星期五, 六月 30, 2023

Pritsadang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 18/458/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ที่ ๕ เสด็จออกจากโคนโพธิพฤกษ์ เสด็จเข้าไปยัง อชปาลนิโครธ. ทรงเฟ้น
ธรรมแม้ในที่นั้น ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่. เมื่อทรงเฟ้นธรรม ก็ทรง
พิจารณาเพียงนัยแห่งอภิธรรมในธรรมนั้นคือ คัมภีร์แรก ชื่อธัมมสังคณีปกรณ์
ต่อนั้น ก็วิภังคปกรณ์ ธาตุกถาปกรณ์ บุคคลบัญญัติปกรณ์ กถาวัตถุปกรณ์
ยมกปกรณ์ ต่อนั้น มหาปกรณ์ ชื่อปัฏฐาน.
เมื่อจิตของพระองค์หยั่งลงในปัฏฐานอันละเอียดสุขุม ในพระอภิธรรม
นั้น ปีติก็เกิดขึ้น. เมื่อปีติเกิดขึ้นพระโลหิตก็ใส เมื่อพระโลหิตใส พระฉวี
ก็สดใส เมื่อพระฉวีสดใส พระรัศมีขนาดเท่าเรือนยอดเป็นต้นก็ผุดขึ้นจาก
พระกายส่วนหน้า แล่นไปตลอดอนันตจักรวาล ทางทิศตะวันออก เหมือน
โขลงพญาฉัททันต์แล่นไปในอากาศ. พระรัศมีผุดขึ้นจากพระกายส่วนพระ-
ปฤษฎางค์อาทิผิด อักขระ ก็แล่นไปทางทิศตะวันตก ผุดขึ้นจากปลายพระอังสาเบื้องขวา ก็
แล่นไปทางทิศใต้ ผุดขึ้นจากปลายพระอังสาเบื้องซ้าย แล่นไปตลอดอนันต-
จักรวาลทางทิศเหนือ. พระรัศมีมีวรรณะดังหน่อแก้วประพาฬก็ออกจากพื้น
พระบาททะลุมหาปฐพี แหวกน้ำเป็นสองส่วน ทำลายกองลม แล่นไปตลอด
อัชฎากาส เกลียวพระรัศมีสีเขียว เหมือนพวงแก้วมณีหมุนเป็นเกลียวผุด
ขึ้นจากพระเศียร ทะลุเทวโลก ๖ ชั้น เลยพรหมโลก ๙ ชั้น แล่นไปตลอด
อชฎากาส วันนั้น เหล่าสัตว์ไม่มี ประมาณในจักรวาลที่หาประมาณมิได้ ก็
พากันมีวรรณะดังทองไปหมด. ก็แลวันนั้น พระรัศมีเหล่านั้นที่สร้างออก
จากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยังดำเนินไปอยู่ตลอดอนันตโลกธาตุ
แม้กระทั่งทุกวันนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธ ล่วงไป
สัปดาห์หนึ่ง ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ต่อแต่นั้น ก็ประทับนั่ง ณ มุจจลินท์
อีกสัปดาห์หนึ่ง. พอพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นประทับนั่งเท่านั้น มหาเมฆซึ่ง
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 六月 28, 2023

Sattha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/667/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โพธิสัตว์เกิดในหมู่สัตว์ใด ๆ ย่อมครอบงำสัตว์อื่นในหมู่สัตว์นั้น ๆ ด้วย วรรณ
ยศ สุข พละ อธิปไตยอันอาทิผิด ยอดยิ่ง เพราะประกอบด้วยบุญวิเศษ.
เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย. ศรัทธาอาทิผิด อักขระของพระโพธิสัตว์นั้นบริสุทธิ์
ด้วยดี. ความเพียรบริสุทธิ์ด้วยดี. สติ สมาธิ ปัญญา บริสุทธิ์ด้วยดี. มี
กิเลสเบาบาง มีความกระวนกระวายน้อย มีความเร่าร้อนน้อย. เป็นผู้ว่าง่าย
เพราะมีกิเลสเบาบาง. เป็นผู้มีความเคารพ. อดทนสงบเสงี่ยม. อ่อนโยน
ฉลาดในปฏิสันถารอาทิผิด อักขระ. ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ. ไม่ริษยา
ไม่ตระหนี่. ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา. ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว. ไม่รุนแรง ไม่
ประมาท. อดทนต่อความเดือดร้อนจากผู้อื่น ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนอาทิผิด อักขระ.
อันตรายมีภัยเป็นต้นที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดในตำบลที่ตนอาศัยอยู่. และที่
เกิดแล้วย่อมสงบไป. ทุกข์มีประมาณยิ่งย่อมไม่เบียดเบียนดุจชนเป็นอันมาก
ในอบายที่ทุกข์เกิด. ย่อมถึงความสังเวชโดยประมาณยิ่ง. เพราะฉะนั้นพึง
ทราบว่าคุณวิเศษเหล่านั้น มีความเป็นทักขิไณยบุคคลเสมอด้วยบิดาเป็นต้น
ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอานิสงส์ที่พระมหาบุรุษได้ในภพนั้น ๆ ตามสมควร.
อนึ่ง แม้คุณสมบัติเหล่านี้ คือ อายุสัมปทา รูปสัมปทา กุสลสัมป-
ทา อิสริยสัมปทา อาเทยยวจนตา คือพูดเชื่อได้ มหานุภาวตา พึงทราบ
ว่า เป็นอานิสงส์แห่งบารมีทั้งหลายของมหาบุรุษ. ในคุณวิเศษเหล่านั้น
ชื่อว่า อายุสัมปทา ได้แก่ความมีอายุยืน ความตั้งอยู่นานในการเกิดนั้น ๆ
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 六月 27, 2023

Sala

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 27/231/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ความสมัครสมาน จึงได้เสด็จพุทธดำเนิน (ต่อไป) ยังป่าปาจีนวังสะ.
พระองค์ได้ตรัสอานิสงส์ในการอยู่ด้วยกันด้วยความสมัครสมานแก่
ภิกษุทั้ง ๓ รูปนั้นตลอดคืน (แล้วรุ่งเช้าเสด็จออกบิณฑบาต) ทรงให้
ภิกษุทั้ง ๓ รูปนั่นกลับในที่นั้นนั่นเอง แล้วเสด็จหลีกมุ่งสู่เมืองปาลิเลยยกะ
ตามลำพังพระองค์เดียว เสด็จถึงเมืองปาลิเลยยกะตามลำดับ ด้วยเหตุนั้น
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะเสด็จจาริกไป
ตามลำดับ ก็ได้เสด็จไปทางเมืองปาลิเลยยกะ.

ช้างอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
บทว่า ภทฺทสาลมูเล ความว่า ชาวเมืองปาลิเลยยกะถวายทาน
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้พากันสร้างบรรณศาลาถวาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าในราวป่าชื่อรักขิตะ. ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากป่า
ปาลิเลยยกะ ทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประทับอยู่อาทิผิด ว่า
ขอนิมนต์พระองค์ประทับอยู่ในบรรณศาลาอาทิผิด อักขระนี้เถิด.
ก็แล ต้นสาละบ้างต้นในราวป่านั้นนั่นแล เป็นต้นไม้ใหญ่
ประเสริฐ จึงเรียกว่า ภัททสาละ พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าไปอาศัยเมือง
นั้นประทับอยู่ที่โคนต้นไม้นั้น (ซึ่งอยู่) ใกล้บรรณศาลาในราวป่านั้น
ด้วยเหตุนั้นพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ภทฺทสาลมูเล.
ก็เมื่อพระตถาคตอาทิผิด อักขระประทับอยู่ในราวป่านั้นอย่างนั้น ช้างพลาย
ตัวหนึ่ง ถูกพวกช้างพังและลูกช้างเป็นต้น เบียดเสียดในสถานที่
ทั้งหลายมีสถานที่ออกหากินและสถานที่ลงท่าน้ำเป็นต้น เมื่อหน่าย
(ที่จะอยู่) ในโขลง คิดว่า เราจะอยู่กับช้างพวกนี่ไปทำไม จึงละโขลง
(ออก) ไปยังถิ่นมนุษย์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าในราวป่าปาลิเลยยกะ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 六月 26, 2023

Chakkrawan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/224/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จะไม่เสด็จมาน่ะสิ. เจ้าลิจฉวีอีกพวกหนึ่งตรัสว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า ทรง
เอ็นดูสัตว์ เหตุไร จะไม่เสด็จมาเล่า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้
ประทับอยู่กรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทรงอุปฐากอยู่ เกรงท้าวเธอจะไม่ให้
เสด็จมา. ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเราจะทูลพระเจ้าพิมพิสารให้ทรงเข้าพระทัยแล้ว
นำพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา แล้วทรงมอบเครื่องบรรณาการเป็นอันมากส่ง
เจ้าลิจฉวีสองพระองค์ พร้อมด้วยกองกำลังขนาดใหญ่ไปยังราชสำนักพระเจ้า-
พิมพิสาร โดยสั่งว่า ขอท่านทูลพระเจ้าพิมพิสารให้เข้าพระทัยแล้ว นำพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา เจ้าลิจฉวีทั้งสองพระอาทิผิด สระองค์เสด็จไปถวายเครื่องบรรณาการ
แด่พระเจ้าพิมพิสาร แล้วแจ้งให้ทรงทราบเรื่องราวแล้วทูลว่า ข้าแต่พระมหา-
ราชเจ้า ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดส่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังนคร
ของข้าพระองค์ด้วยเถิด. พระราชาไม่ทรงรับรองตรัสว่า พวกท่านทรงรู้เอาเอง
เถิด. เจ้าลิจฉวีก็ทูลรับว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ถวายบังคมแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภัย ๓ อย่าง
เกิดขึ้นในนครของข้าพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าฟังเสด็จมาไซร้ ความ
สวัสดีก็จะพึงมีแก่พวกข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณา
ว่าเมื่อตรัสรัตนสูตรในกรุงเวสาลีการอารักขาจักแผ่ไปแสนโกฏิจักรวาลอาทิผิด อักขระ จบสูตร
สัตว์ ๘๔,๐๐๐ จักตรัสรรู้ธรรม แล้วจึงทรงรับนิมนต์. ครั้งนั้น พระเจ้า-
พิมพิสารทรงสดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว โปรดให้
โฆษณาไปในพระนครว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์เสด็จไปกรุงเวสาลี
แล้ว เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ทรงรับ จะเสด็จไปกรุงเวสาลีหรือพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ถวายพระพร มหาบพิตร. ท้าวเธอทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น
โปรดทรงรอจนกว่าจะจัดแจงหนทางถวายนะ พระเจ้าข้า.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 六月 24, 2023

Anuyat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 8/206/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี-
กรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองอาทิผิด อาณัติกะเท้า
การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำอาทิผิด อาณัติกะของ
ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาทิผิด สระกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ
ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้ง
หลายผู้อยู่ปริวาส โดยประการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ต้องประพฤติทุกรูป.
ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ
หมวดที่ ๑
[๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติชอบ
วิธีประพฤติชอบในวัตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-
อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงให้อาทิผิด สระสามเณรอุปัฏฐาก
ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
สงฆ์ให้ปริวาสเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 六月 23, 2023

Plao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 15/60/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ฉันใด ปัญญาของพระสมณโคดมหายไปในสุญญาคาร พระสมณโคดม
ไม่กล้าเข้าสู่ที่ประชุม ไม่สามารถอาทิผิด อักขระเจรจา พระองค์ท่านทรงเสพที่อันสงัด
ณ ภายในอย่างเดียว ฉันนั้นเหมือนกัน เชิญเถิด คฤหบดี ขอเชิญพระ
สมณโคดมเสด็จมาสู่ที่ประชุมนี้ พวกเราจะพึงเหยียดหยามพระองค์ด้วย
ปัญหาข้อหนึ่ง พวกเราจะบีบรัดพระองค์เหมือนบุคคลบีบรัดหม้อเปล่าอาทิผิด อักขระ
ฉะนั้น

เรื่องนิโครธปริพาชก

[๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงสดับการเจรจาระหว่าง
สันธานคฤหบดีกับนิโครธปริพาชกนี้ด้วยพระทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์
ล่วงโสตธาตุของมนุษย์. ครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจาก
ภูเขาคิชฌกูฏแล้ว เสด็จเข้าไปยังสถานที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ที่ฝั่งสระโบก-
ขรณีสุมาคธา ครั้นแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ ในที่แจ้ง ณ สถานที่ให้เหยื่อ
แก่นกยูง ที่ฝั่งสระโบกขรณีสุมาคธา นิโครธปริพาชกเห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ณ สถานที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ที่ฝั่งสระ
โบกขรณีสุมาคธา จึงเตือนบริษัทของตนให้สงบเสียงว่า ขอท่านทั้งหลาย
จงสงบเสียง อย่าส่งเสียงดังนัก พระสมณโคดมนี้เสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง
ณ สถานที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ที่ฝั่งสระโบกขรณีสุมาคธา พระองค์โปรด
เสียงเบา และกล่าวสรรเสริญคุณของเสียงเบา บางที พระองค์ทรงทราบ
ว่า บริษัทนี้มีเสียงเบาแล้ว พึงเห็นความสำคัญที่จะเสด็จเข้าไปก็ได้ ถ้า
ว่า พระสมณโคดมจะพึงเสด็จมาสู่ที่ประชุมนี้ เราจะพึงทูลถามปัญหากะ
พระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำพระ
สาวก ด้วยธรรมใด สาวกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแล้วถึงความ
เบาใจ ย่อมรู้เฉพาะซึ่งอาทิพรหมจรรย์ อันเป็นอัชฌาศัย ด้วยธรรมใด
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 六月 22, 2023

Khrao khrao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/63/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กำหนดโดย สัณฐาน ว่ากระดูกมีสัณฐานต่าง ๆ กัน . จริงอย่างนั้น
บรรดากระดูกเหล่านั้น กระดูกปลายนิ้วเท้า มีสัณฐานเหมือนเมล็ดตุมกา ต่อ
จากนั้น กระดูกข้อกลางของนิ้วเท้า มีสัณฐานเหมือนเมล็ดขนุนที่ไม่เต็ม
กระดูกข้อต้น มีสัณฐานเหมือนบัณเฑาะว์ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณ-
ฐานเหมือนเกล็ดหางนกยูงดังนี้ก็มี กระดูกหลังเท้า มีสัณฐานเหมือนกองราก
ต้นกันทละตำ กระดูกส้นเท้า มีสัณฐานเหมือนเมล็ดผลตาลซึ่งมีเมล็ดเดียว
กระดูกข้อเท้า มีสัณฐานเหมือนลูกกลมของเล่นที่ผูกรวมกัน กระดูกชิ้นเล็กใน
กระดูกแข้งอาทิผิด อาณัติกะ มีสัณฐานเหมือนคันธนู กระดูกชิ้นใหญ่มีสัณฐานเหมือนเส้นเอ็น
แห้งเพราะหิวระหาย ที่กระดูกแข้งตั้งอยู่ในกระดูกข้อเท้า มีสัณฐาน
เหมือนหน่อต้นเป้งลอกเปลือก ที่กระดูกแข้งตั้งอยู่ในกระดูกเข่า มีสัณฐาน
เหมือนยอดตะโพน กระดูกเข่า มีสัณฐานเหมือนฟองน้ำตัดข้างหนึ่ง กระดูก
ขาสัณฐานเหมือนด้ามมีดและขวานที่ถากอาทิผิด สระคร่าว ๆ ที่กระดูกขาตั้งอยู่ในกระดูก
สะเอว มีสัณฐานเหมือนคันหลอดอาทิผิด เป่าไฟของช่างทอง โอกาสที่กระดูกขาตั้ง
อยู่ในกระดูกสะเอวนั้น มีสัณฐานเหมือนผลบุนนาคตัดปลาย. กระดูกสะเอว
แม้มี ๒ ก็ติดเป็นอันเดียวกัน มีสัณฐานเหมือนเตาไฟที่ช่างหม้อสร้างไว้
อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัณฐานเหมือนหมอนข้างของดาบสดังนี้ก็มี. กระดูก
ตะโพก มีสัณฐานเหมือนคราบงูที่เขาวางคว่ำหน้า กระดูกสันหลัง ๑๘ ชิ้นมี
ช่องเล็กน้อยในที่ ๗- ๘ แห่ง ภายในมีสัณฐานเหมือผืนผ้าโพกศีรษะที่วาง
ซ้อน ๆ กัน ภายนอก มีสัณฐานเหมือนแล่งกลม กระดูกสันหลังเหล่านั้น
มีหนามอาทิผิด อักขระ ๒ - ๓ อัน เสมือนฟันเลื่อย. บรรดากระดูกซี่โครง ๒๔ ชิ้น ส่วน
ที่บริบูรณ์ มีสัณฐานเหมือนเคียวอาทิผิด อักขระชาวสิงหลที่บริบูรณ์ ส่วนที่ไม่บริบูรณ์ มี
สัณฐานเหมือนเคียวชาวสิงหลที่ไม่บริบรูณ์ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ทั้งหมด
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 六月 20, 2023

Sen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 14/407/23 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คำว่า ติโรราชาอาทิผิด อักขระโน พระราชาภายนอก ความว่า พระราชาทั้งหลาย
ในภายนอกแคว้น คือในชนบทอื่น ก็รู้. คำว่า อพฺยตฺโต คือ ผู้ไม่มีปัญญา
กล้า ผู้ไม่ฉลาด. คำว่า โกเปนปิ ความว่า คนเหล่าใด กล่าวกะเราอย่างนี้
ข้าพเจ้าก็จักชัก จักนำ จักพาเขา ซึ่งมีทิฏฐิอย่างนั้นเที่ยวไป ด้วยความโกรธ
ที่เกิดในคนเหล่านั้น. คำว่า มกฺเขน ด้วยมักขะ คือ ความลบหลู่ ที่มีลักษณะ
ลบหลู่เหตุที่ท่านกล่าวแล้ว. คำว่า ปลาเสน ด้วยปลาสะ คือ ความตีตนเสมอ
อันมีลักษณะที่ถือว่าเป็นคู่ (เคียง) กับท่าน.
คำว่า หรีตกปณฺณํ ในสมอ คือ สมอ ชนิดใดชนิดหนึ่ง. อธิบายว่า
โดยที่สุด แม้ใบหญ้าอ่อนก็ไม่มี. คำว่า อาสนฺนทฺธกลาปํ คือ ผู้มีแล่งธนูอัน
ผูกสอดไว้แล้ว. คำว่า อาสิตฺโตทกานิ วฏุมานิ คือ หนทางและห้วยละ
หาร มีน้ำบริบูรณ์. คำว่า โยคฺคานิ คือ ยานเทียมโคงาน. คำว่า พหุนิกฺข-
นุตโร ความว่า ออกไปมาก ออกไปนานแล้ว. คำว่า ยถาภเตน ภณฺเฑน
ความว่า สิ่งของ คือหญ้าไม้และน้ำอันใด ที่พวกท่านบรรทุกมา ก็จงยังหมู่
เกวียนให้เป็นไป ด้วยสิ่งของที่ท่านนำมา บรรทุกมา พามา นั้นเถิด. คำว่า
อปฺปสารานิ คือมีค่าน้อย. คำว่า ปณิยานิ แปลว่า สิ่งของทั้งหลาย.
คำว่า มม จ สูกรภตฺตํ ความว่า นี้เป็นอาหารแห่งสุกรทั้งหลาย ของ
ข้าพเจ้า. คำว่า อุคฺฆรนฺตํ แปลว่า ไหลขึ้น. คำว่า ปคฺฆรนฺตํ แปลว่า ไหล
ลง. คำว่า ตุมฺเห เขฺวตฺถ ภเณ แปลว่า แน่ะอาทิผิด อาณัติกะพนาย พวกท่านต่างหาก เป็นบ้า
เสียจริต ในเรื่องนี้. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. คำว่า ตถา หิ ปน
เม สูกรภตฺตํ แปลว่า แต่ถึงอย่างนั้น คูถนี้ก็เป็นอาหารแห่งสุกรทั้งหลายของ
ข้าพเจ้า.
คำว่า อาคตาคตฺ กลึ แปลว่า กลืนเบี้ยแพ้ที่ทอดมาถึง ๆ เสีย. คำว่า
ปโชหิสฺสามิ ความว่า ข้าพเจ้าจักทำการเซ่นอาทิผิด  จักทำการบวงสรวง. คำว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 六月 19, 2023

Samrap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/224/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เสนาธิการ กองตะลุมบอนเหมือนช้างที่วิ่งเข้าสู่สงคราม กอง
ทหารหาญ กองทหารโลหะ กองเกราะหนัง กองทหารทาส นี้เป็น
เครื่องป้องกันนครประการที่ ๕ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง มีทหารยามฉลาดสามารถดี ห้ามไม่ให้
คนที่ไม่รู้จักเข้าอนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า นี้เป็นเครื่องป้องกันนคร
ประการที่ ๖ สำหรับอาทิผิด สระคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อม
ก่ออิฐถือปูนดี นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๗ สำหรับ
คุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ปัจจันตนครมีการ
ป้องกันดี ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้แล.
ปัจจันตนครหาอาหาร ๔ ประการ ได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก เป็นไฉน คือในปัจจันตนครของพระราชา
มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้ง
กลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และข้าว-
เหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่ง
ชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก.
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และ
อปรัณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นใจอาทิผิด สระ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุข
แห่งชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 六月 16, 2023

Trueng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/353/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นายพรานถูกตรึงอาทิผิด อักขระด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวานของสุมุขหงส์นั้น จึงกล่าว
คาถาว่า
เรามิได้ผูกท่านไว้ และไม่ปรารถนาจะฆ่าท่าน
เชิญท่านรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา แล้วจงอยู่
เป็นสุขตลอดกาลนานเถิด.
ลำดับนั้น สุมุขหงส์จึงกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า
ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ โดยเว้นจาก
ชีวิตของพญาหงส์นี้ ถ้าท่านยินดีเพียงตัวเดียว ขอ
ให้ท่านปล่อยพญาหงส์นี้ และจงกินข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
ทั้งสองเป็นผู้เสมอกัน ด้วยรูปทรงสัณฐานและวัย
ท่านไม่เสื่อมแล้วจากลาภอาทิผิด อักขระ ขอท่านจงเปลี่ยนข้าพเจ้า
กับพญาหงส์นี้เถิด เชิญท่านพิจารณาดูในข้าพเจ้า
ทั้งสอง เมื่อท่านมีความปรารถนาเฉพาะตัวเดียว จง
เอาบ่วงผูกข้าพเจ้าไว้ก่อน จงปล่อยพญาหงส์ใน
ภายหลัง ถ้าท่านทำตามที่ข้าพเจ้าขอร้อง ลาภของท่าน
ก็คงมีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน ทั้งท่านจะได้เป็น
มิตรกับฝูงหงส์ธตรฐจนตลอดชีวิตด้วย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตํ ความว่า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาความ
เป็นอยู่ของข้าพเจ้าโดยปราศจากชีวิตของพญาหงส์นี้เลย. บทว่า ตุลฺยสฺมา
ได้แก่ ข้าพเจ้าทั้งสองย่อมเป็นผู้สม่ำเสมอกัน. บทว่า นิมินา ตุวํ คือ
ท่านจงแลกเปลี่ยนตัวกันเสียเถิด. บทว่า ตวสฺมสุ ความว่า สุมุขหงส์นั้น
กล่าวว่า ท่านมีความปรารถนาในข้าพเจ้าทั้งสอง ท่านจะประโยชน์อะไร
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 六月 13, 2023

Khochon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/222/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผันแปรไป ลมอาทิผิด อักขระนอกทางก็พัดผิดทาง ครั้นลมนอกทางพัดผิดทาง เทวดา
ทั้งหลายก็ปั่นป่วน ครั้นเทวดาทั้งหลายปั่นป่วน ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล ครั้น
ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์
ทั้งหลายบริโภคข้าวที่สุกไม่ดี ย่อมอายุสั้น ผิวพรรณก็ไม่งาม กำลังก็ลดถอย
และมีอาพาธมาก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอาทิผิด อักขระ ในสมัยใด พระราชาทั้งหลายประพฤติเป็นธรรม
ในสมัยนั้น แม้ข้าราชการทั้งหลายก็ประพฤติเป็นธรรมไปด้วย เมื่ออาทิผิด ข้าราชการ
ทั้งหลายประพฤติเป็นธรรม พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็ประพฤติเป็นธรรม
บ้าง เมื่อพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายประพฤติเป็นธรรม ชาวบ้านชาวเมือง
ก็ประพฤติเป็นธรรมไปตามกัน ครั้นชาวบ้านชาวเมืองประพฤติเป็นธรรม
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็โคจรอาทิผิด สม่ำเสมอ ครั้นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์โคจรสม่ำเสมอ
ดาวนักษัตรทั้งหลายก็เดินสม่ำเสมอ ครั้นดาวนักษัตรทั้งหลายเดินสม่ำเสมอ
คืนและวันก็ตรง ครั้นคืนและวันตรง เดือนและปักษ์ก็ตรง ครั้นเดือนและ
ปักษ์ตรง ฤดูและปีก็สม่ำเสมอ ครั้นฤดูและปีสม่ำเสมอ ลมก็พัดเป็นปกติ
ครั้นลมพัดเป็นปกติ ลมในทางก็พัดไปถูกทาง ครั้นลมในทางพัดไปถูกทาง
เทวดาทั้งหลายก็ไม่ปั่นป่วน ครั้นอาทิผิด อาณัติกะเทวดาทั้งหลายไม่ปั่นป่วน ฝนก็ตกตาม
ฤดูกาล ครั้นฝนตกตามอาทิผิด อักขระฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกได้ที่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคข้าวที่สุกได้ที่ ย่อมมีอายุยืน ผิวพรรณงาม มีกำลัง
และมีอาพาธน้อย
เมื่อฝูงโคข้ามฟากอยู่ ถ้าโคโจกตัว
นำฝูงไปคด โคนอกนั้นไปคดตามกัน
ในหมู่มนุษย์เหมือนกัน ถ้าท่านผู้ได้รับ
สมมติให้เป็นใหญ่ ประพฤติไม่เป็นธรรม
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 六月 10, 2023

Nueang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/207/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๕๒๓] ในบทเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องอาทิผิด อาณัติกะในมรรค อันใด นี้เรียกว่า วิริยะ.
สมาธิ เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.
ปธานสังขาร เป็นไฉน ?
การปรารภความอาทิผิด อักขระเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิริยะ สมาธิ และ
ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิ-
ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.
[๕๒๔] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้ดี ความดี ความถึงด้วยดี ความ
ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.
คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของ
บุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.
คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง
ธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
[๕๒๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธาน-
สังขาร เป็นอย่างไร ?
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 六月 06, 2023

Khong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 88/666/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นีวรณธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่
นีวรณธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
นีวรณธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ ๓)
นีวรณธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่นีวรณธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดหลัง ๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
๔. ธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่นีวรณธรรม ด้วยอำนาจของอาทิผิด อักขระอนันตรปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่นีวรณธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่นีวรณธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ ๕)
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่นีวรณธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่นีวรณ-
ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่นีวรณธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ ๖)
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่นีวรณธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่นีวรณ-
ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลัง ๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 六月 05, 2023

Sing

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/401/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พื้น. สามเณรนั้น มีนัยตาเหลือก น้ำลายไหล ดิ้นอยู่ที่พื้น. เพราะเหตุนั้น
ท่าน จึงกล่าวว่า บุตรชื่อว่าสานุของอุบาสิกาถูกยักษ์สิงแล้ว.
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า อุบาสิกา เห็นอาการแปลกนั้น ของบุตร
มาแล้วโดยเร็ว กอดบุตรให้นอนบนขา. ชาวบ้านทั้งสิ้นมาทำพิธีมีพลีกรรมเป็น
ต้น. อุบาสิกา เมื่อคร่ำคราญ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้. บทว่า ปาริหาริกปกฺ-
ขญฺจ ความว่า พวกมนุษย์คิดว่า เราจักทำการรับและการส่งอุโบสถดิถีที่ ๘
จึงสมาทานองค์อุโบสถในดิถีที่ ๗ บ้าง ดิถีที่ ๙ บ้าง. เมื่อทำการรับและการ
ส่งดิถีที่ ๑๔ และ ๑๕ สมาทานในดิถีที่ ๑๓ บ้าง ในวันปาฏิบทบ้าง. มนุษย์
คิดว่า พวกเราจักทำการส่งการอยู่จำพรรษา เป็นผู้รักษาอุโบสถเป็นนิตย์ กึ่ง
เดือนระหว่างปวารณาทั้งสอง. อุบาสิกา หมายเอาข้อนี้ จึงกล่าวว่า ปาริหา-
ริกปกฺขญฺจ. บทว่า อฏฺฐงฺคสุสมาคตํ ความว่า ประกอบด้วย คือ
ประกอบดีแล้วด้วยองค์ ๘. บทว่า พฺรหฺมจริยํ แปลว่า ประพฤติประเสริฐ.
บทว่า น เตหิ ยกฺขา กีฬนฺติ ความว่า พวกยักษ์ ย่อมไม่สิงชนเหล่านั้น
เล่น. นางยักษิณี สิงอาทิผิด อาณัติกะที่ร่างของสามเณรแล้ว จึงกล่าว คาถาเหล่านี้ว่า จาตุทฺทสึ
ดังนี้อีก. บทว่า อาวิ วา ยทิ วา รโห ความว่า ในที่ต่อหน้า หรือในที่
ลับหลังใคร ๆ. บทว่า ปมุตฺยตฺถิ ตัดบทว่า ปมุตฺติ อตฺถิ แปลว่า ความ
พ้น มีอยู่.
บทว่า อุปฺปจฺจาปิ แปลว่า แม้เหาะไป. นางยักษิณีกล่าวว่า ถ้า
เจ้าจะเหาะหนีไป เหมือนนก แม้อย่างนั้นเจ้าก็พ้นไปไม่ได้. ก็แลครั้นกล่าว
อย่างนี้แล้ว จึงปล่อยสามเณร. สามเณรลืมตา. มารดา สยายผม ร้องไห้
สะอึกสะอื้น. สามเณรนั้นไม่รู้ว่า เราถูกอมนุษย์สิงแล้ว. ก็สามเณร แลดูอยู่
คิดว่า ในก่อน เรานั่งบนตั่งแล้ว มารดานั่งซาวข้าวอยู่ในที่ไม่ไกลเรา แต่เดี๋ยว
นี้ เรานั่งแล้วบนพื้น ส่วนมารดาของเรา ร้องไห้อาทิผิด สระสะอึกสะอื้นอยู่ แม้ชาว
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 六月 04, 2023

Yu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/411/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโน-
สัมผัสหามิได้ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ อย่างนี้
แล.
จบโนสัมผัสสสูตรที่ ๓

อรรถกถาโนสัมผัสสสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในโนสัมผัสสสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.
บทว่า โน มโนสมฺผสสํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ มโนธาตุ พึง
เห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า อาวัชชนะ กิริยามโนวิญญาณธาตุจะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะที่ประกอบด้วยปฐมชวนะในมโนทวาร ก็หามิได้.
จบอรรถกถาโนสัมผัสสสูตรที่ ๓.

๔. เวทนาสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา

[๓๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
เวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ก็ความต่างแห่งธาตุเป็น
 
พระปิฎกธรรม