะ
แล่นไปในวาระแห่งชวนจิตที่สาม ก็ข้ออาทิผิด อาณัติกะที่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา พึงข่มกิเลส
ทั้งหลายได้ในวาระแห่งชวนจิตที่สามไม่ใช่เรื่อง น่าอัศจรรย์เลย.
อนึ่งในจักษุทวาร เมื่ออิฏฐารมณ์ ( อารมณ์ที่น่าปรารถนา ) มา
สู่ครอง ภวังคจิตก็จะระลึก ครั้นเมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นเกิดขึ้น ก็จะห้าม
วาระแห่งชวนจิตที่มีกิเลสคละเคล้าเสีย ต่อจากโวฏฐัพพนจิตแล้วให้วาระ
แห่งชวนจิตที่เป็นกุศลเกิดขึ้นแทนทันที. ก็นี้เป็นอานิสงส์ของการที่ภิกษุ
ผู้เจริญวิปัสสนา ดำรงมั่นอยู่ในการพิจารณาภาวนา.
บทว่า อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺยุํ ความว่า ( พระราชาหรือราชอำมาตย์
ก็ดี มิตรหรืออำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิตก็ดี ) พึงนำรตนะ ๗ ประการมา
มอบให้ตามกาล เหมือนที่นำมามอบ ให้แก่พระสุทินเถระ และพระรัฐบาล
กุลบุตร หรือกล่าวปวารณา ด้วยวาจาว่า ท่านปรารถนาทรัพย์ของเรา
จำนวนเท่าใด จงอาทิผิด สระเอาไปเท่านั้น.๑
บทว่า อนุทหนฺติ ความว่า ผ้ากาสาวะทั้งหลาย ชื่อว่าเผาไหม้ให้
เกิดความเร่าร้อน เพราะปกคลุมร่างกาย. อีกอย่างหนึ่ง หมายความว่า
คล้องติดแนบสนิทอยู่ที่ร่างกายซึ่งเกิดเหงื่อไคลไหลย้อย.
๑. ปาฐะว่า ... กาเล สตฺตรตนานิ อภิหริตฺวา ตฺยา วา... แต่ฉบับพม่าเป็น
กาเยน วา สตฺตรตนานิ อภิหริตฺวา วาจาย วา... แปลตามฉบับพม่า.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论