星期六, 五月 30, 2020

Sum Nam

turned_in  เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/386/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สอดประคดเอวไว้ในขนด อุปัชฌายะจะฉันพึงน้อมบิณฑบาตถวาย ถามถึงน้ำ
ฉัน ถวายน้ำ รับบาตรมาถือต่ำ ๆ ผึ่งอาทิผิด อาณัติกะแดดไว้ครู่หนึ่ง อย่าผึ่งทิ้งไว้ อย่าเก็บ
บาตรอาทิผิด อักขระไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรองพาดชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างอาทิผิด อักขระใน เก็บ
อาสนะ เก็บน้ำล้างเท้ากวาดที่รก พระอุปัชฌายะจะสรงน้ำ ถวายน้ำเย็น น้ำ
ร้อน เรือนไฟ บดจุณ แช่ดิน ตามหลังเข้าไปถวายตั่ง รับจีวร ถวายจุณ
ถวายดิน ถ้าอุตสาหะ ทาหน้า ปิดข้างหน้าข้างหลัง ไม่นั่งเบียดพระเถระ ไม่
เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ทำบริกรรม ออกจากเรือนไฟ ปิดข้างหน้าข้างหลัง
ทำบริกรรมในน้ำ อาบน้ำแล้วพึงขึ้นก่อน นุ่งผ้า เช็ดตัว อุปัชฌายะถวายผ้า
นุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งเรือนไฟ ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งอาทิผิด รองเท้า กระ-
เบื้องเช็ดเท้าไว้ ถามถึงน้ำฉัน เรียนบาลีอรรถกถา ถ้าอุตสาหะ พึงปัดกวาด
วิหารที่รก ก่อนปัดกวาดพึงขนบาตรจีวร ผ้าปูนั่ง ปูนอน ฟูก หมอน เตียง
ตั่งเขียงรองเท้าเตียง กระโถน พนักอิง เครื่องลาดพื้นออกไป พึงกวาดหยาก
ไย่แต่เพดานลงมา เช็ดกรอบประตูหน้าต่าง ฝาทาน้ำมัน พื้นทาสีดำ พื้นไม่
ได้ทำ พึงเก็บเครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้า
ปูนั่ง ปูนอน กระโถน พนักอิง เก็บบาตรจีวร ลมทิศตะวันออก ทิศตะวัน
ตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฤดูหนาว ฤดูร้อน กลางวัน กลางคืน บริเวณ ซุ้มอาทิผิด อาณัติกะ
น้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีตักน้ำฉัน น้ำใช้ น้ำชำระ พระอุปัชฌายะกระสัน
รำคาญ เห็นผิด ต้องครุกาบัติ ควรมูลายปฏิกัสสนา มานัตอาทิผิด อักขระ อัพภาน ถ้าถูก
ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิอาทิผิด อักขระสารณียกรรม และ
อุกเขปนียกรรม จีวรของพระอุปัชฌายะควรซัก ทำ ย้อม พึงซัก ทำ ย้อม
ให้พลิกกลับไปกลับมา รับบาตร จีวร และบริขารโกนผม ทำบริกรรม ทำ
ความขวนขวายเป็นปัจฉาสมณะ ให้บิณฑบาต เข้าบ้านอย่าไปป่าช้า อย่าไปสู่
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 五月 28, 2020

Thua

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 17/126/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีสังเขป ๔ มีสนธิ ๓ มีอัทธา ๓ (และ) มี
อาการ ๒๐ แม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงแล้วด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ว่า เพราะทราบอย่างนี้ว่า นันทิ
(ความเพลิดเพลิน. ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทราบต่อไปว่า
เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วย่อมมีชราและมรณะ ด้วยประการ
ดังพรรณนามาฉะนี้.
แก้บท ขยา วิราคา ปฏินิสฺสคฺคาอาทิผิด สระ
บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกระทำการพรรณนาไปตามลำดับบท ในบทนี้ว่า
ตสฺมา ติห ภิกฺขเว ฯเปฯ อภิสมฺพุทฺโธติ วทามิ แล้วสรุปข้อความ
ด้วยบทโยชนา.
บทว่า ตสฺมา ติห มีอธิบายว่า ได้แก่ ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น )
นั่นเอง. (เพราะว่า) ติ อักษร และ ห อักษร เป็นนิบาต. คำว่า
สพฺพโส นั่น เป็นคำกล่าวไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า ตณฺหานํ ได้แก่ตัณหา
ทั้งหมดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า นันทิ. บทว่า ขยา
แปลว่า เพราะความสิ้นไปโดยเด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค. คำว่า วิราคะ.
(สำรอก) เป็นต้น เป็นไวพจน์ของคำว่า ขยะ (ความสิ้นไป).
อธิบายว่า ตัณหาเหล่าใดสิ้นไปอาทิผิด แล้ว ตัณหาเหล่านั้นย่อมเป็นอันสำรอก
แล้วบ้าง ดับแล้วบ้าง สละทิ้งแล้วบ้าง สลัดคืนบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า
ขยา นั้น เป็นคำใช้ทั่วอาทิผิด สระไปแก่กิจของมรรคทั้ง ๔. เพราะเหตุนั้น จึงควร
อธิบายประกอบความว่า เพราะสำรอกได้ด้วยมรรคที่ ๑ (โสดาปัตติมรรค)
มรรคที่ ๒ (สกทาคามิมรรค) เพราะสละทิ้งได้ด้วยมรรคที่ ๓ (อนา-
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 五月 25, 2020

Pharanasi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 57/397/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ห่วงใยท่านเลย แต่พอรู้คุณของท่าน เพราะอาศัยบัณฑิต ครั้งนั้น
จึงได้มอบความเป็นใหญ่ทั้งปวงให้ นางทูลอาราธนาขอให้เล่า
จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลอำมาตย์ ครั้นเจริญ
วัย ได้เป็นผู้สอนอรรถและธรรมของพระเจ้าพรหมทัต. ครั้งนั้น
พระราชาทรงระแวงโอรสของพระองค์ว่าจะกบฏอาทิผิด อักขระต่อพระองค์
จึงทรงเนรเทศออกเสียจากอาณาจักรนั้น. พระโอรสนั้นพาชายา
ของตนออกจากนครไปอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านแคว้นกาสีแห่งหนึ่ง.
ครั้นต่อมาพระโอรสนั้นทราบข่าวว่า พระบิดาสวรรคตแล้ว
คิดว่า เราจักไปครองราชสมบัติอันเป็นสมบัติของตระกูล จึง
กลับมาสู่เมืองพาราณสีอาทิผิด ได้ข้าวห่อในระหว่างทาง โดยผู้ให้สั่งว่า
จงแบ่งให้ภรรยาบ้าง แล้วบริโภคเถิด ไม่ยอมให้ชายานั้น บริโภค
เสียเองทั้งหมด. นางเสียใจว่า บุรุษนี้ใจคอโหดร้ายจริงหนอ.
พระโอรสนั้นครองราชสมบัติในกรุงพาราณสีแล้ว ตั้งนาง
ไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี มิได้ประทานเครื่องสักการะและยกย่อง
อย่างอื่น โดยทรงเห็นว่า เท่านั้นก็พอแล้วสำหรับนาง แม้แต่คำว่า
เจ้าเป็นอยู่อย่างไร ก็มิได้ตรัสถามนางเลย. พระโพธิสัตว์คิดว่า
พระเทวีนี้มีอุปการะมาก มีความจงรักภักดีต่อพระราชา. แต่
พระราชามิได้สนพระทัยถึงพระนางแม้แต่น้อย. เราจักให้พระองค์
ทรงประทานเครื่องสักการะและยกย่องพระนาง จึงเข้าไปเฝ้า
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 五月 14, 2020

Avahayati

turned_in  เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/163/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ
ในคำวินิจฉัยเหล่านั้น พึงทราบอรรถโดยแปลกกันก่อน.
๑. จกฺขตีติ จกฺขุ* ชื่อว่า จักขุ เพราะอรรถว่า ย่อมเห็น
อธิบายว่า ย่อมชอบ คือ ทำรูปให้แจ่มแจ้ง
๒. รูปยตีติ รูปํ ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า ย่อมให้ปรากฏ
อธิบายว่า รูปเมื่อถึงวิการแห่งอาทิผิด อาณัติกะวรรณะ ย่อมแสดงภาวะของตนไปสู่หทัย.
๓. สุณาตีติ โสตํ ชื่อว่า โสต เพราะอรรถว่า ได้ยิน.
๔. สปฺปตีติ สทฺโท ชื่อว่า สัททะ เพราะอรรถว่า ออกไป
คือ เปล่งออกไป.
๕. ฆายตีติ ฆานํ ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า สูดดม.
๖. คนฺธยตีติ คนฺโธ ชื่อว่า คันธะ เพราะอรรถว่า ส่งกลิ่น
คือ ย่อมแสดงที่อยู่ของตนให้ปรากฏ.
๗. ชีวิตํ อวหายอาทิผิด อักขระตีติ ชิวฺหา ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า
นำมาซึ่งชีวิต.
๘. รสนฺติ ตํ สตฺตาติ รโส ชื่อว่า รส เพราะอรรถว่า เป็น
ที่ยินดี คือ เป็นที่ชอบใจของสัตว์ทั้งหลาย.
* จกฺขุวิญฺญาณธิฏญิตํ หุติวา สมวิสมํ จกฺขติ อาจิกฺขนฺตํ วิย โหตีติ จกฺขุ แปลว่า รูปใดเป็น
ที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณ ย่อมเห็นประจักษ์ คือ ย่อมเป็นราวกะอาทิผิด อักขระบอกอารมณ์ที่ดีและไม่ดี
เพราะฉะนั้น รูปนั้นจึงชื่อว่า จักขุ ได้แก่ จักขุปสาท หรือเรียกว่า ตา คำที่เป็นชื่อของตา
มีมากเช่น จกฺขุ อกฺขิ นยนํ เนตฺตํ โลจนํ ทิฏฺฐิ ทสฺสนํ เปกฺขนํ อจฺฉิ ปมฺหํ ปมุขํ ดัง
คาถาประพันธ์ไว้ว่า
จกฺขกฺขิ นยนํ เนตฺตํ โลจนํ ทิฏฺฐิ ทสฺสนํ
เปกฺขนํ อจฺฉิ ปมฺหนฺตุ ปมุขนฺติ ปวุจฺจติ
จากธาตุปฺปทีปิกา
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 五月 13, 2020

Maha Subin

turned_in  เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/547/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นิรยสเต คือนรก ๓,๐๐๐. บทว่า รโชธาตุโย คือที่เกลื่อนกล่นด้วยธุลี.
ท่านกล่าวหมายถึงหลังมือและหลังเท้าเป็นต้น. บทว่า สตฺต สญฺญิคพฺภา
สัญญีครรภ์ ๗ ท่านกล่าวหมายถึง อูฐ โค ลา แพะ สัตว์เลี้ยง มฤค และ
ควาย. บทว่า อสญฺญิคพฺภา ได้แก่ อสัญญีครรภ์ ๗ ท่านกล่าวหมายถึงข้าว
สาลี ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ถั่วเขียว ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้.
บทว่า นิคนฺถคพฺภา นิคันถครรภ์ คือครรภ์เกิดในนิคันถะ. ท่านกล่าว
หมายถึง อ้อย ไม้ไผ่ ต้นอ้อ. บทว่า สตฺต เทวา เทวดา ๗ คือเทวดา
มาก. แต่ท่านกล่าวว่า ๗. แม้มนุษย์ก็ไม่น้อย. ท่านก็กล่าวว่า ๗. บทว่า สตฺต
ปีสาจา ปีศาจ ๗ คือปีศาจมาก ท่านก็กล่าวว่า ๗. บทว่า สรา คือสระใหญ่
ท่านกล่าวหมายถึงสระชื่อว่า กัณณมุณฑกะ รถกาฬะ อโนตัตตะ สีหัปปปาตะ
ฉัททันตะ มุจจลินทะ กุณาลทหะ. บทว่า ปวุฏา ได้แก่ เจ้าตำรา. บทว่า
สตฺตปปาตา ได้แก่เหวใหญ่ ๗. บทว่า สตฺตปปาตสตานิ ได้แก่เหวน้อย
๗๐๐. บทว่า สตฺต สุปินา ได้แก่ มหาอาทิผิด อักขระสุบิน ๗. บทว่า สตฺต สุปินสตานิ
ได้แก่สุบินน้อย ๗๐๐. บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่มหากัป. ในบทนี้ท่าน
กล่าวว่า ทุก ๆ ๑๐๐ ปี เอาปลายหญ้าคา จุ่มน้ำ นำออกไปครั้งละหยาด ๗ ครั้ง
เมื่อกระทำให้น้ำหมดจากสระนั้นแล้วจึงเรียกว่า ๑ มหากัป. คนพาลและบัณฑิต
ยังมหากัป ๘,๔๐๐,๐๐๐ เห็นปานนั้นให้สิ้นไป จึงจะทำที่สุดทุกข์ได้ นี้เป็นลัทธิ
ของเขา. นัยว่า แม้บัณฑิตก็ไม่สามารถทำให้บริสุทธิ์ได้ในระหว่าง. แม้คนพาล
ก็ไม่ไปสูงกว่านั้นได้. บทว่า สีเลน คือด้วยศีลเช่นนั้น แม้ท่านกล่าวด้วยอเจลก-
ศีลหรือศีลอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง. ท่านกล่าวว่า โนติปิ เม โน โน โนติปิ
เมโน คือความเห็นของเรา ว่าไม่ใช่ ก็มิใช่, ว่ามิใช่ ไม่ใช่ ก็มิใช่. จากนั้น
เมื่อท่านกล่าวว่า ความเห็นของท่านว่าไม่ใช่หรือ ย่อมถึงความฟุ้งซ่านว่า ความ
เห็นของเราว่าไม่ใช่ก็มิใช่. ย่อมไม่ตั้งอยู่ในฝ่ายหนึ่ง.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 五月 12, 2020

Khandhehi

turned_in  เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/416/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ชาโต นาภิชานามิ - ดูก่อนน้องหญิงตั้งแต่เราเกิดในอริยชาติแล้วจะได้
รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตหามิได้. มีอรรถว่า บัญญัติ ในบทมีอาทิ
ว่า ติริยา นาม ติณชาติ นาภิย อุคฺคนฺตฺวา นภํ อาหจฺจ ฐิตา
อโหสิหญ้าคาผุดขึ้นจากนาภีพุ่งขึ้นไปจดท้องฟ้า. มีอรรถว่า สังขต-
ลักษณะ ในบทนี้ว่า ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเธหิอาทิผิด อักขระ สงฺคหิตา - ชาติ
ท่านสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๒. มีอรรถว่า ปสูติ ในบทนี้ว่า สมฺปติ-
ชาโต อานนฺท โพธิสตฺโต- ดูก่อนอานนท์ โพธิสัตว์เกิดทันทีทันใด.
มีอรรถว่า ปฏิสนธิ โดยปริยายในบทนี้ว่า ภวปจฺจยา ชาติ เพราะ
ภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ. และบทว่า ชาติปิ ทุกฺขา- แม้ชาติก็เป็นทุกข์.
แต่โดยนิปริยาย - โดยตรง ได้แก่ ความปรากฏครั้งแรกของขันธ์
ทั้งหลายที่ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในภพนั้น ๆ.
หากถามว่า เพราะเหตุไร ชาตินี้จึงเป็นทุกข์ ตอบว่า เพราะ
ชาติเป็นที่ตั้งของทุกข์ไม่น้อย. ทุกข์ไม่น้อย คือ ทุกขทุกข์ วิปริณาม
ทุกข์ สังขารทุกข์ ปฏิจฉันนทุกข์ อัปปฏิจฉันนทุกข์ ปริยายทุกข์
นิปริยายทุกข์ เพราะทุกข์เหล่านี้ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ ท่านกล่าว
ว่า ทุกขทุกข์ เพราะเป็นทุกข์โดยสภาพของเวทนาและโดยชื่อ.
๑. ม.ม. ๑๓/๕๓๑ ๒. องฺ.อาทิผิด สระ ปญฺจก. ๒๒/๑๙๖. ๓. อภิ.ธา ๓๖/๖๗.
๔. ม.อุ. ๑๔/๓๗๗. ๕. อภิ. วิ. ๓๕/๒๕๕. ๖. ขุ.ป. ๓๑/๘๐.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 五月 11, 2020

Pacchima

turned_in  เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 82/489/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังตายในปัญจโวการภูมิก็ดี บุคคลที่จักขุ
เกิดไม่ได้เหล่านั้นกำลังเกิดก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่ในอรูปภูมิก็ดี จักขายตนะ
ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น แต่มนายตนะจักเกิดแก่
บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น, เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังปรินิพพานในปัญจ-
โวการภูมิก็ดี ปัจฉิมภวิกบุคคลในอรูปภูมิก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่ในอสัญญ-
สัตตภูมิก็ดี จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิด และมนายตนะไม่ใช่จักเกิดแก่
บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
ก็หรือว่า มนายตนะไม่ใช่จักเกิดแก่บุคคลใดในภูมิใด, จักขา-
ยตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
เมื่อปัจฉิมภวิกบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ มนา-
ยตะไม่ใช่จักเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น แต่จักขายตนะกำลังเกิด
แก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น, เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังปรินิพพานใน
ปัญจโวการภูมิก็ดี ปัจฉิมอาทิผิด อักขระภวิกบุคคลในอรูปภูมิก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่ใน
อสัญญสัตตภูมิก็ดี มนายตนะไม่ใช่จักเกิด และจักขายตนะก็ไม่ใช่
กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
จบ จักขายตนมูละ มนายตนมูลี
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 五月 10, 2020

Fang

turned_in  เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   9/554/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังอาทิผิด ข้าพเจ้า วัตถุที่ ๒ นี้สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๒ นี้
ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๕๔] ร. คามันตรกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ .
ส. คามันตรกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.
ร. คือ ภิกษุฉันเสร็จห้ามภัตรแล้วคิดว่า จักเข้าละแวกบ้าน ในบัดนี้
ฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. ไม่ควร ขอรับ.
ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.
ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์
ร. ต้องอาบัติอะไร.
ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ
ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังอาทิผิด ข้าพเจ้า วัตถุที่ ๓ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว
แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๓ นี้
ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.
[๖๕๕] ร. อาวาสกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.
ส. อาวาสกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.
ร. คืออาวาสหลายแห่ง มีสีมาเดียวกัน. ทำอุโบสถต่างกัน ควรหรือ
ไม่ ขอรับ.
ส. ไม่ควร ขอรับ.
ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 五月 09, 2020

Kammapatha

turned_in  เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/487/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พ้นออกจากทุกข์ คือยึดถือว่าเป็นกุศลวิมุตติ ตั้งอยู่. บทว่า สมฺมาญาณิโน
คือการพิจารณาโดยชอบ. บทว่า สมฺมาวิมุตฺติโน ความว่า ผู้ประกอบ
ด้วยผลวิมุตติ อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์.
จบอรรถกถาทสังคิกสูตรที่ ๗
จบทสกัมมปถวรรคที่ ๓

[ในที่ทุกแห่งพึงทำอดีตอนาคตปัจจุบัน]

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสมาหิตสูตร ๒. ทุสสีลสูตร
๓. ปัญจสิกขาปทสูตร ๔. สัตตกัมมปถอาทิผิด อักขระสูตร
๕. ทสกัมมปถสูตร ๖. อัฏฐังคิกสูตร
๗. ทสังคิกสูตร
 
จบทสกัมมอาทิผิด สระปถวรรคที่ ๓
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 五月 08, 2020

Chop

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   61/90/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๒๑๒๓] ดูก่อนนายพราน เราให้ทองคำ ๑๐๐
แท่ง กุณฑลแก้วมณีอันมีค่ามาก เตียง ๔ เหลี่ยม
มีสีคล้ายดอกสามหาว และภรรยาผู้ทัดเทียมกันสองคน
กับโค ๑๐๐ ตัวแก่ท่าน เราจักปกครองราชสมบัติโดย
ธรรม ท่านเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก ดูก่อนนายพราน
ท่านจงเลี้ยงดูบุตรและภรรยาด้วยกสิกรรม พาณิชย-
กรรม การให้กู้หนี้และด้วยการประพฤติเลี้ยงชีพ
โดยสัมมาอาชีวะเถิด อย่าได้กระทำบาปอีกเลย.
จบอาทิผิด อักขระโรหนมิคชาดกที่ ๕

อรรถกถาโรหนมิคชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนท์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
เอเต ยูเถ ปฏิยนฺติ ดังนี้.
ก็การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนท์นั้น จักปรากฏชัดเจนในเรื่อง
ทรมานช้างชื่อว่าธนบาล ในจุลลหังสชาดก อสีตินิบาต. เมื่อท่านพระอานนท์
นั้นสละชีวิตเพื่อป้องกันพระศาสดาอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงสนทนากันใน
โรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านพระอานนท์เป็นเสกขบุคคล บรรลุปฏิสัม-
ภิทา ยอมสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่พระทศพล. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัส
ถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 五月 07, 2020

Nahetu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 85/347/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-
ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี
๑ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน
อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตต-
ปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑
วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาทิผิด สระวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคต-
ปัจจัย มี ๑ วาระ.
[๓๖๖] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุอาทิผิด อักขระปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน
สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-
ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ
ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.
นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.
[๓๖๗] เพราะนวิปากปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ...ในอารัมมณ-
ปัจจัย มี ๗ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี
๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน
อุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวน-
ปัจจัย มี ๗ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑๗
วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 五月 05, 2020

Chetawan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 55/362/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ของพระเถระ ก็เมื่อพระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ เธอจงกระทำกรรมชื่อนี้ ก็ได้
เป็นฝ่ายตรงข้ามต่อพระเถระ พระเถระไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั้น พระเถระ
เที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบทนั้น หวนกลับมายังพระเชตวันวิหารอีก ภิกษุ
นั้นก็เป็นเช่นนั้นนั่นแลอีก จำเดิมแต่พระเถระมายังพระเชตวันอาทิผิด อักขระวิหาร พระเถระ
จึงกราบทูลแด่อาทิผิด พระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธิวิหาริกรูปหนึ่งของ
ข้าพระองค์ ในที่แห่งหนึ่งได้เป็นเหมือนทาสที่ไถ่มาด้วยทรัพย์หนึ่งร้อย แต่อาทิผิด อักขระ
ในที่แห่งหนึ่ง เป็นผู้ถือตัวจัด เมื่อข้าพระองค์บอกว่า จงกระทำสิ่งชื่อนี้
กลับทำตรงกันข้าม พระศาสดาตรัสว่า สารีบุตร ภิกษุนี้เป็นผู้มีปกติอย่างนี้
ในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนภิกษุนี้ไปยังที่หนึ่ง เป็นเหมือนทาสที่
ไถ่มาด้วยทรัพย์ตั้งร้อย แต่ไปยังอีกที่หนึ่งกลับเป็นฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรู
อันพระเถระทูลอ้อนวอนแล้วจึงทรงนำอดีตอาทิผิด นิทานมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลกุฎุมพีตระกูลหนึ่ง กุฎุมพีผู้สหายคนอาทิผิด อักขระหนึ่งของ
พระโพธิสัตว์นั้นตนเองเป็นคนแก่ แต่ภรรยาของกุฎุมพีนั้นเป็นหญิงสาว นาง
อาศัยกุฎุมพีนั้นจึงได้บุตรชาย กุฎุมพีนั้นคิดว่า หญิงนี้ เมื่อเราล่วงไปแล้วก็จะ
ได้บุรุษไร ๆ นั่นแหละ (เป็นสามี) เพราะยังสาวอยู่ จะทำทรัพย์ของเรานี้ให้
พินาศ จะไม่ให้แก่บุตรของเรา ถ้ากระไร เราจะฝังทรัพย์นี้ไว้ในแผ่นดิน
เขาจึงพาทาสในเรือนชื่อว่า นายนันทะ ไปป่า ฝังทรัพย์นี้ไว้ในที่แห่งหนึ่ง
แล้วบอกแก่นายนันทะนั้น โอวาทว่า พ่อนันทะ ทรัพย์นี้ เมื่อเราล่วงไป
แล้ว เธอพึงบอกแก่บุตรของเรา อย่าบริจาคทรัพย์ของเรา ดังนี้ แล้วได้
ตายไป บุตรของกุฎุมพีนั้นเป็นผู้เจริญโดยลำดับ. ลำดับนั้น มารดากล่าวกะ
บุตรชายนั้นว่า ดูก่อนพ่อ บิดาของเจ้าพานายนันททาสไปฝังทรัพย์ เจ้าจงให้
นำทรัพย์นั้นมารวบรวมทรัพย์สมบัติไว้ วันหนึ่ง บุตรนั้นกล่าวกะทาสนันทะว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 五月 04, 2020

Thang Lai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 89/423/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
รูปายตนะที่เป็นอนุปาทินนธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม กวฬีการาหารที่เป็นอนุปาทินน-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนธรรม และรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัย
แก่กฏัตตารูปทั้งอาทิผิด อาณัติกะหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
๘. อุปาทินนธรรม และอนุปาทินนธรรมเป็นปัจจัย
แก่อนุปาทินนธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
มี ๔ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ, สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ
และ ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัย
แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
ขันธ์ ๑ ที่เป็นอนุปาทินนธรรม และ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์
๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 五月 03, 2020

Lueam Sai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   38/22/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมอาทิผิด อักขระใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง.
จบวิชชยสูตรที่ ๑๐
จบอานิสังสสูตรที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กิมัตถิยสูตร ๒. เจตนาสูตร ๓. สีลสูตร ๔. อุปนิสาสูตร
๕. อานันทสูตร ๖. สมาธิสูตร ๗. สาริปุตตสูตร ๘. สัทธาสูตร
๙. สันตสูตร ๑๐. วิชชยสูตร.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 五月 02, 2020

Asannasatta

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 82/492/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ฆานายตนมูละ มนายตนมูลี :-
[๔๘๒] ฆานายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใดในภูมิใด, มนา-
ยตนะก็ไม่ใช่จักเกิดแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังตายในกามาวจรภูมิก็ดี บุคคลที่ฆานะ
เกิดไม่ได้เหล่านั้นกำลังเกิดในกามาวจรภูมิก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่ในรูปา-
วจรภูมิก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่ในอรูปาวจรภูมิก็ดี ฆานายตนะไม่ใช่กำลัง
เกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น แต่มนายตนะจักเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น
ในภูมินั้น, เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังปรินิพพานในกามาวจรภูมิก็ดี ปัจ-
ฉิมภวิกบุคคลในรูปาวจรภูมิ ในอรูปาวจรภูมิก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่
ในอสัญญสัตตอาทิผิด อักขระภูมิก็ดี ฆานายตนะไม่ใช่กำลังเกิด และมนายตนะก็
ไม่ใช่จักเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
ก็หรือว่า มนายตนะไม่ใช่จักเกิดแก่บุคคลใดในภูมิใด, ฆานา-
ยตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
เมื่อปัจฉิมภวิกบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดในกามาวจรภูมิ มนา-
ยตนะไม่ใช่จักเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น แต่ฆานายตนะกำลังเกิด
แก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น, เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังปรินิพพานใน
กามาวจรภูมิก็ดี ปัจฉิมภวิกบุคคลในรูปาวจรภูมิ ในอรูปาวจรภูมิก็ดี
บุคคลที่เกิดอยู่ในอสัญญสัตตภูมิก็ดี มนายตนะไม่ใช่จักเกิด และฆานา-
ยตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
จบ ฆานายตนมูละ มนายตนมูลี
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 五月 01, 2020

Katha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   68/27/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในวรรคหนึ่ง ๆ มีวรรคละ ๑๐ กถา รวมเป็น ๓๐ กถา มี
ญาณกถาเป็นต้น มีมาติกากถาเป็นปริโยสาน. ข้าพเจ้าจะพรรณนา
เนื้อความแห่งบทที่ไม่ซ้ำกันตามลำดับแห่งปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้ที่
กำหนดโดยส่วนเดียว ด้วยประการฉะนี้.
ก็ปกรณ์นี้ อันกุลบุตรทั้งผู้สวดทั้งผู้แสดงโดยปาฐะโดยอรรถ
ก็พึงสวดพึงแสดงโดยเคารพเถิด, ถึงแม้จะเรียนก็พึงเรียนพึงทรงจำไว้
โดยเคารพเถิด. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะปกรณ์นี้เป็นปกรณ์มี
อรรถลึกซึ้ง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก เพื่อความดำรงมั่นอยู่ในโลก.
หากจะมีคำถามว่า ในกถาอาทิผิด อักขระ ๓๐ กถาถ้วนนั้น เพราะเหตุไรท่าน
จงกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้น ? ก็ตอบว่า เพราะญาณเป็นเบื้องต้นแห่ง
การปฏิบัติ เพราะเป็นธรรมเครื่องชำระมลทินแห่งการปฏิบัติ.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุเพราะเหตุนั้นแหละ เธอจง
ยังเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายให้บริสุทธิ์ก่อน,
เบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายคืออะไร ? คือศีล
อันบริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง ดังนี้๑.
ก็ญาณกล่าวคือสัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวแล้วด้วยบทว่า อุชุกา ทิฏฺฐิ
แม้เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้น. แม้คำอื่นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้อีกว่า
๑. สํ.มหา. ๑๙/๖๘๗.
 
พระปิฎกธรรม