星期日, 十二月 04, 2022

Khon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 60/307/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อีกเรื่องหนึ่ง พวกโจรขโมยแพะชาวกรุงพาราณสี ร่วมกันขโมยแพะ
ได้ตัวหนึ่งในเวลากลางคืน คิดกันว่าจักกินในป่าในเวลากลางวัน แล้วช่วยกัน
มัดปากเพื่อไม่ให้มันร้อง แล้วเอาไปซ่อนไว้ในกอไผ่ รุ่งขึ้นชวนกันไปเพื่อจะ
กินมัน ต่างลืมอาวุธพากันไปแล้ว. พวกนั้นพูดกันว่า จักฆ่าแพะย่างเนื้อกิน
เอาอาวุธมาซิ ไม่เห็นอาวุธในมือแม้สักคนหนึ่ง ต่างก็พูดกันว่า ถึงแม้จะ
ปราศจากอาวุธก็ฆ่ามันได้ แต่ก็ไม่อาจแล่เนื้อได้ ปล่อยมันไปเถิดนะ บุญของมัน
ยังมีอยู่ แล้วก็ปล่อยไป. ครั้งนั้น ช่างสานคนหนึ่งถือเอาไม้ไผ่แล้วคิดว่า
จะกลับมาเอาไม้ไผ่อีก จึงซุกมีดตัดไม้ไผ่ไว้ในกองใบไผ่หลีกไป. แพะดีใจว่า
ข้าพ้นตายแล้ว คะนองเล่นอยู่ที่โคนกอไผ่ ดีดด้วยเท้าหลังทำให้มีดนั้นตกลงมา.
พวกโจรได้ยินเสียงมีด ก็ช่วยกันค้นอาทิผิด อักขระพบมีดนั้นแล้วต่างดีใจ ฆ่าแพะกินเนื้อเสีย
แพะแม้นั้นก็ตายเพราะเรื่องที่ตนกระทำเองด้วยประการฉะนี้ เมื่อจะแสดง
เหตุนี้ จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า
นางแพะที่ถูกโจรทั้งหลายผูกมัดไว้ในพุ่มกอไผ่
คึกคะนองเอาเท้าหลังดีดไปกระทบมีดตกลงมา พวก
โจรก็เอามีดนั้นเองเชือดคอนางแพะฉันใด แม้เรื่องนี้
ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเวกฺขิปนฺติ ความว่า แพะที่ถูกมัดไว้
ที่กอไผ่เล่นคะนองดีดเท้าหลัง.
ก็แลครั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว พระโพธิสัตว์จึงแสดงว่า ธรรมดา ผู้ที่รักษา
ถ้อยคำของตนไว้พูดพอเหมาะ ย่อมพ้นทุกข์ปางตายได้ นำเรื่องกินนรมาเล่า
ดังต่อไปนี้
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: