星期四, 十二月 29, 2022

Wara

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   30/1/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
พระสุตตันตปิฎก

สังยุตตนิกาย มหาวารอาทิผิด สระวรรค

เล่มที่ ๕ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มัคคสังยุต

อวิชชาวรรคที่ ๑

๑. อวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรม
ให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความ
เห็นผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบด้วยอวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิด
พระปิฎกธรรม

星期三, 十二月 28, 2022

Bukkhon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 80/100/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期一, 十二月 26, 2022

Chap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/379/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
กาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร พระราชาจับเขามาประหาร
จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร.
ภิ. มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็นมิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้
เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร พระราชาจับเขามาประหาร
จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจาก
กาเมสุมิจฉาจาร แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้
ละเมิดประเพณีในหญิงหรือบุตรีของผู้อื่น พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งกาเมสุมิจฉาจาร ท่านทั้งหลาย
ได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรมเห็นปานนี้บ้างหรือไม่.
ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว
และจักได้ฟังต่อไป.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน
คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละ
มุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ
หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากมุสาวาท.
ภิ. มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็นมิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้
เป็นผู้ละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากมุสาวาท แต่ว่า
บาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ทำลายประโยชน์ของ
คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีด้วยมุสาวาท พระราชาจับอาทิผิด อักขระเขามาประหาร จองจำ
พระปิฎกธรรม

星期日, 十二月 25, 2022

Khunna Sap Wiset

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/459/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
จงกล่าววาจาอันอ่อนหวาน เป็นวาจาที่น่ายินดี
ปัญจาลรัฐและวิเทหรัฐทั้งสองนั้น จงเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺถวกาโม เต ความว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า พระราชาของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระราชประสงค์จะทรงทำ
สันถวไมตรีกับด้วยพระองค์. บทว่า รตนานิ ความว่า จะประทานรัตนะ
ทั้งหลายตั้งต้นแด่อาทิผิด อักขระพระราชธิดาซึ่งเป็นอิตถีรัตนะแต่พระองค์. บทว่า อาคจฺ-
ฉนฺตุ ความว่า ได้ยินว่า ตั้งแต่นี้ไป ทูตทั้งหลายผู้มีวาจาไพเราะ กล่าวคำ
ที่น่ารัก คุมเครื่องบรรณาการแต่อุตตรปัญจาลนคร มาในมิถิลานครนี้ และ
แต่มิถิลานครนั้น ไปในอุตตรปัญจาลนครครั้งนั้นอาทิผิด . บทว่า เอกา ภวนฺตุ ความว่า
ขอรัฐทั้งสองนั้นจงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทีเดียว ดุจน้ำในคงคาไหลร่วมกับ
น้ำในยมุนาฉะนั้น.
ก็แลครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว เกวัฏได้กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า พระราชาของข้าพระเจ้าใคร่จะส่งมหาอมาตย์อื่นมา ก็ไม่
สามารถจะแจ้งข่าวให้เป็นที่ชอบพระราชหฤทัย เพราะฉะนั้น จึงส่งข้าพระเจ้า
มาโดยพระราชโองการว่า ท่านอาจารย์ ท่านจงยังพระเจ้าวิเทหราชให้ทรง
ทราบดีแล้วพาเสด็จมา ดังนี้ ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ขอพระองค์เสด็จ
ราชดำเนินไป จักได้พระราชธิดามีรูปงามนัก และสันถวไมตรีกับพระราชา
ของข้าพระองค์ทั้งหลายจักดำรงมั่นแด่พระองค์ พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับ
คำของเกวัฏแล้วทรงโสมนัส ข้องอยู่ด้วยอันได้ทรงฟังว่า จักได้พระราชธิดา
รูปงามที่สุด จึงตรัสว่า แน่ะอาจารย์ ได้ยินว่า ความวิวาทในเพราะธรรมยุทธ์
ได้มีแก่ท่านและมโหสถ ท่านจงไปหามโหสถบุตรเรา ท่านทั้งสองเป็นบัณฑิต
จงยังกันและกันให้ขมาโทษ ปรึกษาหารือกันแล้วจงกลับมา เกวัฏได้ฟัง
พระปิฎกธรรม

星期六, 十二月 24, 2022

Uppattha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 82/1204/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ปัจจุปปันนาตีตวาระ อนุโลม
ปุคคลวาระ
กายสังขารมูล
กายสังขารมูละ วจีสังขารมูลี :-
[๑๒๐๓] กายสังขารกำลังเกิดแก่บุคคลใด, วจีสังขารก็เคยดับ
แก่บุคคลนั้น ใช่ไหม ?
ใช่.
ก็หรือว่า วจีสังขารเคยดับแก่บุคคลใด, กายสังขารก็กำลังเกิด
แก่บุคคลนั้น ใช่ไหม ?
ในภังคขณะแห่งจิตของบุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เว้นลมอัสสาสะ
ปัสสาสะเสียแล้ว ในอุปปาทอาทิผิด อักขระขณะแห่งจิตก็ดี บุคคลที่กำลังเข้านิโรธ-
สมาบัติอยู่ก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่ในอสัญญสัตตภูมิก็ดี วจีสังขารเคยดับ
แก่บุคคลเหล่านั้น แต่กายสังขารไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น, ใน
อุปปาทขณะแห่งลมอัสสาสะปัสสาสะ วจีสังขารเคยดับ และกายสังขาร
ก็กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น ฯ ล ฯ
ในอุปปาทวาระ ปัจจุปปันนาตีตปุจฉา อนุโลมก็ดี ปัจจนิก
ก็ดี ท่านจำแนกไว้แล้วโดยประการใด, แม้ในอุปปาทนิโรธวาระ
ปัจจุปปันนาตีตปุจฉา อนุโลมก็ดี ปัจจนิกก็ดี ก็พึงจำแนกโดยประการ
นั้น.
ปัจจุปปันนาตีตวาระ จบ
พระปิฎกธรรม

星期五, 十二月 23, 2022

Phiksuni

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 5/531/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
พระบัญญัติ
๒๒๘. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีอาทิผิด ใด ขอนมสดมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึง
แสดงคืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควร
แสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุณีอาพาธ
ต่อจากสมัยอาทิผิด อักขระนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ เหล่าภิกษุณีผู้พยาบาลไข้
ได้ถามภิกษุณีผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพออดทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพ
เป็นไปได้หรือ.
ภิกษุณีอาพาธตอบว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอนมสดเขา
มาฉันได้ ด้วยเหตุที่ได้ฉันนมสดนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้
พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ
เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันนมสดนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ทรงอนุญาตนมสด
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอนมสดเขามาฉันได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระปิฎกธรรม

星期四, 十二月 22, 2022

Chakkunsi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 84/167/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
สุขินทริยมูล
สุขินทริยมูละ จักขุนทริยมูลี:-
[๔๖๓] ธรรมที่ชื่อว่าสุขะ, ชื่อว่า อินทรีย์ ใช่ไหม ?
ใช่.
ธรรมที่ชื่อว่าอินทรีย์, ชื่อว่า จักขุนทรีย์ ใช่ไหม ?
จักขุนทรีย์ ชื่อว่าอินทรีย์ด้วย ชื่อว่าจักขุนทรีย์อาทิผิด สระด้วย, อินทรีย์
ที่เหลือ ชื่อว่าอินทรีย์ แต่ไม่ชื่อว่าจักขุนทรีย์.
ฯลฯ
สุขินทริยมูละ อัญญาตาวินทริยมูลี:-
ธรรมที่ชื่อว่าสุขะ, ชื่อว่า อินทรีย์ ใช่ไหม ?
ใช่.
ธรรมที่ชื่อว่าอินทรีย์, ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ ใช่ไหม ?
อัญญาตาวินทรีย์ ชื่อว่าอินทรีย์ด้วย ชื่อว่าอัญญาตาวินทรีย์ด้วย,
อินทรีย์ที่เหลือ ชื่อว่าอินทรีย์ แต่ไม่ชื่อว่าอัญญาตาวินทรีย์.
จบ สุขินทริยมูละ จักขุนทริยมูลี
สุขินทริยมูล จบ
พระปิฎกธรรม

星期日, 十二月 18, 2022

Khati

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/454/8  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ครั้นพระองค์ประทับนั่งแล้ว ได้ตรัส
ประทานพระพุทโธวาทแก่ภิกษุพวกที่สนับสนุนผู้ถูกยกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอาทิผิด อาณัติกะ
พวกเธอต้องอาบัติแล้ว อย่าสำคัญอาบัติว่าไม่ต้องทำคืน ด้วยเข้าใจว่า พวก
เราไม่ต้องอาบัติ พวกเราไม่ต้องอาบัติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว มีความ
เห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่า
เป็นอาบัติ ถ้าเธอรู้จักภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่าท่านเหล่านี้ แลเป็นพหูสูต . . . ผู้
ใคร่ต่อสิกขา คงจะไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติอาทิผิด อักขระ ภยาคติ เพราะเหตุ
แห่งเรา หรือเพราะเหตุแห่งภิกษุเหล่าอื่น ถ้าภิกษุเหล่านั้นจักยกเรา เพราะไม่
เห็นอาบัติ พวกเธอจักทำอุโบสถร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องทำอุโบสถแยกจากเรา
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแยกแห่ง
สงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความกำหนดแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่ง
มีข้อนั้น เป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์ ภิกษุผู้เกรงแต่ความแตกกัน พึงยอมแสดงอาบัติ
นั้นเสีย แม้ด้วยความเชื่อผู้อื่น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติแล้ว มี
ความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุเหล่าอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้น
ว่า เป็นอาบัติ ถ้าเธอรู้จักภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านเหล่านั้นแลเป็นพหูสูตอาทิผิด สระ. . .
ผู้ใคร่ต่อสิกขาคงจะไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ เพราะเหตุแห่ง
เรา หรือเพราะเหตุแห่งภิกษุอื่น ถ้าภิกษุเหล่านี้จักยกเรา เพราะไม่เห็นอาบัติ.
จักปวารณาร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องปวารณาแยกจากเรา.
จักทำสังฆกรรมร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องทำสังฆกรรมแยกจากเรา.
จักนั่งเหนืออาสนะร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องนั่งเหนืออาสนะแยกจากเรา.
จักนั่งในสถานที่ดื่มยาคูร่วมกับเราไม่ได้ จักต้องนั่งในสถานที่ดื่มยาคูอาทิผิด อักขระ
แยกจากเรา.
พระปิฎกธรรม

星期六, 十二月 17, 2022

Pariphachika

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 44/192/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่
ทรัพย์ของเรามีอยู่ ตนแหละย่อมไม่มีแก่ตน บุตร
จักมีแต่ที่ไหน ทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน.
จบอรรถกถาอุปาสกสูตรที่ ๕

๖. คัพภินิสูตร

ว่าด้วยเรื่องทุกขเวทนาของหญิงมีครรภ์

[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล นาง
มาณวิกาสาว ภรรยาของปริพาชกคนหนึ่ง มีครรภ์ใกล้เวลาคลอดอาทิผิด อักขระแล้ว
ครั้งนั้นแล นางปริพาชิกาอาทิผิด สระนั้นได้กล่าวกะปริพาชกว่า ท่านพราหมณ์ ท่าน
จงไปนำน้ำมัน ซึ่งจักเป็นอุปการะสำหรับดิฉันผู้คลอดแล้วมาเถิด เมื่อนาง
ปริพาชิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกนั้นได้กล่าวกะนางปริพาชิกาว่า ฉัน
จะนำน้ำมันมาให้นางผู้เจริญแต่ที่ไหนเล่า แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ นาง
ปริพาชิกานั้นก็ได้กล่าวกะปริพาชกนั้นว่า ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปนำ
น้ำมันซึ่งจักเป็นอุปการะสำหรับดิฉันผู้คลอดอาทิผิด อักขระแล้วมาเถิด.
[ ๕๗ ] ก็สมัยนั้นแล ราชบุรุษได้ให้เนยใสบ้าง น้ำมันบ้างใน
พระคลังของพระเจ้าปเสนทิโกศล แก่สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง เพื่อดื่ม
พอความต้องการ ไม่ให้เพื่อนำไป ครั้งนั้นแล ปริพาชกนั้นดำริว่า ก็
ราชบุรุษให้เนยใสบ้าง น้ำมันบ้าง ในพระคลังของพระเจ้าปเสนทิโกศล
พระปิฎกธรรม

星期一, 十二月 12, 2022

Ngot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/615/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ทั่วถึงกัน อันตรายแก่พรหมจรรย์นี้จักเกิดเสียก่อน ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน. . .หนเดียว. . .มี
พรรษาเท่ากัน.

ภิกษุมีอาบัติห้ามปวารณา
[๒๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวได้ปวารณา
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามแก่ภิกษุทั้ง
หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา รูปใดปวารณา
ต้องอาบัติทุกกฏอาทิผิด สระ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัว
ปวารณา รูปนั้นทำโอกาส โจทด้วยอาบัติ.
สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อันสงฆ์ให้ทำโอกาส ก็ไม่ปรารถนาจะทำ
โอกาส ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปวารณาของภิกษุผู้
ไม่ยอมทำโอกาส.

วิธีงดปวารณา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงงดปวารณาอย่างนี้:-
เมื่อถึงวันปวารณา ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี่ มีอาบัติติด
ตัวปวารณา ข้าพเจ้าของดอาทิผิด อักขระปวารณาของเธอเสีย เมื่อเธอยังอยู่พร้อม
หน้า สงฆ์ไม่พึงปวารณา.
เท่านี้ เป็นอันงดปวารณาแล้ว.
พระปิฎกธรรม

星期日, 十二月 11, 2022

Lop

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 75/258/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ไม่ทำการประกอบไว้ด้วยอำนาจแห่งธรรมเหล่านี้ พึงประกอบไว้ด้วยการให้
โอชะ การให้ปานะ และการให้ชีวิตเป็นทาน. จริงอยู่ กุศลจิตนี้ กระทำ
ธรรมารมณ์อันน่ายินดีในโอชะเป็นต้น ให้เป็นอารมณ์ เกิดขึ้นด้วยการกำหนด
๓ อย่าง โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ในธรรมารมณ์นั้น เมื่อใด
บุคคลย่อมถวายเนยใสเนยข้นอาทิผิด สระเป็นต้น โดยคิดว่า เราถวายโอชะเป็นทาน ย่อม
ถวายน้ำปานะ ๘ อย่าง โดยคิดว่า เราถวายน้ำปานะให้เป็นทาน ดังนี้ ย่อมถวาย
สลากภัต ปักขิยภัต สังฆภัตเป็นต้น โดยคิดว่า เราถวายชีวิตเป็นทาน ดังนี้
ย่อมถวายเภสัชแก่ภิกษุผู้ไม่ผาสุกทั้งหลาย ให้หมอมารักษา ให้เผาตาข่าย ให้
รื้อลอบอาทิผิด อักขระ ให้ทำลายกรงนก ให้พ้นจากเรือนจำ ให้ตีกลองห้ามฆ่าสัตว์ กระทำ
เห็นปานนี้แม้อื่น ๆ เพื่อป้องกันชีวิต ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นทานมัย อนึ่ง
ในกาลใด บุคคลคิดว่า การให้โอชะเป็นทาน ให้น้ำปานะเป็นทาน ให้ชีวิต
เป็นทาน เป็นวงศ์ตระกูลวงศ์ของเรา เป็นแบบแผนของตระกูล เป็นประเพณี
ของตระกูล ดังนี้ จึงยังทานมีโอชะเป็นต้น ให้เป็นไปด้วยวัตรเป็นประธาน
ในกาลนั้น กุศลจิตย่อมเป็นสีลมัย. ในกาลใด เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไปใน
ธรรมารมณ์ ในกาลนั้น กุศลจิตย่อมเป็นภาวนามัย. อนึ่ง กุศลจิตที่เป็น
ทานมัยแม้กำลังเป็นไป คือ ในกาลใด บุคคลย่อมถวายโอชะเป็นทาน น้ำปานะ
เป็นทาน ชีวิตเป็นทานด้วยมือของตน ในกาลนั้น ย่อมเป็นกายกรรม ในกาลใด
ใช้ให้บุตรและภรรยาเป็นต้นให้ถวายทาน ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นวจีกรรม
ในกาลใด ไม่ยังส่วนแห่งกายและวาจาให้เคลื่อนไหว ย่อมคิดด้วยใจว่า เราจัก
ถวายวัตถุที่มีอยู่ด้วยอำนาจแห่งการให้โอชะเป็นทาน ให้น้ำปานะเป็นทาน ให้
ชีวิตเป็นทาน ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นมโนกรรม.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十二月 08, 2022

Thaeng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 48/353/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ครองความเป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่
เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น. ทองคำ
ร้อยแท่งอาทิผิด อักขระ ม้าร้อยตัว รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรร้อยคัน
สาวน้อยประดับตุ้มหูแก้วมณีแสนนาง ก็ยังไม่เท่า
เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำอาทิผิด อาณัติกะข้าวครั้งหนึ่ง. ช้างตัว
ประเสริฐตระกูลเหมวตะ มีงาดุจงอนไถ มีสายรัด
ทองคำ มีที่อยู่อาศัยเป็นทอง [ ถ้ำทอง ] ร้อยเชือก
ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง.
ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิ ครองความเป็นใหญ่แห่งทวีป
ทั้ง ๔ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าว
ครั้งหนึ่ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทาสึ โกลสมฺปากํ กญฺชิกํ เตลธูปิตํ
เทพธิดาแสดงว่า ดีฉันเอาน้ำพุทราและมะซางเติมน้ำสี่ส่วน เคี่ยวยาคู
ข้าวต้มเหลือส่วนที่สี่ ปรุงด้วยของเผ็ดร้อนทั้งหลายมีของเผ็ดร้อน ๓ อย่าง
ผักชีมหาหิงคุ์ยี่หร่าและกระเทียมเป็นต้น อบอย่างดีให้ข้าวยาคูนั้นจับกลิ่น
พริกไทย แล้วเกลี่ยลงในบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายเฉพาะ
พระศาสดาด้วยจิตเลื่อมใส. ดีฉันวางไว้ในมือของพระเถระ. เพราะเหตุ
นั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า
ดีฉันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ซื่อตรงได้
ถวายน้ำข้าวที่ผสมด้วยดีปลี กระเทียมและพริกไทย
ดังนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十二月 07, 2022

Patthan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 22/367/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เจริญอานาปานสติแล้วธรรมทั้ง ๔ จะบริบูรณ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว จะให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ได้. สติปัฏฐานอาทิผิด อาณัติกะ ๔ ที่เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว จะให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ได้. โพชฌงค์ ๗ ที่เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว จะให้วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์ได้.

วิธีเจริญอานาปานสติที่มีผลานิสงส์มาก

[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ ที่ภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในอาทิผิด อักขระธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้
ก็ดี อยู่ในเรือนร้างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า.
เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจ
ออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจ
เข้าสั้น. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
ออก ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่
ว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่า เรา
จักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนด
รู้สุข หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า. สำเหนียก
อยู่ ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้
กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十二月 04, 2022

Khon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 60/307/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อีกเรื่องหนึ่ง พวกโจรขโมยแพะชาวกรุงพาราณสี ร่วมกันขโมยแพะ
ได้ตัวหนึ่งในเวลากลางคืน คิดกันว่าจักกินในป่าในเวลากลางวัน แล้วช่วยกัน
มัดปากเพื่อไม่ให้มันร้อง แล้วเอาไปซ่อนไว้ในกอไผ่ รุ่งขึ้นชวนกันไปเพื่อจะ
กินมัน ต่างลืมอาวุธพากันไปแล้ว. พวกนั้นพูดกันว่า จักฆ่าแพะย่างเนื้อกิน
เอาอาวุธมาซิ ไม่เห็นอาวุธในมือแม้สักคนหนึ่ง ต่างก็พูดกันว่า ถึงแม้จะ
ปราศจากอาวุธก็ฆ่ามันได้ แต่ก็ไม่อาจแล่เนื้อได้ ปล่อยมันไปเถิดนะ บุญของมัน
ยังมีอยู่ แล้วก็ปล่อยไป. ครั้งนั้น ช่างสานคนหนึ่งถือเอาไม้ไผ่แล้วคิดว่า
จะกลับมาเอาไม้ไผ่อีก จึงซุกมีดตัดไม้ไผ่ไว้ในกองใบไผ่หลีกไป. แพะดีใจว่า
ข้าพ้นตายแล้ว คะนองเล่นอยู่ที่โคนกอไผ่ ดีดด้วยเท้าหลังทำให้มีดนั้นตกลงมา.
พวกโจรได้ยินเสียงมีด ก็ช่วยกันค้นอาทิผิด อักขระพบมีดนั้นแล้วต่างดีใจ ฆ่าแพะกินเนื้อเสีย
แพะแม้นั้นก็ตายเพราะเรื่องที่ตนกระทำเองด้วยประการฉะนี้ เมื่อจะแสดง
เหตุนี้ จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า
นางแพะที่ถูกโจรทั้งหลายผูกมัดไว้ในพุ่มกอไผ่
คึกคะนองเอาเท้าหลังดีดไปกระทบมีดตกลงมา พวก
โจรก็เอามีดนั้นเองเชือดคอนางแพะฉันใด แม้เรื่องนี้
ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเวกฺขิปนฺติ ความว่า แพะที่ถูกมัดไว้
ที่กอไผ่เล่นคะนองดีดเท้าหลัง.
ก็แลครั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว พระโพธิสัตว์จึงแสดงว่า ธรรมดา ผู้ที่รักษา
ถ้อยคำของตนไว้พูดพอเหมาะ ย่อมพ้นทุกข์ปางตายได้ นำเรื่องกินนรมาเล่า
ดังต่อไปนี้
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十二月 03, 2022

Phannana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 56/381/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ท่านตอบว่าอย่างไร ?
ท่านตอบว่า ไม่มีแม้แต่น้อย เหตุนั้นพวกเราจึงไม่ทำ
สักการะแก่ท่าน อันเตวาสิกผู้ใหญ่กล่าวว่า พวกเธอมิได้รู้
ความหมายแห่งคำของอาจารย์ ท่านอาจารย์ได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ แม้ถึงอันเตวาสิกผู้ใหญ่นั้น จะพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวก
อันเตวาสิกเหล่านั้น ก็ไม่ยอมเชื่อ พระโพธิสัตว์ทราบเหตุนั้น
ดำริว่า พวกอันธพาลไม่เชื่อถ้อยคำอันเตวาสิกผู้ใหญ่ของเรา
เราต้องกระทำเหตุนี้ให้ปรากฏแก่อันเตวาสิกเหล่านั้น แล้วมา
จากพรหมโลก ยืนอยู่ในอากาศ ด้วยอานุภาพอันใหญ่ เบื้องบน
อาศรมบท เมื่อจะพรรณนาอาทิผิด อักขระปัญญานุภาพของอันเตวาสิกผู้ใหญ่
กล่าวคาถานี้ ความว่า :-
“ แม้จะมีผู้มาประชุมกันตั้งพันกว่า พวก
เหล่านั้นก็ไม่มีปัญญา พึงคร่ำครวญไปตั้ง ๑๐๐ ปี
บุรุษผู้มีปัญญารู้แจ้งความหมายของคำที่เรากล่าว
แล้ว ผู้เดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า ” ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโรสหสฺสมฺปิ แปลว่า แม้เกิน
กว่าพัน.
บทว่า สมาคตานํ ความว่า พวกคนเขลาผู้ไม่สามารถ
ทราบความหมายของคำที่เรากล่าวแล้ว มาประชุมกันแล้ว.
ด้วยบทว่า กนฺเทยฺยุ เต วสฺสสตํ อปญฺญา นี้ พระโพธิสัตว์
แสดงว่า พวกเหล่านั้นที่มารวมกันอย่างนี้ ไร้ปัญญา เหมือนพวก
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十二月 02, 2022

Mandalam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 3/214/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อธกฺขกํ คือ เบื้องต่ำตั้งแต่รากขวัญลงมา.
บทว่า อุพฺภชานุมณฺฑลํอาทิผิด อักขระ คือ เบื้องบนตั้งแต่มณฑลเข่าขึ้นไป.
บทว่า อพฺภกฺขกํ คือ บนตั้งแต่รากขวัญขึ้นไป.
บทว่า อโธชานุมณฺฑลํ คือ ต่ำตั้งแต่มณฑลเข่าลงไป.
ก็รากขวัญ (ไหปลาร้า) และมณฑลเข่า สงเคราะห์เข้าในเขตแห่ง
ทุกกฎ เฉพาะในสิกขาบทนี้ เหมือนในกายสังสัคคะของนางภิกษุณี แท้จริง
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงบัญญัติครุกาบัติ ให้มีส่วนเหลือหามิได้แลอาทิผิด
บทว่า กายปฏิพทฺธํ ได้แก่ ผ้าบ้าง ดอกไม้บ้าง เครื่องประดับบ้าง.
[ว่าด้วยอนาปัตติวาร]
บทว่า อตฺถปุเรกฺขารสฺส ความว่า ผู้กล่าวอรรถแห่งบทเป็นต้นว่า
อนิมิตฺตาสิ หรือผู้ทำการสาธยายอรรถกถา.
บทว่า ธมฺมปุเรกฺขารสฺส ความว่า ผู้บอก หรือสาธยายพระบาลี
อยู่. เมื่อภิกษุมุ่งอรรถ มุ่งธรรม กล่าวอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติแก่
ผู้มุ่งอรรถ และมุ่งธรรม.
บทว่า อนุสาสนีปุเรกฺขารสฺส ความว่า เมื่อภิกษุมุ่งสั่งสอนกล่าว
อย่างนั้นว่า ถึงบัดนี้ เธอก็เป็นคนไม่มีนิมิต, เป็นคนสองเพศ เธอพึง
ทำความไม่ประมาทเสีย แต่บัดนี้, เธออย่าเป็นเหมือนอย่างนี้ต่อไปเลย
ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้มุ่งคำสอน. ส่วนภิกษุใด เมื่อบอกบาลีแก่พวก
นางภิกษุณี ละทำนองพูดตามปกติเสีย หัวเราะเยาะพูดย้ำ ๆ อยู่ว่า เธอ
เป็นคนมีเดือย, เป็นคนผ่า, เป็นคนสองเพศ, ภิกษุนั้น เป็นอาบัติแท้.
 
พระปิฎกธรรม