Maha Subin
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 20/547/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
นิรยสเต คือนรก ๓,๐๐๐. บทว่า รโชธาตุโย คือที่เกลื่อนกล่นด้วยธุลี.
ท่านกล่าวหมายถึงหลังมือและหลังเท้าเป็นต้น. บทว่า สตฺต สญฺญิคพฺภา
สัญญีครรภ์ ๗ ท่านกล่าวหมายถึง อูฐ โค ลา แพะ สัตว์เลี้ยง มฤค และ
ควาย. บทว่า อสญฺญิคพฺภา ได้แก่ อสัญญีครรภ์ ๗ ท่านกล่าวหมายถึงข้าว
สาลี ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ถั่วเขียว ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้.
บทว่า นิคนฺถคพฺภา นิคันถครรภ์ คือครรภ์เกิดในนิคันถะ. ท่านกล่าว
หมายถึง อ้อย ไม้ไผ่ ต้นอ้อ. บทว่า สตฺต เทวา เทวดา ๗ คือเทวดา
มาก. แต่ท่านกล่าวว่า ๗. แม้มนุษย์ก็ไม่น้อย. ท่านก็กล่าวว่า ๗. บทว่า สตฺต
ปีสาจา ปีศาจ ๗ คือปีศาจมาก ท่านก็กล่าวว่า ๗. บทว่า สรา คือสระใหญ่
ท่านกล่าวหมายถึงสระชื่อว่า กัณณมุณฑกะ รถกาฬะ อโนตัตตะ สีหัปปปาตะ
ฉัททันตะ มุจจลินทะ กุณาลทหะ. บทว่า ปวุฏา ได้แก่ เจ้าตำรา. บทว่า
สตฺตปปาตา ได้แก่เหวใหญ่ ๗. บทว่า สตฺตปปาตสตานิ ได้แก่เหวน้อย
๗๐๐. บทว่า สตฺต สุปินา ได้แก่ มหาอาทิผิด อักขระสุบิน ๗. บทว่า สตฺต สุปินสตานิ
ได้แก่สุบินน้อย ๗๐๐. บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่มหากัป. ในบทนี้ท่าน
กล่าวว่า ทุก ๆ ๑๐๐ ปี เอาปลายหญ้าคา จุ่มน้ำ นำออกไปครั้งละหยาด ๗ ครั้ง
เมื่อกระทำให้น้ำหมดจากสระนั้นแล้วจึงเรียกว่า ๑ มหากัป. คนพาลและบัณฑิต
ยังมหากัป ๘,๔๐๐,๐๐๐ เห็นปานนั้นให้สิ้นไป จึงจะทำที่สุดทุกข์ได้ นี้เป็นลัทธิ
ของเขา. นัยว่า แม้บัณฑิตก็ไม่สามารถทำให้บริสุทธิ์ได้ในระหว่าง. แม้คนพาล
ก็ไม่ไปสูงกว่านั้นได้. บทว่า สีเลน คือด้วยศีลเช่นนั้น แม้ท่านกล่าวด้วยอเจลก-
ศีลหรือศีลอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง. ท่านกล่าวว่า โนติปิ เม โน โน โนติปิ
เมโน คือความเห็นของเรา ว่าไม่ใช่ ก็มิใช่, ว่ามิใช่ ไม่ใช่ ก็มิใช่. จากนั้น
เมื่อท่านกล่าวว่า ความเห็นของท่านว่าไม่ใช่หรือ ย่อมถึงความฟุ้งซ่านว่า ความ
เห็นของเราว่าไม่ใช่ก็มิใช่. ย่อมไม่ตั้งอยู่ในฝ่ายหนึ่ง.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论