Santimeseyya
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 66/371/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อันมาก มีความเป็นผู้มีตระกูลสูงเป็นต้นเหล่านั้น ไม่พึงกำหนดตนดำรง
อยู่โดยนัยมีอาทิว่า เราบวชแล้วจากตระกูลสูง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง แม้ด้วยการละมานะอย่างนี้ บัดนี้
เพื่อจะทรงแสดงด้วยการสงบกิเลสทั้งปวง จึงตรัสคาถาว่า อชฺฌตฺตอาทิผิด อักขระเมว
กิเลสภายในนี้แล ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺตเมว อุปสเม ภิกษุพึงสงบกิเลส
ภายในนี้แล คือพึงสงบกิเลสทั้งหมดมีราคะเป็นต้นในตนนั่นแล. บทว่า
น อญฺญโต ภิกขุ สนฺติอาทิผิด สระเมเสยฺย ภิกษุไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น
คือไม่พึงแสวงหาความสงบโดยอุบายอื่น นอกจากสติปัฏฐานเป็นต้น.
บทว่า กุโต นิรตฺตํ วา ความว่า ความไม่มีด้วยตนย่อมไม่มีแต่ที่ไหน ๆ.
บทว่า น เอเสยฺย คือ ไม่พึงแสวงหาด้วยศีลและพรตเป็นต้น. บทว่า
น คเวเสยฺย ไม่พึงค้นหา คือ ไม่พึงมองดู. บทว่า น ปริเยเสยฺย
ไม่พึงเข้าหา คือไม่พึงเห็นบ่อย ๆ.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้คงที่ของ
พระขีณาสพผู้สงบแล้วในภายใน จึงตรัสคาถาว่า มชฺเฌ ยถา เหมือน
คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร ดังนี้เป็นต้น.
บทนั้นมีความดังนี้ คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางประมาณ ๔,๐๐๐
โยชน์ คืออยู่ระหว่างกลางส่วนบนและส่วนล่างของมหาสมุทร หรือใน
ท่ามกลางสมุทรที่ตั้งอยู่ในระหว่างภูเขา สมุทรนั้นสงบไม่หวั่นไหวฉันใด
ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหวฉันนั้น ภิกษุ
เช่นนั้นไม่พึงทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะเป็นต้นในที่ไหน ๆ.
บทว่า อุพฺเพเธน คือ โดยส่วนเบื้องล่าง บทว่า คมฺภีโร คือ
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论