星期四, 三月 23, 2023

Khawut

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/27/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สถานที่เขาลงโทษด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ จะประมาณหรือกำหนดไม่ได้
เหล่าสัตว์ที่อยู่กัน เป็นคณะย่อมเดือดร้อนอาทิผิด อักขระ ในที่ซึ่งถูกมีดฟันเป็นต้น เหมือน
อย่างนั้น. ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน หมู่ปลวกในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ย่อมจะ
ประมาณหรือกำหนดไม่ได้ และหมู่มดแดงเป็นต้น แม้ในรังแต่ละรังเป็นต้น
ก็เหมือนกัน และแม้ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานก็ย่อมอยู่รวมกันเป็นคณะ ก็
นครเปรตมีคาวุตอาทิผิด อักขระหนึ่งก็มี ครึ่งโยชน์ก็มี เต็มไปด้วยเปรต แม้ในพวกเปรตก็
อยู่รวมกันเป็นคณะอย่างนี้แหละ. ภพอสูรมีประมาณหมื่นโยชน์เหมือนรูหูที่เอา
เข็มเสียบไว้ที่หู แม้ในอสุรกาย ก็ย่อมอยู่กันเป็นคณะอย่างนี้ . ในมนุษยโลก
เฉพาะกรุงสาวัตถี มีถึงห้าล้านเจ็ดแสนตระกูล. ในกรุงราชคฤห์ทั้งภายใน
ภายนอก มีมนุษย์อาศัยอยู่ ๑๘ โกฏิ ในฐานะแม้อื่น ๆ คือ แม้ในมนุษยโลก
ก็อยู่กันเป็นคณะเหมือนกัน. แม้ในเทวโลก และพรหมโลก ตั้งต้นแต่ภุมม-
เทวดาไป ก็อยู่กันเป็นคณะ. ก็เทวบุตรแต่ละองค์ย่อมมีเทพอักษรผู้ฟ้อนรำถึง
สองโกฏิครึ่ง บางองค์มีถึง ๙ โกฏิ ถึงพรหมจำนวนนับหมื่นก็อยู่รวมในที่
เดียวกัน. แต่นั้นทรงดำริว่า เราบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป
ก็เพื่อกำจัดการอยู่รวมเป็นคณะ แต่ภิกษุเหล่านี้ นับจำเดิมแต่นี้ไป ภิกษุเหล่านี้
ย่อมเกาะกลุ่มยินดีในหมู่ กระทำกรรมไม่สมควรเลย พระองค์ทรงเกิดธรรม
สังเวช เพราะภิกษุทั้งหลายเป็นเหตุ ทรงดำริว่า ถ้าเราจักบัญญัติสิกขาบทว่า
ภิกษุสองรูปไม่พึงอยู่ในที่เดียวกัน แต่ไม่สามารถจะบัญญัติได้ เอาละเราจะ
แสดงพระสูตรชื่อ มหาสุญญตาปฏิบัติ ซึ่งจักเป็นเหมือนการบัญญัติสิกขาบท
สำหรับกุลบุตรผู้ใคร่ต่อการศึกษา และเหมือนกระจกสำหรับส่องหมู่สัตว์ทุก
หมู่เหล่า ที่วางไว้ ณ ประตูเมือง แต่นั้นกษัตริย์เป็นต้น เห็นโทษของตนใน
กระจกบานหนึ่ง ละโทษนั้น ย่อมเป็นผู้หาโทษมิได้ ฉันใด แม้เมื่อเราปริ-
นิพพานแล้ว ล่วงไปถึง ๕,๐๐๐ ปี กุลบุตรทั้งหลายย่อมระลึกถึงพระสูตรนี้
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: