星期六, 十月 31, 2020

Sanghadises

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/119/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เหล่าใดสึกเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุเหล่านั้นพากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย.
ภิกษุเหล่าใดบรรลุพระอรหัต ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีศีล บริสุทธิ์แล.
พระธรรมเทศนาของพระศาสดา เกิดมีผลแม้แก่ภิกษุ ๓ จำพวก
ดังกล่าวนี้.

ถามว่า พระธรรมเทศนาเกิดมีผลแก่ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัต
ยกไว้ก่อน อย่างไรจึงเกิดผลแก่ภิกษุนอกนี้. ? ก็ว่า ก็ภิกษุ
แม้เหล่านั้น ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้ เป็นผู้ประมาท
ไม่พึงอาจละฐานะได้ แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น จะ
พึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิด
ความสังเวช ละฐานะ. ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐
ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ บางพวกเป็นพระโสดาบัน
บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็นอนาคามี บางพวกบังเกิด
ในเทวโลก. พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก
ด้วยอาการอย่างนี้. ฝ่ายภิกษุนอกนี้ ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนา
กัณฑ์นี้ไซร้ เมื่อกาลล่วงไป ๆ ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาทิเสสอาทิผิด อักขระบ้าง
ปาราชิกบ้าง ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่า พระ
พุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญ
ข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้ จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม
จักพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์. ชนเหล่านั้น
ตั้งอยู่ในสรณะ ๓ รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม บางพวก
เป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นสกทาคามี บางพวกเป็นอนาคามี
บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล. พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุ
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十月 30, 2020

Nahetu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 85/393/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุอาทิผิด สระปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย
ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ใน
สมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญ-
ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี
๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ใน
อาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย
มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ
ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี
๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.
วาระซึ่งมี นวิปากปัจจัยเป็นมูล มีข้อแตกต่างกันเพียงเท่านี้ ส่วน
ที่เหลือ เหมือนกันกับวาระซึ่งมี นเหตุปัจจัยเป็นมูล.
[๔๖๘] เพราะนฌานปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน
อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาต-
ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี
๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ
ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย
มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ
ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย
มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.
[๔๖๙] เพราะนฌานปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปัจฉา-
ชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นมัคคปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十月 29, 2020

Santimeseyya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/371/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อันมาก มีความเป็นผู้มีตระกูลสูงเป็นต้นเหล่านั้น ไม่พึงกำหนดตนดำรง
อยู่โดยนัยมีอาทิว่า เราบวชแล้วจากตระกูลสูง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง แม้ด้วยการละมานะอย่างนี้ บัดนี้
เพื่อจะทรงแสดงด้วยการสงบกิเลสทั้งปวง จึงตรัสคาถาว่า อชฺฌตฺตอาทิผิด อักขระเมว
กิเลสภายในนี้แล ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺตเมว อุปสเม ภิกษุพึงสงบกิเลส
ภายในนี้แล คือพึงสงบกิเลสทั้งหมดมีราคะเป็นต้นในตนนั่นแล. บทว่า
น อญฺญโต ภิกขุ สนฺติอาทิผิด สระเมเสยฺย ภิกษุไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น
คือไม่พึงแสวงหาความสงบโดยอุบายอื่น นอกจากสติปัฏฐานเป็นต้น.
บทว่า กุโต นิรตฺตํ วา ความว่า ความไม่มีด้วยตนย่อมไม่มีแต่ที่ไหน ๆ.
บทว่า น เอเสยฺย คือ ไม่พึงแสวงหาด้วยศีลและพรตเป็นต้น. บทว่า
น คเวเสยฺย ไม่พึงค้นหา คือ ไม่พึงมองดู. บทว่า น ปริเยเสยฺย
ไม่พึงเข้าหา คือไม่พึงเห็นบ่อย ๆ.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้คงที่ของ
พระขีณาสพผู้สงบแล้วในภายใน จึงตรัสคาถาว่า มชฺเฌ ยถา เหมือน
คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร ดังนี้เป็นต้น.
บทนั้นมีความดังนี้ คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางประมาณ ๔,๐๐๐
โยชน์ คืออยู่ระหว่างกลางส่วนบนและส่วนล่างของมหาสมุทร หรือใน
ท่ามกลางสมุทรที่ตั้งอยู่ในระหว่างภูเขา สมุทรนั้นสงบไม่หวั่นไหวฉันใด
ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหวฉันนั้น ภิกษุ
เช่นนั้นไม่พึงทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะเป็นต้นในที่ไหน ๆ.
บทว่า อุพฺเพเธน คือ โดยส่วนเบื้องล่าง บทว่า คมฺภีโร คือ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十月 25, 2020

Tai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/437/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า ปาเทหิ อุสฺสกฺกิตฺวา ได้แก่ หนอนไต่อาทิผิด อาณัติกะพระบาทตั้งแต่
ปลายพระนขา. บทว่า นานาวณฺณา ความว่า นกมีสีต่าง ๆ กันอย่างนี้คือ
ตัวหนึ่งสีเขียว ตัวหนึ่งสีเหลือง ตัวหนึ่งสีแดง ตัวหนึ่งสีเหมือนใบไม้แห้ง.
บทว่า เสตา ได้แก่ สีขาว คือ ขาวปลอด.
บทว่า มหโต มิฬฺหปพฺพตสฺส ได้แก่ ภูเขาเต็มไปด้วยคูถ สูง
ประมาณ ๓ โยชน์. บทว่า อุปริ อุปริ จงฺกมติ ได้แก่ เสด็จจงกรม
แต่บนยอด ๆ ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระชนม์ยืน ปรากฏดุจเสด็จเข้าไป
ประทับนั่งบนภูเขา เต็มไปด้วยคูถประมาณ ๓ โยชน์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงบุรพนิมิตโดยฐานเท่านี้อย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงการได้พร้อมด้วยบุรพนิมิตนั้นจึงตรัสคำมีอาทิว่า ยมฺปิ
ภิกฺขเว ดังนี้. ในคำนั้น พระอรหัตมรรคของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า
เป็นสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เพราะให้คุณทุกอย่าง. เพราะฉะนั้น
พระโพธิสัตว์นั้นได้ทรงเห็นแผ่นดินใหญ่แห่งจักรวาลใดเป็นฟูกนอนอันเป็นสิริ
แผ่นดินใหญ่แห่งจักรวาลนั้นเป็นบุรพนิมิตแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า. ได้ทรง
เห็นภูเขาหิมพานต์ใดเป็นหมอน ภูเขาหิมพานต์นั้น เป็นบุรพนิมิต
แห่งพระสัพพัญญุตญาณ ได้ทรงเห็นพระหัตถ์และพระบาททั้ง ๔ ประดิษฐาน
บนยอดจักรวาลอันใด อันนั้นเป็นบุรพนิมิตในการประกาศพระธรรมจักรซึ่งใคร ๆ
ให้เป็นไปไม่ได้ ได้ทรงเห็นพระองค์บรรทมหงายอันใดอันนั้นเป็นบุรพนิมิต
แห่งความที่สัตว์ทั้งหลายผู้คว่ำหน้าอยู่ในภพ ๓ หงายหน้าขึ้น ทรงเป็นดุจ
ลืมพระเนตรเห็นอันใดอันนั้นเป็นบุรพนิมิตแห่งการได้ทิพยจักษุ. แสงสว่าง
ได้ปรากฏเป็นอันเดียวกันตราบเท่าถึงภวัคคพรหมอันใด อันนั้น เป็นบุรพนิมิต
แห่งอนาวรณญาณ (ญาณอันไม่มีเครื่องขัดข้อง). คำที่เหลือพึงทราบโดย
นัยแห่งพระบาลีนั้นแล.
จบอรรถกถาสุปินสูตรที่ ๖
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十月 20, 2020

Kusalatika

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 91/489/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๒๓๐] ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ปฏิจจวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
อัพยากตบท
[๒๓๑] ๑. ธรรมที่ไม่ใช่อัพยากตะ ที่ไม่ใช่ธรรมที่ไม่ใช่เหตุ
อาศัยธรรมที่เป็นอัพยากตะ ที่ไม่ใช่เหตุ เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
มี ๓ วาระ.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๒๓๒] ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ
ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.
นิสสยวาระก็ดี ปัญหาวาระก็ดี พึงให้พิสดาร.
เหตุทุกกุสลติกอาทิผิด สระนเหตุทุกนกุสลติกะ จบ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十月 19, 2020

Yiap Yam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 50/470/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ชนทั้งหลายถูกมานะหลอกลวงแล้ว เศร้าหมอง
อยู่ในสังขารทั้งหลาย ถูกความมีลาภและความเสื่อม
ลาภย่ำยีแล้ว ย่อมไม่ได้บรรลุสมาธิเลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาเนน วญฺจิตาเส ความว่า อันมานะ
ที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ดังนี้ ทำให้วิปัลลาส
ไปโดยการเข้าไปตัดภัณฑะคือกุศล ด้วยสามารถแห่งกิเลส มีการยกตนข่มผู้อื่น
เป็นต้น.
บทว่า สงฺขาเรสุ สงฺกิลิฏฺฐมานาเส ความว่า เศร้าหมองอยู่ใน
อินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น ที่เป็นไปในภายใน และภายนอก และใน
สังขตธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น คือ ถึงความเศร้าหมอง ด้วยสามารถการถือ
เอานิมิตนั้น โดยเป็นตัณหาเป็นต้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ตัวตนของเรา ดังนี้.
บทว่า ลาภาลาเภน มถิตา ความว่า อันลาภคือการได้บริขาร
มีบาตรและจีวรเป็นต้น และพัสดุมีผ้าเป็นต้น และอันความเสื่อมลาภ คือไม่ได้
สิ่งเหล่านั้นนั่นแล ย่ำยีอาทิผิด แล้ว คือเหยียบย่ำอาทิผิด อาณัติกะ ได้แก่ครอบงำแล้ว เพราะเป็นปฏิฆะ
กับความยินดี อันบังเกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถแห่งกิเลสมีตัณหาเป็นต้น. ก็บทว่า
ลาภาลาเภน มถิตา นี้ เป็นเพียงตัวอย่าง และในอธิการนี้ บัณฑิตพึง
สงเคราะห์เอาโลกธรรมแม้ทั้ง ๘ เข้าด้วย.
บทว่า สมาธิํ นาธิคจฺฉนฺติ ความว่า บุคคลเห็นปานนี้เหล่านั้น
ผู้ไม่มีจิตเป็นสมาธิ ด้วยสามารถแห่งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
แม้ในกาลไหน ๆ ก็ย่อมไม่ประสบ คือไม่ได้ ได้แก่ไม่ถึงซึ่งสมาธิ เพราะไม่มี
ธรรมอันเป็นไปเพื่อสมาธิ และเพราะมีแก่อกุศลธรรมนอกนี้ แม้ในคาถานี้
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十月 16, 2020

Pacchimayamam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/369/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กิเลสทั้งหลายเสียได้ด้วยประการใด ครั้นทรงเห็นด้วยประการนั้นแล้ว
ทรงเห็นความเป็นไปอย่างนั้น จึงเสด็จปรินิพพาน ฉะนั้นเมื่อจะทรงทำ
ความนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงทรงชักชวนเทพบริษัทนั้นในการละกิเลสด้วย
ประการทั้งปวง ทรงเริ่มตรัสคาถา ๕ คาถา มีอาทิว่า มูลํ ปปญฺจสงฺขาย
กิเลสเป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า ดังนี้.
ในคาถานั้น พึงทราบความโดยสังเขปแห่งคาถาต้นก่อน. บทว่า
ปปญฺจ ในบทว่า ปปญฺจสงฺขา ส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือตัณหาที่ท่าน
บอกไว้. ปปญฺจา คือ ตัณหานั้นแล ชื่อว่า ปปญฺจสงฺขา ส่วนแห่งธรรม
เครื่องเนิ่นช้า. กิเลสทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น เป็นรากเหง้าแห่งปปัญจ-
ธรรมนั้น. ภิกษุพึงกำจัดกิเลสทั้งปวงอันเป็นไปอยู่ คือกิเลสที่เป็นรากเหง้า
แห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะด้วยปัญญา ก็ตัณหาที่มี
ณ ภายในอย่างใดอย่างหนึ่งพึงเกิดขึ้น ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อ
กำจัดเพื่อละตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ คือพึงเป็นผู้มีสติตั้งมั่นศึกษา.
บทว่า อชฺฌตฺตสมุฏฺฐานา วา มีตัณหาในภายในเป็นสมุฏฐาน
คือตัณหาเกิดขึ้นในจิต. บทว่า ปุเรภตฺตํ ในกาลก่อนภัต คือก่อนอาหาร
กลางวัน. บทว่า ปุเรภตฺตํ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ
แปลว่าสิ้นกาลก่อนภัต. แต่โดยอรรถเป็นสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ในกาล
ก่อนภัต. ในภายหลังภัตเป็นต้นก็มีนัยนี้. บทว่า ปจฺฉาภตฺตํ ในภายหลัง
ภัตอาทิผิด อักขระ คือหลังอาหารกลางวัน. บทว่า ปุริมยามํอาทิผิด อักขระ ในยามต้น คือส่วนแรก
ของราตรี. มชฺฌิมยามํ ในยามกลาง คือส่วนที่สองของราตรี. บทว่า
ปจฺฉิมอาทิผิด อักขระยามํ ในยามหลัง คือส่วนที่สามของราตรี. บทว่า กาเฬ คือ
ในข้างแรม. บทว่า ชุณฺเห คือ ในข้างขึ้น. บทว่า วสฺเส ในฤดูฝน
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十月 14, 2020

Mangalika

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 46/354/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มหาบุรุษกล่าวว่า เจ้าไม่รู้จักอานุภาพของมาตังคะ จึงแสดงปาฏิหาริย์
หลายอย่าง โดยประการที่นางยอมเชื่อถือ สั่งนางอย่างนั้นแล้ว ก็ไปสู่ที่อยู่
ของตน. นางได้ทำอย่างนั้น.
พวกมนุษย์ต่างก็เพ่งโทษ หัวเราะว่า ก็นางทิฏฐมังคลิกานี้ ถึงความ
เป็นคนจัณฑาลแล้ว เพราะบาปกรรมของตน จักทำมาตังคะนั้นให้เป็นมหา-
พรหมอีกอย่างไรกัน. นางมีมานะยิ่งนั่นแล จึงเที่ยวประกาศทั่วนครทุก ๆ วัน
ว่า แต่นี้ไปท้าวมหาพรหมจักมาในวันที่ ๖ ที่ ๕ ที่ ๔ ที่ ๓ ในวันพรุ่งนี้
ในวันนี้. มนุษย์ทั้งหลายฟังข่าวที่นางประกาศแล้ว คิดว่า บางครั้ง พึงมีแม้
อย่างนี้ ให้ทำมณฑปที่ประตูเรือนของตน ๆ จัดแจงสถานผูกม่าน ประดับ
ประดาทาริกาผู้เจริญวัย นั่งมองดูอากาศว่า เมื่อท้าวมหาพรหมมาจักถวาย
กัญญาทาน.
ลำดับนั้น มหาบุรุษเมื่อพระจันทร์โผล่ออกสู่พื้นท้องฟ้าในวันเพ็ญ
ก็แหวกวิมานจันทร์ มาปรากฏเป็นรูปท้าวมหาพรหมแก่มหาชนผู้มองดู มหาชน
เข้าใจว่า พระจันทร์ ๒ ดวงเกิดแล้ว แต่นั้น เห็นท้าวมหาพรหมมาโดยลำดับ
ได้ถึงความตกลงว่า นางทิฏฐมังคลิกาอาทิผิด อักขระพูดจริง นี้เป็นท้าวมหาพรหมเทียว มา
ด้วยเพศของมาตังคะในกาลก่อน เพื่อจะทรมานนางทิฏฐมังคลิกา. มหาบุรุษ
นั้น เมื่อมหาชนมองดูอย่างนั้น จึงลงในที่เป็นที่อยู่ของนางทิฏฐมังคลิกานั่นแล.
ก็ในกาลนั้น นางมีระดู มหาบุรุษนั้นลูบคลำสะดือของนางด้วยนิ้วมือ
ครรภ์ก็ตั้งขึ้นด้วยการลูบคลำนั้น. แต่นั้น จึงกล่าวกะนางว่า ครรภ์ของเจ้า
ตั้งพร้อมแล้ว เมื่อบุตรเกิด เจ้าจงอาศัยบุตรนั้นเลี้ยงชีพ เมื่อมหาชนกำลัง
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十月 13, 2020

Dasama

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/554/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นครเวสาลี ก็สมัยนั้น ทสมออาทิผิด อักขระคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เดินทางไปถึงเมือง
ปาตลีบุตร ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมือง
อัฏฐกะ เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ณ กุกกุฏาราม ครั้นแล้วได้ถามภิกษุนั้น
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน เพราะว่าข้าพเจ้า
เป็นผู้ใคร่เพื่อจะพบท่านพระอานนท์ ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี
ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุคาม ใกล้พระนครเวสาลี.
ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ กระทำกรณียกิจนั้นที่เมือง
ปาตลีบุตรเสร็จแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ณ เวฬุวคาม ใกล้
พระนครเวสาลี ไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอย่าง
เอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้โดยชอบมีอยู่หรือ.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอย่างเอกอันเป็นที่
หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง
หลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น
เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วโดยชอบ มีอยู่.
ท. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้น
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十月 11, 2020

Sena Bodi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/565/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงเลิกองค์ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะ
ใกล้บ้านเถิด. ถามว่า ก็พระราชา ทรงตั้งเสนาบดีในตำแหน่งเสนาบดี
เมื่อเสนาบดีอาทิผิด อักขระนั้นให้พระราชาทรงยินดีด้วยหน้าที่ของตน มีความจงรักภักดี
ต่อพระราชาเป็นต้น ทรงเอาตำแหน่งนั้นไปพระราชทานแก่คนอื่น ชื่อว่า
ทรงกระทำไม่สมควรฉันใด พระศาสดาก็ฉันนั้น เสด็จไปสิ้นทาง ๓ คาวุต
เพื่อไปต้อนรับพระมหากัสสปเถระ ประทับที่โคนต้นพหุปุตตะ ระหว่าง
กรุงราชคฤห์กับนาลันทา ทรงให้โอวาท ๓ ข้อ ทรงเปลี่ยนจีวรของพระ-
องค์กับพระมหากัสสปเถระนั้น ได้ทรงทำพระเถระให้อยู่ในป่าตามธรรม-
ชาติเป็นวัตร และให้ทรงผ้าบังสุกุลตามธรรมชาติเป็นวัตร. เมื่อท่านยัง
พระทัยของพระศาสดาให้ทรงยินดีอยู่ด้วยกัตตุกัมยตาฉันทะ พระศาสดา
พระองค์นั้น ทรงให้เลิกธุดงค์มีองค์ผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรเป็นต้น ทรง
ชักชวนอาทิผิด อักขระในการรับคหบดีจีวรเป็นต้น ชื่อว่าทรงกระทำไม่สมควรมิใช่หรือ.
ตอบว่า ทรงไม่กระทำ. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะ
เป็นอัธยาศัยของตน. แท้จริง พระศาสดาจะทรงให้พระเถระเลิกธุดงค์ก็
หามิได้. เปรียบเหมือนกลองยังไม่ได้ตีเป็นต้น ย่อมไม่ดังฉันใด ทรง
ประสงค์จะให้พระเถระบันลือสีหนาทด้วยทรงดำริว่า คนเห็นปานนี้ยังไม่
ถูกกระทบ ย่อมไม่บันลือสีหนาทฉันนั้น จึงตรัสอย่างนี้ โดยอัธยาศัย
แห่งสีหนาท. แม้พระเถระบันลือสีหนาทโดยนัยเป็นอาทิผิด สระต้นว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้อยู่ป่าตลอดกาลนาน ดังนี้ โดยสมควรแด่พระ
อัธยาศัยของพระศาสดาเท่านั้น.
บทว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารํ ความว่า ชื่อว่าทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม
ย่อมได้แก่ภิกษุผู้อยู่ป่าเท่านั้น หาได้แก่ภิกษุผู้อยู่ในละแวกบ้านไม่. เพราะ
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十月 09, 2020

Prarop

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   8/4/10  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของ
โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ทรงแสดงโทษและคุณแล้วให้ทำตัชชนียกรรม
[๓] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนภิกษุพวกพระปัณฑุกะ
และพระโลหิตกะ โดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคน
เลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่
สันโดษ ความคลุกคลีความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย
ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ
กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภอาทิผิด ความเพียร โดย
อเนกปริยาย แล้วทรงทำธรรมมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่
เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระ
ปัณฑุกะและพระโลหิตกะ.
วิธีทำตัชชนียกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีทำตัชชนียกรรม พึงทำอย่างนี้ คือ
ชั้นต้นพึงโจทภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ครั้นแล้ว พึงให้พวก
เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十月 07, 2020

Awitakka

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 91/467/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๘๗. สวิตักกทุกนสวิตักกทุกะ
ปฏิจจวาระ
อนุโลมนัย
๑.เหตุปัจจัย
[๑๘๓] ๑. ธรรมที่ไม่ใช่สวิตักกธรรม อาศัยสวิตักกธรรม
เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ.
๔. ธรรมที่ไม่ใช่อวิตักกธรรม อาศัยอวิตักกอาทิผิด ธรรม
เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
ฯลฯ

การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๑๘๔] ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
สวิตักกทุกนสวิตักกทุกะ จบ
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十月 06, 2020

Thue

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 79/441/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อวัยวะ. บทว่า “โอสหติ” ได้แก่ ย่อมอดทน. บทว่า “อุลฺลปติ” แปลว่า
ย่อมกล่าว. บทว่า “อุชฺชคฺฆติอาทิผิด อักขระ” ได้แก่ ตบมือแล้วหัวเราะใหญ่. บทว่า
อุปฺผณฺเฑติอาทิผิด อักขระ” ได้แก่ ย่อมกล่าวคำเยาะเย้ย. บทว่า “อภินิสีทติ” ได้อาทิผิด อักขระแก่
ผู้ชนะแล้วนั่งในสำนักหรือในอาศรมเดียวกัน. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยนี้เหมือน
กัน. บทว่า “อชฺโฌตฺถรติ” ได้แก่ ย่อมปูลาด. สองบทว่า “วินิเวเธตฺวา
วินิโมเจตฺวา” ได้แก่ เปลี่ยนแปลง ปลดและเปลื้องมือของเขาจากที่อัน
มาตุคามจับแล้ว. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

[๑๔๕] บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ถืออาทิผิด อักขระบิณฑบาตเป็นวัตร
๕ จำพวก เป็นไฉน ?
๑. ภิกษุเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะเป็นผู้เขลา เป็นผู้งมงาย.
๒. ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากได้เข้าครอบงำ
จึงถือบิณฑบาตเป็นวัตร.
๓. ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะเป็นบ้า คือ มีจิตฟุ้งซ่าน.
๔. ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะคิดว่าองค์แห่งภิกษุ ผู้ถือ
บิณฑบาตเป็นวัตรนี้ เป็นข้อที่พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว.
๕. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัย
ความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะ
อาศัยความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติ
อันงามนี้อย่างเดียว.

๑. บาลีว่าอูสหติ. ๒. วินิเวเฐตฺวา
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十月 04, 2020

Vipphandamanam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 65/351/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สัตว์ผู้ดิ้นรนเพราะทุกข์คือความพินาศแห่งทิฏฐิเป็นที่สุด ง่ายทั้งนั้น เพราะ
มีนัยดังกล่าวแล้ว.
บทว่า สมฺผนฺทมานํ ได้แก่ ดิ้นรนบ่อย ๆ.
บทว่า วิปฺผนฺทมานํอาทิผิด อักขระ ได้แก่ หวั่นไหวด้วยวิธีต่าง ๆ.
บทว่า เวธมานํ ได้แก่ สั่นอยู่.
บทว่า ปเวธอาทิผิด มานํ ได้แก่ สั่นด้วยความเพียร.
บทว่า สมฺปเวธมานํ ได้แก่ สั่นอยู่บ่อย ๆ, อีกอย่างหนึ่ง ท่าน
ขยายบทด้วยอุปสรรค.
บทว่า ตณฺหานุคตํ ได้แก่ เข้าไปตามตัณหา.
บทว่า ตณฺหานุสฏํ ได้แก่ แผ่ไปตามตัณหา.
บทว่า ตณฺหายาปนฺนํ ได้แก่ จมลงในตัณหา.
บทว่า ตณฺหายา ปาติตํ ได้แก่ อันตัณหาซัดไป. ปาฐะว่า ปริปา-
ติตํ ก็มี.
บทว่า อภิภูตํ ได้แก่ อันตัณหาย่ำยีคือท่วมทับแล้ว.
บทว่า ปริยาทินฺนจิตฺตํ ได้แก่ มีจิตอันตัณหายึดไว้หมดสิ้น.
อีกอย่างหนึ่ง ไปในตัณหาเหมือนไปตามห้วงน้ำ, ไปตามตัณหา
เหมือนตกไปตามปัจจัยแห่งรูปที่มีวิญญาณครอง, ซ่านไปตามตัณหา เหมือน
แหนแผ่ปิดหลังน้ำจมอยู่ในตัณหา. เหมือนจมลงในหลุมอุจจาระ, อัน
ตัณหาให้ตกไป เหมือนตกจากยอดไม้ลงเหว, อันตัณหาครอบงำ เหมือน
ประกอบรูปที่มีวิญญาณครอง๑. มีจิตอันตัณหาครอบงำแล้ว เหมือนมี
วิปัสสนาเกิดขึ้นแก่ผู้กำหนดรูปที่มีวิญญาณครอง๑.

๑. รูปอันตัณหาและทิฏฐิเข้าไปยึดไว้โดยความเป็นผลและเป็นอารมณ์ของอุปาทานได้.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十月 03, 2020

Phram

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 61/518/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แม่โคเปรียว ดุร้าย เมื่อก่อนพวกเรามิได้รีดนม
มัน มาวันนี้ เราถูกพวกราชบุรุษ ผู้ต้องการน้ำนม
รีดนาทาเร้นอาทิผิด อักขระ จึงต้องรีดนมมันอยู่เดี๋ยวนี้.
[๒๔๓๒] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงพลัด
พรากจากราชโอรส วิ่งคร่ำครวญ เหมือนแม่โคกำพร้า
พลัดพรากจากลูก วิ่งคร่ำครวญอยู่ ฉะนั้น.
[๒๔๓๓] ในการที่แม่โคนม ของคนเลี้ยงโค
เที่ยววิ่งไปมา หรือร่ำร้องอยู่นี้ เป็นความผิดอะไร
ของพระเจ้าพรหมทัตเล่า.
[๒๔๓๔] ดูก่อนมหาพราหมณ์อาทิผิด อักขระ ความผิดของ
พระเจ้าพรหมทัตมีแน่ เพราะชาวชนบท พระเจ้า
พรหมทัต มิได้พิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ ด้วย
ภาษีอันไม่ชอบธรรม.
กลางคืนก็ถูกโจรปล้น กลางวันก็ถูกเจ้าหน้าที่
กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระรา-
ชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย ลูกโคของพวกเรายัง
ดื่มนมอยู่ ก็ต้องถูกฆ่าตาย เพราะต้องการฝักดาบ
อย่างไรล่ะ.
[๒๔๓๕] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชอาทิผิด อักขระ พร้อมด้วย
พระราชโอรส จงถูกประหารในสนามรบ ให้ฝูงการุม
จิกกิน เหมือนเราผู้เกิดในป่า ถูกฝูงกาชาวบ้านจิก
ในวันนี้ ฉะนั้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十月 01, 2020

Kusinara

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 44/414/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแล้วครอบงำถีนมิทธะ พึง
ละทุคติทั้งหมดได้.
จบอุทธตสูตรที่ ๒

อรรถกถาอุทธตสูตร

อุทธตอาทิผิด สูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุสินารายํ ได้แก่ ใกล้นครของเจ้ามัลละ ชื่อว่ากุสินาราอาทิผิด อักขระ.
บทว่า อุปวตฺตเน มลฺลานํ สาลวเน ความว่า อุทยานแห่งกุสินารานคร
มีอยู่ในทักษิณทิศและปัจฉิมทิศ เหมือนถูปารามแห่งอนุราธบุรี. ทางจาก
ถูปารามเข้าไปยังนคร โดยประตูด้านทักษิณทิศ ตรงไปด้านปาจีนทิศ
วกกลับทางด้านอุตรทิศ ฉันใด แนวไม้สาละจากอุทยานตรงไปด้าน
ปาจีนทิศวกกลับทางด้านอุตรทิศ ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า
อุปวัตตนะ เป็นที่แวะเวียน (ทางโค้ง). ในสาลวันของเจ้ามัลละอันเป็นที่
แวะเวียนนั้น. บทว่า อรญฺฐกุฏิกายํ ได้แก่ กระท่อมที่สร้างไว้ในที่
อันดาดาษไปด้วยต้นไม้และกอไม้ ไม่ไกลจากแถวต้นสาละซึ่งท่านหมาย
กล่าวไว้ว่า อรญฺญกุฏิกายํ วิหรนฺติ. ก็ภิกษุเหล่านั้นเว้นการพิจารณา มี
ความเพียรย่อหย่อน อยู่ด้วยความประมาท. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
อุทฺธตา ดังนี้เป็นต้น.
ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ชื่อว่า อุทธตะ เพราะมีจิตไม่สงบ เหตุมาก
ไปด้วยอุทธัจจะ. มานะชื่อว่านฬะ เพราะเป็นเหมือนไม้อ้อ โดยเป็นของ
เปล่า. ภิกษุชื่อว่า อุนนฬะ เพราะมีนฬะ กล่าวคือมานะสูง อธิบายว่า
มีมานะสูงเปล่า. ชื่อว่า จปละ เพราะประกอบหรือมากไปด้วยความ
 
พระปิฎกธรรม