星期四, 十月 27, 2022

Duai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/339/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ที่ชื่อว่า ความบกพร่องบุคคล พึงทราบดังนี้:-
เมื่อนับภิกษุจัดเป็นหมวด ๆ ละ ๑๐ รูป หมวดหนึ่งไม่ครบ มีภิกษุอยู่
๘ รูปหรือ ๙ รูป พึงให้แก่ภิกษุเหล่านั้น ๘ ส่วน หรือ ๙ ส่วนว่า ท่านทั้ง
หลาย จงนับส่วนเหล่านี้แบ่งแจกกันเกิด. ข้อที่บุคคลไม่เพียงพอนี้ ชื่อความ
บกพร่องบุคคล ด้วยอาทิผิด ประการฉะนี้. ก็เมื่อให้เป็นแผนกแล้ว จีวรนั้นย่อมเป็น
ของที่ให้ภิกษุทั้งหลายพอใจได้, ครั้นให้พอใจได้อย่างนั้นแล้ว พึงทำการจับ
สลาก.
อีกอย่างหนึ่ง ข้อว่า วิกลเก โตเสตฺวา มีความว่า ส่วนจีวรใดบก
พร่อง, พึงเอาบริขารอื่นแถมส่วนจีวรนั้นให้เท่ากันแล้วพึงทำการจับสลาก

ว่าด้วยน้ำย้อม
บทว่า ฉกเณน ได้แก่ โคมัย.
บทว่า ปณฺฑุมตฺติกาย ได้แก่ ดินแดง.
วินิจฉัยในน้ำย้อมเกิดแต่หัวเป็นอาทิ พึงทราบดังนี้;-
เว้นขมิ้นเสีย น้ำย้อมเกิดแต่หัว ควรทุกอย่าง. เว้นฝางกับแกแลเสีย
น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น ควรทุกอย่าง. ต้นไม้มีหนามชนิดหนึ่ง ชื่อแกแล,
น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น แห่งแกแลนั้น เป็นของมีสีคล้ายหรดาล เว้นโลดกับ
มะพูดเสีย น้ำย้อมเกิดแต่เปลือก ควรทุกอย่าง. เว้นใบมะเกลือกับใบครามเสีย
น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ ควรทุกอย่าง. แต่ผ้าที่คฤหัสถ์ใช้แล้ว สมควรย้อมด้วย
ใบมะเกลือครั้งหนึ่ง. เว้นดอกทองกวาวกับดอกคำอาทิผิด อักขระเสีย น้ำย้อมเกิดแต่ดอก
ควรทุกอย่าง. ส่วนในน้ำย้อมเกิดแต่ผล ผลอะไร ๆ จะไม่ควรหามิได้.
น้ำย้อมที่ไม่ได้ต้ม เรียกว่าน้ำเย็น.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十月 24, 2022

Khom Khi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/279/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมาร
ผู้มีบาป อุบาสกผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่ฉลาด . . . ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
บัดนี้ อุบาสกผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ฉลาดอาทิผิด แล้ว. . .
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่อาทิผิด อาณัติกะปรัปวาทที่เกิดขึ้นเรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพาน
ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรายังไม่ฉลาด. . . ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ อุบาสิกา ผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ฉลาด
แล้ว ได้รับแนะนำดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหูสูตอาทิผิด สระ ทรงธรรมปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของ
ตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นเรียบร้อย โดยสหธรรมได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจง
ปรินิพพานอาทิผิด อักขระในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แล
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป พรหมจรรย์นี้ของเรา
จักยังไม่สมบูรณ์ แพร่หลาย กว้างขวาง ชนรู้กันโดยมากเป็นปึกแผ่น ตราบ
เท่าที่พวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว เพียงใด เราจักไม่ปรินิพพาน
เพียงนั้น ก็บัดนี้พรหมจรรย์นี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์แล้ว. . . ขอพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้
เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงปลงอายุสังขาร

เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะมารผู้มี
บาปว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ไม่ช้าพระตถาคตจัก
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十月 23, 2022

Tanha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 81/16/7  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ส. สมุทัยสัจเป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สมุทัยเป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สมุทัยสัจเป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาอาทิผิด อาณัติกะ เป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. มรรคสัจเป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มรรคเป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. มรรคสัจเป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นอสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๙๒] ส. ทุกข์เป็นสังขตะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทุกขสัจเป็นสังขตะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส เป็นสังขตะ หรือ ?
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十月 22, 2022

Yai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 59/686/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บำเพ็ญตบะ ส่วนนางจันทวดี จงอยู่ในแว่น-
แคว้นของพระองค์เถิด.
จบ โลมสกัสสปชาดกที่ ๗

อรรถกถาโลมสกัสสปชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อสฺส อินฺทสโม
ราชา ดังนี้.
ความย่อมีว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
เขาว่าเธอกระสันจริงหรือ ? เมื่อภิกษุรูปนั้น กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ก็ลมที่พัดภูเขาสิเนรุให้หวั่นไหว ทำไมจึงจักไม่
พัดใบไม้เก่า ๆ ให้หวั่นไหวเล่า แม้ผู้ที่เพียบพร้อมไปด้วยยศอาทิผิด สระทั่ว ๆ ไป ยัง
ถึงความเสื่อมยศได้ ชื่อว่ากิเลส ย่อมทำสัตว์ที่บริสุทธิ์ให้เศร้าหมองได้
จะป่วยกล่าวไปไยอาทิผิด สระถึงคนเช่นเธอ ดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา
สาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้าพรหมทัตผู้ครองพระนครพาราณ-
สี ชื่อว่า พรหมทัตตกุมาร และบุตรของปุโรหิต ชื่อว่า กัสสปะ เป็น
สหายกัน เรียนศิลปะทุกอย่างในตระกูลอาจารย์คนเดียวกัน ต่อมา
เมื่อพระราชบิดาสวรรคต พรหมทัตตกุมารได้ครองราชสมบัติ ทีนั้น
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十月 21, 2022

Det Diao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/448/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด. พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุตติยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้นใน
กุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน. ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีล
ที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.
[๗๕๑] ดูก่อนอุตติยะ เมื่อใดแล ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดีและความ
เห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ตั้งมั่นในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน
๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนอุตติยะ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่. . . พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสีย. เมื่อใดเธออาศัยศีล ตั้งมั่นในศีล แล้วจักเจริญสติปัฏฐาน
๔ เหล่านี้อย่างนี้ เมื่อนั่น เธอจักไปสู่ฝั่งแห่งวัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ.
[๗๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า แล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ
ประทักษิณแล้วหลีกไป. ท่านอุตติยะหลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอาทิผิด อาณัติกะ ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์
อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นมิได้มี.
และท่านพระอุตติยะเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบอุตติยสูตรที่ ๖
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十月 20, 2022

Kham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/167/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ชื่อว่า อุพภิทะ นั้น ได้แก่ เกลือที่เป็นหน่อขึ้นจากแผ่นดิน.
ชื่อว่า พิละ นั้น ได้แก่ เกลือที่เขาหุงกับเครื่องปรุงทุกอย่าง เกลือ
นั้นแดง.
บทว่า ฉกนํ ได้แก่ โคมัย.
สองบทว่า กาโย วา ทุคฺคนฺโธ มีความว่า กลิ่นตัวของภิกษุ
บางรูป เหมือนกลิ่นตัวแห่งสัตว์มีม้าเป็นต้น จุรณแห่งไม้ซึกและดอกคำอาทิผิด อักขระเป็น
ต้น หรือจุรณแห่งเครื่องหอมทุก ๆ อย่าง ควรแก่ภิกษุแม้นั้น
บทว่า รชนนิปกฺกํ ได้แก่ กากเครื่องย้อม. ภิกษุจะตำแม้ซึ่งจุรณ
ตามปกติแล้วแช่น้ำอาบ ก็ควร. แม้จุรณตามปกตินั้น ย่อมถึงความนับว่า
กากเครื่องย้อมเหมือนกัน.
อมนุษย์เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสด เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
ไม่ได้เคี้ยวกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดนั้น. อมนุษย์ ครั้นเคี้ยวกินและดื่มแล้ว
ได้ออกไป เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า อาพาธเกิด
แต่อมนุษย์นั้นของเธอย่อมระงับ.
คำว่า อญฺชนํ นี้ เป็นคำกล่าวครอบยาตาทั้งหมด.
บทว่า กาฬญฺชนํ ได้แก่ ชาติแห่งยาตาชนิดหนึ่ง หรือยาตาที่หุงด้วย
เครื่องปรุงทุกอย่าง.
บทว่า รสญฺชนํ ได้แก่ ยาตาที่ทำด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ.
บทว่า โสตญฺชนํ ได้แก่ ยาตาที่เกิดในกระแสน้ำเป็นต้น.
หรดาล กลีบทอง ชื่อเครุกะ.
ชื่อว่า กปัลละ นั้น ได้แก่ เขม่าที่เอามาจากเปลวประทีป.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十月 17, 2022

Phak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 3/520/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิกเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มี -
พระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระ-
เมตติยะและพระภุมมชกะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถือเอา
เอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ แล้ว
ตามกำจัดพระทัพพมัลลบุตร ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิกจริงหรือ
ภิกษุสองรูปนั้นทูลรับว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ถือเอาเอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้
เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัดพระทัพพมัลลบุตร ด้วยธรรมมีโทษถึง
ปาราชิกเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่นไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของ
พวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นพระ-
ผู้มีพระภาคอาทิผิด เจ้าทรงติเตียนอาทิผิด อาณัติกะพระเมตติยะ และพระภุมมชกะโดยอเนก-
ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน
บำรุงยาก ความเป็นคนมักมากอาทิผิด อักขระ ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี
ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十月 16, 2022

Phatthawakkhiya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 52/146/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พี่น้องทั้ง ๓ นั้นเติบโตแล้วก็เล่าเรียนไตรเพท. บรรดาพี่น้องชาย
ทั้ง ๓ นั้น พี่ชายคนโตมีมาณพเป็นบริวาร ๕๐๐ คนกลาง ๓๐๐ คน
เล็ก ๒๐๐. พี่น้องทั้ง ๓ นั้น ตรวจดูสาระในคัมภีร์ของตน เห็นแต่
ประโยชน์ปัจจุบันเท่านั้น จึงชอบการบวช. บรรดาพี่น้องทั้ง ๓ นั้น
พี่ชายคนโตพร้อมกับบริวารของตน ไปยังตำบลอุรุเวลาบวชเป็นฤๅษี จึง
มีชื่อว่า อุรุเวลากัสสป น้องชายที่บวชอยู่ ณ โค้งแม่น้ำมหาคงคา จึงมี
ชื่อว่า นทีกัสสป น้องชายผู้ที่บวชอยู่ ณ คยาสีสประเทศ จึงมีชื่อว่า
คยากัสสป.
เมื่อพี่น้องทั้ง ๓ นั้นบวชเป็นฤาษี อยู่ในที่นั้น ๆ อย่างนี้แล้ว เมื่อ
วันเวลาล่วงไปเป็นอันมาก พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายเสด็จออกมหา-
ภิเนษกรมณ์ ทรงรู้แจ้งแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักรไปโดยลำดับ ทรงให้พระเบญจวัคคีย์เถระดำรงอยู่ในพระอรหัต
ทรงแนะนำสหาย ๕๕ คนมียสะเป็นประธาน แล้วทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐
องค์ ไปด้วยพระดำรัสมีว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป ดังนี้
เป็นต้น แล้วทรงแนะนำภัททวัคคียอาทิผิด อักขระกุมาร แล้วเสด็จไปยังที่อยู่ของอุรุเวล-
กัสสป เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟเพื่อจะประทับอยู่ ทรงแนะนำอุรุเวล-
กัสสปพร้อมทั้งบริษัท ด้วยปาฏิหาริย์ ๓,๕๐๐ ประการ มีการทรมาน
พระยานาคที่อยู่ในที่นั้นเป็นต้น แล้วทรงให้บรรพชา. ฝ่ายน้องชายทั้งสอง
รู้ว่าอุรุเวลกัสสปนั้นบวชแล้วพร้อมทั้งบริวาร พากันมาบวชในสำนักของ
พระศาสดา. ทั้งหมดนั่นแหละได้เป็นเอหิภิกขุ ทรงบาตรและจีวรอัน
สำเร็จด้วยฤทธิ์.
พระศาสดาทรงพาสมณะ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ไปยังคยาสีสประเทศ แล้ว
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十月 15, 2022

Phra Theri

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 1/163/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เจริญอนุบุพพวิปัสสนา ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วบวช. ต้นมหาโพธิ์ได้
ประดิษฐานอยู่บนอากาศ จนพระอาทิตย์อัสดงคต ก็เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคต
แล้ว จึงกลับ (ลงมา) ประดิษฐานอยู่บนปฐพี โดยโรหิณีนักขัตฤกษ์.
พร้อมกับด้วยต้นมหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ (นั่นแล) มหาปฐพีได้ไหวจนถึงที่สุด
น้ำ (รองแผ่นดิน). ก็แล ต้นมหาโพธิ์ ครั้นประดิษฐานอยู่แล้ว ก็นิ่งเงียบ
อยู่ในกลีบเมฆ (กลุ่มหมอก) ตลอด ๗ วัน. ต้นมหาโพธิ์ได้ถึงความมอง
ไม่เห็นชาวโลก (คือชาวโลกมองไม่เห็นต้นมหาโพธิ์). ในวันที่ ๗ นภากาศ
ได้ปราศจากเมฆหมอกแล้ว. รัศมีซึ่งมีพรรณ ๖ ประการ ก็พวยพุ่งกระจาย
ออก. ลำต้น กิ่ง ใบ และผลทั้ง ๕ แห่งต้นมหาโพธิ์ก็ปรากฏให้เห็น. พระ
มหินทเถระ พระนางสังฆมิตตาอาทิผิด เถรี และพระราชา พร้อมด้วยข้าราชบริพาร
ได้เสด็จไปถึงสถานที่ตั้งแห่งต้นมหาโพธิ์นั่นแล. และประชาชนชาวเกาะทั้งหมด
ก็ประชุมกันแล้วโดยส่วนมาก. เมื่อชนเหล่านั้นมองดูอยู่นั่นเอง ผลหนึ่งจากกิ่งอาทิผิด อาณัติกะ
ด้านทิศอุดรสุกแล้วก็หล่นจากกิ่ง. พระเถระน้อมหัตถ์เข้ารับไว้. ผลก็ได้ตั้งอยู่
บนหัตถ์ของพระเถระ. พระเถระได้ถวายผลนั้นแด่พระราชา โดยถวายพระพร
ว่า ขอพระองค์ทรงปลูกเถิด มหาบพิตร !
[ต้นมหาโพธิ์แตกสาขาออกถึง ๘ ต้นและ ๓๒ ต้น]
พระราชาทรงรับแล้ว ก็ทรงโปรยปุ๋ยที่มีรสดีลงที่กระถางทองใส่โคลน
ที่ผสมด้วยของหอมให้เต็ม แล้วเพาะปลูกไว้ในที่ใกล้ต้นมหาโพธิ์. เมื่อชน
ทั้งหมดดูอยู่นั่นเอง ต้นโพธิ์อ่อน ๆ ๘ ต้น ซึ่งมีประมาณ ๔ ศอก ได้งอก
ขึ้นแล้ว. พระราชาทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์นั้นแล้วก็ทรงบูชาต้นโพธิ์อ่อน ๆ
๘ ต้นด้วยเศวตฉัตร แล้วถวายการอภิเษก (แก่ต้นโพธิ์อ่อน ๆ ทั้ง ๘ ต้นนั้น).
ประชาชนปลูกต้นโพธิ์ต้นหนึ่ง (ซึ่งแยกออก) จากต้นโพธิ์อ่อน ๆ ทั้ง ๘ ต้นนั้น
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十月 13, 2022

Nai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   6/9/20  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง

ปรากฏไม่ เพราะฉะนั้น ผู้ใดตรึกกามวิตกหรือพยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก
คนอื่นที่จะโจทผู้นั้นย่อมไม่มี ผู้นั้นต้องโจทตนด้วยตนเองอาทิผิด อักขระแล้ว เอาห่อ
แห่งใบไม้ ขนทรายมาเกลี่ยในที่นี้ ด้วยตั้งใจว่า นี่พึงเป็นทัณฑกรรม จำเดิม
แต่นั้นมาผู้ใดตรึกวิตกเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมใช้ห่อแห่งใบไม้ขนทรายมาเกลี่ยในที่
นั้น. ด้วยประการอย่างนี้ กองทรายในที่นั้นจึงใหญ่ขึ้นโดยลำดับ. ภายหลังมา
ประชุมชนในภายหลัง จึงได้แวดล้อมกองทรายใหญ่นั้นทำให้เป็นเจดียสถาน.
ข้าพเจ้าหมายเอากองทรายนั้นกล่าวว่า บทว่า อุรุเวลายํ ได้แก่ที่แดน
ใหญ่ อธิบายว่า ที่กองทรายใหญ่. หมายเอากองทรายนั้นเองกล่าวว่า อีก
ประการหนึ่ง ทราย เรียกว่าอุรุ, เขตคัน เรียกว่าเวลา. และพึงเห็นความใน
บทนี้ อย่างนี้ว่า ทรายที่เขาขนมา เพราะเหตุที่ล่วงเขตคัน ชื่ออุรุเวลา.
บทว่า โพธิรุกฺขมูเล มีความว่า ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิญาณ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุโพธิญาณนั้นที่ต้นไม้นี้ เพราะฉะนั้นต้นไม้จึง
พลายได้นามว่า โพธิพฤกษ์ด้วย ที่โคนแห่งโพธิพฤกษ์นั้นชื่อว่า โพธิรุกขมูล.
บทว่า ปฐมาภิสมพุทฺโธ ได้แก่ แรกตรัสรู้. อธิบายว่า เป็นผู้
ตรัสรู้พร้อมเสร็จก่อนทุกอย่างทีเดียว.
บทว่า เอกปลฺลงฺเกน มีความว่า ประทับนั่ง ด้วยบัลลังก์อันเดียว
ตามที่ทรงคู้แล้วเท่านั้น ไม่เสด็จลุกขึ้นแม้ครั้งเดียว.
บทว่า วิมุตฺติสุขปฏิสํเวที มีความว่า เสวยวิมุตติสุข คือสุขที่เกิด
แต่ผลสมาบัติ.

๑. หรือว่าใบไม้สำหรับห่อ ตามนัยอรรถกถา สตฺติคุมฺพชาตก ที่ท่านชักมาไว้ในอาทิผิด สระ มงฺคลตฺถทีปนี ว่า ปตฺตปูฏสฺเสวาติ. . . ปลิเวจนปณฺณสฺเสว. น่าจะเป็นอย่างที่เรียกว่า กระทง คือเอาใบ ไม้มาเย็บมากลัดติดกันเป็นภาชนะใส่ของได้. โนโยชนา ภาค ๒ หน้า ๑๖๗ แก้ว่า ปตฺตปูเฏอาทิผิด อาณัติกะนาติ ปณฺณปูเฏน.

พระปิฎกธรรม

星期二, 十月 11, 2022

Khwam Chabap Kao Sip Et Lem: ?

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 12/91/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เป็นต้น บุคคลตั้งอยู่แล้วในมโนมยญาณเป็นต้น ให้เกิดขึ้นอยู่ก็ไม่ลำบาก
เพราะฉะนั้น อิทธิวิธญาณเป็นต้น จึงมีการใช้ทรัพย์สินน้อย มีการตระ-
เตรียมน้อย ชื่อว่า ยัญ เพราะละกิเลสอันเป็นข้าศึกของตน ๆ เสียได้.
ก็ในญาณเหล่านี้ อิทธิวิธญาณ พึงทราบว่า มีผลมาก เพราะสามารถ
แสดงการกระทำแปลก ๆ มีอย่างต่าง ๆ.
ทิพยโสต พึงทราบว่า มีผลมาก เพราะสามารถฟังเสียงของเทวดา
และมนุษย์ได้.
เจโตปริยญาณ พึงทราบว่า มีผลมาก เพราะสามารถรู้จิต ๑๖
อย่างของผู้อื่นได้.
บุพเพนิวาสานุสสติญาณ พึงทราบว่า มีผลมาก เพราะสามารถ
ตามระลึกถึงสถานที่ที่ตนไม่ปรารถนาอาทิผิด และปรารถนาได้. ทิพยจักษุ พึงทราบว่า
มีผลมาก เพราะสามารถมองเห็นรูปที่ตนไม่ต้องการอาทิผิด และต้องการได้.
อาสวักขยญาณ พึงทราบว่า มีผลมาก เพราะสามารถยังสุขอันเกิด
จากโลกุตรมรรคอันประณีตยิ่งให้สำเร็จได้. ก็ขึ้นชื่อว่ายัญอย่างอื่น ที่
ประเสริฐกว่าพระอรหัต ไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง
แสดงพระธรรมเทศนาโดยสุดยอด คือพระอรหัต จึงตรัสว่า พราหมณ์
นี้แล ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า เอวํ วุตฺเต แปลว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้
แล้ว กูฏทันตพราหมณ์เลื่อมใสในพระธรรมเทศนา มีประสงค์จะถึงสรณะ
จึงอาทิผิด อาณัติกะได้กล่าวคำนี้มีว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง
นัก ดังนี้ เป็นต้น. บทว่า จงพัด ความว่า ขอลมเย็นอ่อน ๆ ที่จะระงับ
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十月 08, 2022

Khrai Khruan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 1/120/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ชนชาวสุวรรณภูมิ ก็ได้ตั้งชื่อพวกเด็กที่เกิดในราชตระกูลว่า โสณุตตระ
(โสณุดร) สืบมา.
พระโสณะและพระอุตตระ ผู้มีฤทธิ์
มาก ไปยังแคว้นสุวรรณภูมิ แล้วขับไล่ปีศาจ
ทั้งหลายให้หนีไป ได้แสดงพรหมชาลสูตร*
แล้ว แล.
[พระมหินทเถระไปประกาศพระศาสนาที่เกาะลังกา]
ส่วนพระมหินทเถระ ผู้อันพระอุปัชฌายะ และภิกษุสงฆ์เชื้อเชิญว่า
ขอท่านจงไปประดิษฐานพระศาสนายังเกาะตัมพปัณณิทวีปเถิด ดังนี้ จึง
ดำริว่า เป็นกาลที่เราจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปหรือยังหนอ ? ครั้งนั้น
เมื่อท่านใคร่่ครวญอาทิผิด อักขระอยู่ ก็ได้มีความเห็นว่า ยังไม่ใช่กาลที่ควรจะไปก่อน.
ถามว่า ก็พระเถระนั้น ได้มีความเห็นดังนี้ เพราะเห็นเหตุการณ์
อะไร ?
แก้ว่า เพราะเห็นว่า พระเจ้ามุฏสีวะ ทรงพระชราภาพมาก.
[พระมหินทเถระเที่ยวเยี่ยมญาติจนกว่าจะถึงเวลาไปเกาะลังกา]
ลำดับนั้น พระเถระดำริว่า พระราชาพระองค์นี้ ทรงพระชราภาพ
มาก เราไม่อาจรับพระราชานี้ยกย่องเชิดชูพระศาสนาได้ ก็บัดนี้ พระราช
โอรสของพระองค์ ทรงพระนามว่า เทวานัมปิยดิส จักเสวยราชย์ (ต่อไป)
เราจักอาจรับพระราชานั้นยกย่องเชิดชูพระศาสนาได้ เอาเถิด เราจัก
เยี่ยมอาทิผิด อักขระพวกญาติเสียก่อน จนกว่าเวลานั้นจะมาถึง, บัดนี้ เราจะพึงได้กลับมายัง
ชนบทนี้อีกหรือไม่. พระเถระนั้น ครั้นดำริอย่างนั้นแล้ว จึงไหว้พระอุปัชฌยะ
* ที.สี. ๙/๑.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十月 06, 2022

Lap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 58/586/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง

นางล้างเท้าของนายทั้งหลายแล้ว เมื่อนายทั้งหลายนอนแล้ว นั่งแลดู
การมาของชายผู้นั้นอยู่ที่ธรณีประตู คิดว่าประเดี๋ยวเขาจักมา ประเดี๋ยว
เขาจักมา จนเวลาล่วงเลยไปถึงปฐมยาม และมัชฌิมยาม. ก็ในเวลา
ใกล้รุ่ง นางหมดหวังว่า เขาคงไม่มาในบัดนี้แน่ จึงนอนหลับไป.
พระโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุการณ์นี้ จึงคิดว่า ทาสีนี้นั่งอยู่ได้ตลอดกาล
มีประมาณเท่านี้ ด้วยความหวังว่า ชายผู้นั้นจักมา รู้ว่าบัดนี้เขา
ไม่มา เป็นผู้หมดความหวัง ย่อมนอนหลับสบาย ขึ้นชื่อว่าความหวัง
ในกิเลสทั้งหลาย เป็นทุกข์ ความไม่มีความหวังเท่านั้น เป็นสุข
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ผู้ไม่มีความหวังย่อมหลับเป็นสุข
ความหวังมีผลก็เป็นสุข นางปิงคลากระทำ
ความหวังจนหมดหวังจึงหลับอาทิผิด อักขระสบาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผลวตี ความว่า ความหวังที่
ได้ผลนั้น ชื่อว่าเป็นสุข เพราะผลนั้นเป็นสุข. การทำให้หมดหวัง
คือกระทำให้ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัดเสีย คือละเสีย. บทว่า
ปิงฺคลา ความว่า บัดนี้ นางปิงคลทาสีนี้หลับเป็นสุข.
วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์นั้นจากบ้านนั้นเข้าไปยังป่า เห็น
ดาบสผู้หนึ่งนั่งเข้าฌานอยู่ในป่า จึงคิดว่า ความสุขอันยิ่งกว่าความสุข
ในฌาน ย่อมไม่มีในโลกนี้และในโลกหน้า จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

พระปิฎกธรรม

星期三, 十月 05, 2022

Panyo

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 22/202/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง

เห็นว่าบริษัทนั้นประชุมกันแล้ว เมื่อจะตรัสสรรเสริญตามความเป็นจริง จึง
ทรงเริ่มพระเทศนานี้.

เหตุให้เป็นบัณฑิต

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ เป็นบัณฑิตด้วยเหตุ
๔ ประการเหล่านี้ คือ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ
ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท (และ) ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ และ
อฐานะ (เหตุที่เป็นไปได้ และเป็นไปไม่ได้).
ในบทว่า มหาปญฺโญอาทิผิด อาณัติกะ เป็นต้น มีอธิบายว่า เป็นผู้ประกอบด้วย
ปัญญามาก. ในข้อนั้น ความต่างกันแห่งปัญญามากเป็นต้น มีดังต่อไปนี้.

ปัญญามาก

บรรดา ปัญญามาก เป็นต้นเหล่านั้น ปัญญามากเป็นไฉน ?
ชื่อว่า ปัญญามาก เพราะกำหนดถือเอาคุณคือศีลมาก. ชื่อว่า
ปัญญามาก เพราะกำหนดถือเอาคุณคือสมาธิ คุณคือปัญญา คุณคือวิมุตติ
คุณคือวิมุตติญาณทัสสนะมาก. ชื่อว่ามีปัญญามาก เพราะกำหนดถือเอาฐานะ
และอฐานะมาก สมาบัติเป็นเครื่องอยู่มาก อริยสัจมาก สติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน อิทธิบาทมาก อินทรีย์ พละ โพชฌงค์มาก อริยมรรคมาก
สามัญญผลมาก อภิญญามาก นิพพานอันเป็นปรมัตถ์มาก.

ปัญญากว้าง

ปัญญากว้างเป็นไฉน ?
ชื่อว่า ปัญญากว้าง เพราะญาณ (ปัญญา) กว้างเป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ.
ชื่อว่าปัญญากว้าง เพราะญาณเป็นไปในธาตุต่าง ๆกว้าง ในอายตนะต่างๆกว้าง

พระปิฎกธรรม

星期日, 十月 02, 2022

Nguean

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 75/199/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า เกนจิ วิญฺเญยฺยา ได้แก่ พึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ หรือโสต-
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญาณเป็นต้น บทว่า
เกนจิ น วิญฺเญยฺยา ได้แก่ ไม่พึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณนี้
นั่นแหละ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ทุกะแห่งบทแม้ทั้ง ๒ ก็ต่างกัน
โดยอรรถ.

ว่าด้วยอาสวโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในอาสวโคจฉกะ ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า ย่อมไหลไป อธิบายว่า
อาสวะเหล่านั้น ย่อมไหลไป คือ ย่อมเป็นไปทางจักษุบ้าง ฯลฯ ทางใจบ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า เมื่อว่าโดยธรรม ย่อม
ไหลไปถึงโคตรภู ว่าโดยภูมิ (โอกาส) ย่อมไหลไปถึงภวัคคพรหม อธิบายว่า
กระทำธรรมเหล่านี้ และภูมิไว้ในภายในเป็นไป. เพราะว่า อาอักษรนี้มีอรรถ
ว่ากระทำไว้ภายใน ที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะเป็นดุจเครื่องหมักดอง ด้วยอรรถว่า
หมักไว้นานมีเครื่องมึนเมาเป็นต้น จริงอยู่ เครื่องหมักดองที่หมักไว้นานมีเครื่อง
มึนเมาเป็นต้น ท่านเรียกว่า อาสวะในโลก. ก็ถ้าว่า ชื่อว่า อาสวะ เพราะ
อรรถว่า หมักไว้นาน อาสวะเหล่านั้นก็สมควรเป็นอย่างนั้น. สมดังพระดำรัส
ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนอาทิผิด อาณัติกะต้นของอวิชชาไม่ปรากฏก่อน ก่อนแต่นี้
อวิชชาก็มิได้มีเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า ย่อมไหล
ย่อมไหลไปสู่สังสารทุกข์ อันยาวนาน. นอกจากอาสวะนั้น ธรรมเหล่าอื่น ไม่ชื่อ
ว่าอาสวะ.
 
พระปิฎกธรรม