星期四, 五月 14, 2020

Avahayati

turned_in  เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/163/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ
ในคำวินิจฉัยเหล่านั้น พึงทราบอรรถโดยแปลกกันก่อน.
๑. จกฺขตีติ จกฺขุ* ชื่อว่า จักขุ เพราะอรรถว่า ย่อมเห็น
อธิบายว่า ย่อมชอบ คือ ทำรูปให้แจ่มแจ้ง
๒. รูปยตีติ รูปํ ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า ย่อมให้ปรากฏ
อธิบายว่า รูปเมื่อถึงวิการแห่งอาทิผิด อาณัติกะวรรณะ ย่อมแสดงภาวะของตนไปสู่หทัย.
๓. สุณาตีติ โสตํ ชื่อว่า โสต เพราะอรรถว่า ได้ยิน.
๔. สปฺปตีติ สทฺโท ชื่อว่า สัททะ เพราะอรรถว่า ออกไป
คือ เปล่งออกไป.
๕. ฆายตีติ ฆานํ ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า สูดดม.
๖. คนฺธยตีติ คนฺโธ ชื่อว่า คันธะ เพราะอรรถว่า ส่งกลิ่น
คือ ย่อมแสดงที่อยู่ของตนให้ปรากฏ.
๗. ชีวิตํ อวหายอาทิผิด อักขระตีติ ชิวฺหา ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า
นำมาซึ่งชีวิต.
๘. รสนฺติ ตํ สตฺตาติ รโส ชื่อว่า รส เพราะอรรถว่า เป็น
ที่ยินดี คือ เป็นที่ชอบใจของสัตว์ทั้งหลาย.
* จกฺขุวิญฺญาณธิฏญิตํ หุติวา สมวิสมํ จกฺขติ อาจิกฺขนฺตํ วิย โหตีติ จกฺขุ แปลว่า รูปใดเป็น
ที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณ ย่อมเห็นประจักษ์ คือ ย่อมเป็นราวกะอาทิผิด อักขระบอกอารมณ์ที่ดีและไม่ดี
เพราะฉะนั้น รูปนั้นจึงชื่อว่า จักขุ ได้แก่ จักขุปสาท หรือเรียกว่า ตา คำที่เป็นชื่อของตา
มีมากเช่น จกฺขุ อกฺขิ นยนํ เนตฺตํ โลจนํ ทิฏฺฐิ ทสฺสนํ เปกฺขนํ อจฺฉิ ปมฺหํ ปมุขํ ดัง
คาถาประพันธ์ไว้ว่า
จกฺขกฺขิ นยนํ เนตฺตํ โลจนํ ทิฏฺฐิ ทสฺสนํ
เปกฺขนํ อจฺฉิ ปมฺหนฺตุ ปมุขนฺติ ปวุจฺจติ
จากธาตุปฺปทีปิกา
 
พระปิฎกธรรม