星期三, 三月 29, 2023

Thi Tham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/200/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อะไร สัตว์นั้นบอกอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าหิว เจ้าข้า เหล่านายนิรยบาลจึงเอา
ขอเหล็กร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง เปิดปากออก แล้วใส่ก้อนโลหะ
ร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง เข้าในปาก ก้อนโลหะนั้นจะไหม้ริมฝีปาก
บ้าง ปากบ้าง คอบ้าง ท้องบ้าง ของสัตว์นั้น พาเอาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง
ออกมาทางส่วนเบื้องล่าง สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ
อยู่ ณ ที่นั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.
[๕๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลกล่าวกะสัตว์นั้น อย่าง
นี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการอะไร สัตว์นั้นบอกอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
กระหาย เจ้าข้า เหล่านายนิรยบาลจึงเอาขอเหล็กร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง
โชติช่วง เปิดปากออกแล้วเอาน้ำทองแดงร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง
กรอกเข้าไปในปาก น้ำทองแดงนั้นจะไหม้ริมฝีปากบ้าง ปากบ้าง คอบ้าง
ท้องบ้าง ของสัตว์นั้น พาเอาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง ออกมาทางส่วน
เบื้องล่าง สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ ณ ที่นั้น
และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเหล่านาย
นิรยบาลจะโยนสัตว์นั้นเข้าไปในมหานรกอีก.
ว่าด้วยเรื่องเคยมีมาแล้ว
[๕๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระยายมได้มีความ
ดำริอย่างนี้ว่า พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย เป็นอันว่าเหล่าสัตว์ที่ทำอาทิผิด กรรมลามกไว้ในโลก
ย่อมถูกนายนิรยบาลลงกรรมกรณ์ ต่างชนิดเห็นปานนี้ โอหนอ ขอเราพึงได้
ความเป็นมนุษย์ ขอพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพึงเสด็จอุบัติในโลก
ขอเราพึงได้นั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นพึงทรงแสดงธรรมแก่เรา และขอเราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้นเถิด.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 三月 28, 2023

Yang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/236/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พ. (๓) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยัง
ไม่บัญญัติข้อที่ไม่เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังสมาทาน
วัชชีธรรมแบบโบราณ ตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่หรือ.
อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายยังไม่บัญญัติข้อที่ไม่
เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังสมาทานวัชชีธรรมแบบ
โบราณตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังอาทิผิด สระจักไม่บัญญัติข้อที่ไม่เคย
บัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทานวัชชีธรรมแบบโบราณ
ตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้า
วัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
พ. (๔) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยัง
สักการะ เคารพนับถือบูชา เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลายและยัง
เชื่อถือถ้อยคำที่ควรฟังของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้นอยู่หรือ.
อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลายและยังเชื่อถ้อยคำที่ควร
ฟังของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังสักการะ เคารพนับถือ
บูชา เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลาย และยังเชื่อถือถ้อยคำที่ควรฟัง
ของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์
เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
พ. (๕) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลาย ไม่ฉุด
คร่า ข่มเหง กักขังกุลสตรีทั้งหลาย (และ) กุมารีของสกุลทั้งหลายอยู่หรือ.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 三月 26, 2023

Chakkrawan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 73/150/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เป็นลานอันเดียวกัน นับตั้งแต่อกนิษฐภพจนถึงอเวจีนรก และโดยเบื้องขวาง
หมื่นจักรวาลอาทิผิด อักขระก็ได้เป็นลานอันเดียวกัน. เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์ แม้มนุษย์
ทั้งหลายก็เห็นเทวดา เทวดาและมนุษย์ทั้งหมด จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จจงกรมโดยปกติได้โดยประการใด ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จ
จงกรม โดยประการนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จจงกรม ก็ทรงแสดง
ธรรม และทรงเข้าสมาบัติในระหว่าง ๆ.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า อันหมู่เทพใน
หมื่นโลกธาตุห้อมล้อมแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ด้วยพุทธสิริวิลาส อันหาที่เปรียบ
มิได้ ด้วยพระพุทธลีลาอันไม่มีอะไรเปรียบ เหมือนภูเขาทองอันประเสริฐ
เคลื่อนที่ได้ มีพระพุทธสรีระอันประเสริฐ งดงามด้วยพระวรลักษณ์ ๓๒ อัน
กำลังกุศลที่ทรงสร้างสมมาตลอดสมัยที่ประมาณมิได้ รุ่งเรืองด้วยพระอนุพยัญ-
ชนะ ๘๐ มีพระสิริแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง สูง ๑๘ ศอก เหมือนดวงจันทร์
เต็มดวงในฤดูสารท และเหมือนดอกปาริฉัตตกะ สูงร้อยโยชน์ ออกดอกบาน
สะพรั่งทั่วต้น. ครั้นเห็นแล้วก็ดำริว่า หมื่นโลกธาตุแม้ทั้งสิ้นนี้ประชุมกันแล้ว
ก็ในที่ประชุมนี้ ควรมีพระธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่. ก็พุทธวงศ์เทศนา จะมี
อุปการะมาก นำมาซึ่งความเลื่อมใส ถ้ากระไร เราพึงทูลถามพุทธวงศ์ จำเดิม
แต่อภินีหารการบำเพ็ญบารมีของพระทศพล แล้วจึงทำจีวรเฉวียงบ่า เข้าเฝ้าอาทิผิด อักขระ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประคองอัญชลีที่รุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน เสมอดอกบัว
ตูมเกิดอยู่ในน้ำ ไม่มีมลทิน ไม่วิกล ไว้เหนือเศียรแล้ว ทูลถามผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามีว่า กีทิโส เต มหาวีร เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคี-
ติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวเป็นต้นว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 25, 2023

An

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/263/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อสุรวรรคที่ ๕

๑. อสุรสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล จำพวกนี้ ฯลฯ คือ
อสุโร อสุรปริวาโร คนอสูร มีอสูรเป็นบริวาร
อสุโร เทวปริวาโร คนอสูร มีเทวดาเป็นบริวาร
เทโว อสุรปริวาโร คนเทวดา มีอสูรเป็นบริวาร
เทโว เทวปริวาโร คนเทวดา มีเทวดาเป็นบริวาร
ก็บุคคลเป็นอสูร มีอสูรเป็นบริวารเป็นอย่างไร บุคคลบางคน
ในโลกนี้เป็นคนทุศีลมีธรรมอันลามก แม้บริษัทของเขาก็เป็นคนทุศีล มีธรรม
อันลามกเหมือนกัน อย่างนี้แล บุคคลเป็นอสูร มีอสูรเป็นบริวาร
บุคคลเป็นอสูร มีเทวดาเป็นบริวารเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคน
ในโลกนี้เป็นคนทุศีลมีธรรมอันอาทิผิด อักขระลามก แต่บริษัทของเขาเป็นคนมีศีล มีธรรม
อันงาม อย่างนี้แล บุคคลเป็นอสูร มีเทวดาเป็นบริวาร
บุคคลเป็นเทวดา มีอสูรเป็นบริวารเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคน
ในโลกนี้เป็นคนมีศีลมีธรรมอันงาม แต่บริษัทของเขาเป็นคนทุศีล มีธรรม
อันลามก อย่างนี้แล บุคคลเป็นเทวดา มีอสูรเป็นบริวาร
บุคคลเป็นเทวดา มีเทวดาเป็นบริวารเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคน
ในโลกนี้เป็นคนมีศีลมีธรรมอันงาม แม้บริษัทของเขาก็เป็นคนมีศีล มีธรรม
อันงามด้วย อย่างนี้แล บุคคลเป็นเทวดา มีเทวดาเป็นบริวาร
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบอสุรสูตรที่ ๑
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 23, 2023

Khawut

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/27/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สถานที่เขาลงโทษด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ จะประมาณหรือกำหนดไม่ได้
เหล่าสัตว์ที่อยู่กัน เป็นคณะย่อมเดือดร้อนอาทิผิด อักขระ ในที่ซึ่งถูกมีดฟันเป็นต้น เหมือน
อย่างนั้น. ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน หมู่ปลวกในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ย่อมจะ
ประมาณหรือกำหนดไม่ได้ และหมู่มดแดงเป็นต้น แม้ในรังแต่ละรังเป็นต้น
ก็เหมือนกัน และแม้ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานก็ย่อมอยู่รวมกันเป็นคณะ ก็
นครเปรตมีคาวุตอาทิผิด อักขระหนึ่งก็มี ครึ่งโยชน์ก็มี เต็มไปด้วยเปรต แม้ในพวกเปรตก็
อยู่รวมกันเป็นคณะอย่างนี้แหละ. ภพอสูรมีประมาณหมื่นโยชน์เหมือนรูหูที่เอา
เข็มเสียบไว้ที่หู แม้ในอสุรกาย ก็ย่อมอยู่กันเป็นคณะอย่างนี้ . ในมนุษยโลก
เฉพาะกรุงสาวัตถี มีถึงห้าล้านเจ็ดแสนตระกูล. ในกรุงราชคฤห์ทั้งภายใน
ภายนอก มีมนุษย์อาศัยอยู่ ๑๘ โกฏิ ในฐานะแม้อื่น ๆ คือ แม้ในมนุษยโลก
ก็อยู่กันเป็นคณะเหมือนกัน. แม้ในเทวโลก และพรหมโลก ตั้งต้นแต่ภุมม-
เทวดาไป ก็อยู่กันเป็นคณะ. ก็เทวบุตรแต่ละองค์ย่อมมีเทพอักษรผู้ฟ้อนรำถึง
สองโกฏิครึ่ง บางองค์มีถึง ๙ โกฏิ ถึงพรหมจำนวนนับหมื่นก็อยู่รวมในที่
เดียวกัน. แต่นั้นทรงดำริว่า เราบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป
ก็เพื่อกำจัดการอยู่รวมเป็นคณะ แต่ภิกษุเหล่านี้ นับจำเดิมแต่นี้ไป ภิกษุเหล่านี้
ย่อมเกาะกลุ่มยินดีในหมู่ กระทำกรรมไม่สมควรเลย พระองค์ทรงเกิดธรรม
สังเวช เพราะภิกษุทั้งหลายเป็นเหตุ ทรงดำริว่า ถ้าเราจักบัญญัติสิกขาบทว่า
ภิกษุสองรูปไม่พึงอยู่ในที่เดียวกัน แต่ไม่สามารถจะบัญญัติได้ เอาละเราจะ
แสดงพระสูตรชื่อ มหาสุญญตาปฏิบัติ ซึ่งจักเป็นเหมือนการบัญญัติสิกขาบท
สำหรับกุลบุตรผู้ใคร่ต่อการศึกษา และเหมือนกระจกสำหรับส่องหมู่สัตว์ทุก
หมู่เหล่า ที่วางไว้ ณ ประตูเมือง แต่นั้นกษัตริย์เป็นต้น เห็นโทษของตนใน
กระจกบานหนึ่ง ละโทษนั้น ย่อมเป็นผู้หาโทษมิได้ ฉันใด แม้เมื่อเราปริ-
นิพพานแล้ว ล่วงไปถึง ๕,๐๐๐ ปี กุลบุตรทั้งหลายย่อมระลึกถึงพระสูตรนี้
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 三月 22, 2023

Kilet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/74/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ด้วยอริยทรัพย์ ละมิจฉามรรคเสียได้. ทำเวรและ
ภัยทั้งหลายให้สงบ, ทำตนให้เป็นลูกผู้เกิดแต่อก
แห่งพระพุทธเจ้าอาทิผิด อักขระผู้เป็นนาถะของโลก, ญาณนี้ย่อม
ให้ซึ่งอานิสงส์อื่น อีกหลายร้อยอย่าง.

๑๒. อรรถกถาผลญาณุทเทส
ว่าด้วย ผลญาณ
ในคำว่า ปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทฺธิปญฺา ผเล ญาณํ แปลว่า
ปัญญาในการระงับปโยคะเป็นผลญาณ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ปโยโค แปลว่า การประกอบอย่างแรงกล้า, คือความ
พยายามที่ออกจากกิเลสและขันธ์ทั้ง ๒ ได้ด้วยมรรคภาวนาโดยทำให้แจ้ง
ซึ่งผล. ความสงบปโยคะคือความพยามนั้น คือการถึงที่สุดแห่งโยคะ
ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิ. ปโยคปฏิปัสสัทธินั้นอย่างไร ? คือการสิ้นสุด
แห่งกิจในมรรคทั้ง ๔.
ปัญญาในผลเป็นไปแล้ว เพราะปโยคปฏิปัสสัทธินั้นเป็นเหตุ
ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิปัญญา. ปัญญานี้เป็นผลเพราะอรรถว่า ย่อม
ผลิตผล คือย่อมให้เกิดวิบาก, ในผลนั้น ญาณอันสัมปยุตกับด้วยผล-
จิตนั้น (ชื่อว่า ผเล ญาณํ) ก็ต่อจากมรรคญาณหนึ่ง ๆ ผลจิตอัน
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 18, 2023

Anupasamban

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/73/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พูดเปรยกระทบกิเลสทราม ว่ามีบางพวก
. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกถูกราคะกลุ้มรุม บางพวก
ถูกโทสะย่ำยี บางพวกถูกโมหะครอบงำ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ
คำพูด.
พูดเปรยกระทบกิเลสอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก
. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกปราศจากราคะ บาง
พวกปราศจากโทสะ บางพวกปราศจากโมหะ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ทุก ๆ คำพูด.
พูดเปรยกระทบอาบัติทราม ว่ามีบางพวก
. . .มีอนุปสัมบันอาทิผิด อักขระในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกต้องอาบัติปาราชิก
บางพวกต้องอาบัติสังฆาทิเสส บางพวกต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ บางพวกต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ บางพวกต้องอาบัติทุกกฏ บางพวก
ต้องอาบัติ ทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.
พูดเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่ามีบางพวก
. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกถึงโสดาบัติ ดังนี้เป็น
ต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.
พูดเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่ามีบางพวก
. . .มีอนุปสัมบันในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกมีความประพฤติอาทิผิด อักขระดังอูฐ
บางพวกมีความประพฤติดังแพะ บางพวกมีความประพฤติดังโค บางพวกมี
ความประพฤติอาทิผิด อักขระดังลา บางพวกมีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน บางพวกมีความ
ประพฤติดังสัตว์นรก สุคติของอนุปสัมบันพวกนั้นไม่มี อนุปสัมบันพวกนั้น
ต้องหวังได้แต่ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 17, 2023

Khasuek

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 2/660/8  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข้อว่า โกญฺจํ กโรนฺตานํ ความว่า ยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอาทิผิด สระสอดงวง
เข้าในปากแล้ว ทำเสียงดังนกกระเรียน.
คำว่า สทฺทํ อสฺโสสึ ความว่า เราได้ยินเสียงโกญจนาทนั้น.
ข้อว่า อตฺเถโส ภิกฺขเว สมาธิ โส จ โข อปริสุทฺโธ
ความว่า สมาธินั่นของโมคคัลลานะ มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล เป็นของไม่บริสุทธิ์.
ได้ยินว่า พระเถระ ในวันที่ ๗ แต่เวลาบวช ได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้น
ยังไม่มีวสี (ความชำนาญ) อันประพฤติแล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่าง ในสมาบัติ
๘ ยังมิได้ยังธรรมอันเป็นข้าศึกอาทิผิด อักขระต่อสมาธิให้บริสุทธิ์ด้วยดี นั่งเข้าจตุตถฌานแน่ว
แน่ กระทำให้มีเพียงแต่สัญญาแห่งการนึก การเข้า การตั้งใจ การออก และ
การพิจารณาเท่านั้น ออกจากองค์ฌานแล้ว ได้ยินเสียงแห่งช้างทั้งหลาย ได้
มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราได้ยินเสียงภายในสมาบัติ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมาธินั่น มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล
ไม่บริสุทธิ์.
[เรื่องพระโสภิตะ]
ในเรื่องพระโสภิตะ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ข้อว่า อหํ
อาวุโส ปญฺจกปฺปสตานิ อนุสฺสรามิ ความว่า พระเถระกล่าวว่า เรา
ระลึกชาติได้ ด้วยอาวัชชนจิตเดียว. ก็เมื่อถือเอาความอีกอย่างหนึ่ง การระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในอดีตนั้น ๆ ด้วยอาวัชชนจิตต่าง ๆ กัน โดยลำดับ ของ
พระสาวกทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์ ; เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยกโทษ.
แต่เพราะพระโสภิตะนั้นกล่าวว่า เราระลึกชาติได้ด้วยอาวัชชนจิตเดียว ดังนี้ ;
เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงยกโทษ.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 16, 2023

Tham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/146/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้น
เหมือนกัน.
[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล ย่อมอาทิผิด อาณัติกะถึงความ
เป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.
จบนาคสูตรที่ ๖

อรรถกถานาคสูตร

พวกนางนาคตั้งครรภ์ในอุตุสมัย พากันคิดว่า หากเราจักคลอดใน
บึงน้อยนี้ พวกลูก ๆ ของเราจักไม่อาจทนกำลังของกระแสคลื่นและครุฑที่โลด
แล่นมาได้ดังนี้ แม้นาคเหล่านั้น จึงพากันดำลงในมหาสมุทรถึงประตูมีปาก
ทางร่วมกัน พากันเข้าอาทิผิด อาณัติกะไปยังแม่น้ำอาทิผิด อาณัติกะใหญ่ ๕ สาย แล้วไปสู่ป่าหิมวันต์. ณ ที่
นั้น พวกนางนาคอาศัยอยู่ที่ถ้ำทอง ถ้ำเงิน และถ้ำอาทิผิด สระแก้วมณีซึ่งพวกครุฑ
เข้าไปไม่ได้ จึงคลอดแล้วสอนให้ลูกนาคหยั่งลงในน้ำประมาณขอเท้าเป็นต้น
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 三月 12, 2023

Khuen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 80/142/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ส. เพราะอาศัยอายตนะ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๑๐๕] ส. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ
ฯ ล ฯ เพราะอาศัยธัมมายตนะ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยอายตนะ ๑๒ จึงบัญญัติบุคคล ๑๒
ขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๑๐๖] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ จึง
บัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยธาตุ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๑๐๗] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ ฯ ล ฯ
เพราะอาศัยธัมธาตุ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะอาศัยธาตุ ๑๘ จึงบัญญัติบุคคล ๑๘ ขึ้นอาทิผิด
หรือ ?
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 11, 2023

Ni

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 28/277/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒. ปฐมสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาเป็นสัปปายะแก่นิพพาน
[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ
แก่นิพพาน แก่เธอทั้งหลายอาทิผิด เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน. ภิกษุในศาสนานี้ ย่อม
เห็นว่า จักษุไม่เที่ยง รูปทั้งหลายไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัส
ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกข์เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่า
ใจไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน
สัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้อาทิผิด เป็นปฏิปทาอันเป็น
สัปปายะแก่นิพพาน.
จบ ปฐมสัปปายสูตร ๒

๓. ทุติยสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาเป็นสัปปายะแก่นิพพาน
[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ
แก่นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า
๑. อรรถกถาสูตรที่ ๒ - ๕ แก้รวมกันไว้ท้ายสูตรที ๕
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 09, 2023

Chen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 34/169/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นข้าพเจ้า ฯลฯ และ
ถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.
ก็แลคาถานั้นนั่นท้าวสักกะจอมเทวดาขับไม่เข้าที ไม่เป็นการขับดีแล้ว
กล่าวไม่เหมาะ ไม่เป็นสุภาษิต นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะท้าวสักกะจอมเทวดา
ยังไม่พ้นจาก (ชาติ) ความเกิด (ชรา) ความแก่ (มรณะ) ความตาย (โสกะ)
ความโศก (ปริเทวะ) ความคร่ำครวญ (ทุกขะ) ความทุกข์กาย (โทมนัสสะ)
ความทุกข์ใจ (อุปายาสะ) ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่ายังไม่พ้นทุกข์ ส่วน
ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว ฯลฯ หลุดพ้นด้วยความรู้ชอบแล้ว จึง
ควรกล่าวคาถานั่นว่า
แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นอาทิผิด อักขระดังข้าพเจ้า ฯลฯ
และถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.
นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุนั้นพ้นแล้วจาก (ชาติ) ความเกิด ฯลฯ
(อุปายาสะ) ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่าพ้นแล้วจากทุกข์.
จบทุติยราชสูตรที่ ๘

๙.สุขุมาลสูตร

ว่าด้วยสุขุมาลชาติ และความเมา ๓ ประการ

[๔๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นสุขุมาล สุขุมาลยิ่ง สุขุมาล
โดยส่วนเดียว เราจะเล่าให้ฟัง ในพระราชนิเวศน์ พระบิดาของเรา โปรด
ให้สร้างสระโบกขรณี สระหนึ่งปลูกอุบล สระหนึ่งปลูกปทุม สระหนึ่งปลูก
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 三月 08, 2023

Mua Mao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 54/463/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข้าพเจ้าเลี้ยงดูด้วยข้าวน้ำและของเคี้ยวที่จัดไว้ใน
เรือนให้อิ่มหนำสำราญแล้ว จึงเรียนท่านว่า พระแม่
เจ้า ข้าพเจ้าประสงค์จะบวชเจ้าข้า.
ลำดับนั้น บิดาพูดกะข้าพเจ้าว่า ลูกเอ๋ย ลูกจง
ประพฤติธรรมในเรือนนี้ก็แล้วกัน จงเลี้ยงดูสมณ-
พราหมณ์ ด้วยข้าวน้ำไปเถิด.
ขณะนั้น ข้าพเจ้าร้องไห้ประคองมือ ประนม
พูดกับบิดาว่า ความจริง ลูกก็ทำบาปมามากแล้ว ลูก
จักชำระบาปนั้นให้เสร็จไปเสียที.
บิดาจึงอวยพรข้าพเจ้าว่า ลูกจงบรรลุโพธิญาณ
ธรรมอันเลิศ และได้พระนิพพาน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ประเสริฐสุดแห่งสัตว์สองเท้า ทรงกระทำให้แจ้ง
แล้วเถิด.
ข้าพเจ้ากราบบิดามารดา และหมู่ญาติทุกคน
บวชได้ ๗ วัน ก็บรรลุวิชชา ๓ ข้าพเจ้ารู้ระลึกชาติ
ได้ ๗ ชาติ จะบอกกรรมที่มีวิบากอย่างนี้แก่แม่เจ้า
ขอแม่เจ้า โปรดมีใจเป็นหนึ่ง ฟังวิบากกรรมนั้นเถิด.
ในนครชื่อว่า เอรกัจฉะ ข้าพเจ้าเป็นช่างทอง
มีทรัพย์มาก มัวเมาอาทิผิด สระในวัยหนุ่ม ทำชู้กับภริยาผู้อื่น.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 三月 05, 2023

Mai chai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/206/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โสมนัสสธาตุ เป็นไฉน ?
ความสบายใจ ความสุขใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิด
แต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า
โสมนัสสธาตุ.
โทมนัสสธาตุอาทิผิด อักขระ เป็นไฉน ?
ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า โทมนัสสธาตุ.
อุเปกขาธาตุ เป็นไฉน ?
ความสบายใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายใจก็ไม่อาทิผิด สระใช่ ความเสวยอารมณ์ไม่
ทุกข์ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส
นี้เรียกว่า อุเปกขาธาตุ.
อวิชชาธาตุ เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ* ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะ
นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ.
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖.

ธาตุ ๖ นัยที่ ๓
[๑๒๒] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ
๑. กามธาตุ
๒. พยาปาทธาตุ
* ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณีปกรณ์ ข้อ(๓๐๐).
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 03, 2023

Long

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 47/524/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาเสลสูตรที่ ๗
เสลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ? ท่านกล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นไว้ใน
นิทานแห่งเสลสูตรนั้นแล้ว. แม้ในลำดับการพรรณนาความแห่งสูตรนี้ ก็เช่น
เดียวกันกับสูตรก่อน พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรก่อนนั่นแล. ก็บทใด
ยังไม่ได้กล่าวไว้ เราจักเรียบเรียงบททั้งหลายที่มีความง่าย พรรณนาบทนั้น.
บทว่า องฺคุตฺตราเปสุ ได้แก่ ชนบทนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าอังคา,
อังคาใดชื่อว่า อาปะ ที่ซับน้ำมีอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำคงคา, ท่านเรียกว่า
อุตตราปะ ก็มี เพราะอยู่ไม่ไกลแม่น้ำเหล่านั้น ถามว่า อังคาใดที่ชื่อว่า
อาปะอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำคงคาตอนไหน ? ตอบว่า แม่น้ำคงคาที่ชื่อว่า
มหามหี. เพื่อความแจ่มแจ้งของแม่น้ำนั้นในสูตรนี้จะพรรณนาตั้งแต่ต้น.
มีเรื่องเล่ามาว่า ชมพูทวีปนี้มีประมาณหนึ่งหมื่นโยชน์. ในชมพูทวีป
นั้นพื้นที่ประมาณ ๔ พันโยชน์ถูกน้ำท่วม จึงเรียกว่า สมุทร. พวกมนุษย์
อาศัยอยู่ในเนื้อที่ประมาณ ๓ พันโยชน์ มีเขาหิมพานต์ตั้งอยู่ในเนื้อที่ ๓ พัน
โยชน์โดยส่วนสูงประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด โดย
รอบวิจิตรตระการไปด้วยมหานทีทั้งห้าไหลบ่าลงอาทิผิด อักขระโดยยาวและกว้างประมาณ ๑๐๐
โยชน์ เพราะลึกมาก มีบริเวณรอบ ๆ ประมาณ ๑๕๐ โยชน์ มีสระใหญ่ ๗
สระ มีสระอโนดาตเป็นต้นตั้งอยู่ ดังได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาปูรฬาสสูตร.
ใน ๗ สระนั้น สระอโนดาตล้อมไปด้วยภูขา ๕ ลูกเหล่านี้ คือ สุทัสสนกูฏ
จิตรกูฏ กาฬกูฏ คันธมาทนกูฏ เกลาสกูฏ. ในภูเขา ๕ ลูกนั้น สุทัสสนกูฏ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 02, 2023

Pritsadang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/235/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ถอนทำลายแคว้นวัชชีเสีย จักทำแคว้นวัชชีให้พินาศ จักทำแคว้นวัชชีให้ถึง
ความย่อยยับ ดังนี้.

กถาว่าด้วยอปริหานิยธรรมของเจ้าวัชชี ๗

[๖๘] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ ยืนถวายงานพัดอยู่เบื้องพระ
ปฤษฎางค์อาทิผิด อักขระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะท่าน
พระอานนท์ว่า
(๑) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยังประชุม
กันเนือง ๆ ยังประชุมกันมากอยู่หรือ
อา. ข้อนี้ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ประชุมกันเนือง ๆ
ประชุมกันมาก พระเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังจักประชุมกันเนือง ๆ ยัง
จักประชุมกันอยู่มากตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวัง
ความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้
พ. (๒) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยัง
พร้อมเพรียงอาทิผิด อักขระกันประชุมพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวก
เจ้าวัชชีพึงทำอยู่หรือ.
อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังพร้อมเพรียงกัน
ประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึง
ทำ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังจักพร้อมเพรียงกันประชุม
พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทำอยู่ตลอด
กาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หา
ความเสื่อมมิได้.
 
พระปิฎกธรรม