Nam
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 4/576/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ฟัน เข้าไป (ในลำคอ) เป็นอาบัติเหมือนกัน. ถ้าอามิสละเอียด รสไม่ปรากฏ,
จัดเข้าฝักฝ่ายแห่งอัพโพหาริก.
เมื่อเวลาจวนแจ ภิกษุฉันอาหารในที่ไม่มีน้ำ ขากบ้วนน้ำลาย ทิ้งไป
๒ - ๓ ก้อน แล้วพึงไปยังที่มีน้ำบ้วนปากเถิด. หน่อขิงที่รับประเคนเก็บไว้เป็น
ต้นงอกออก, ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคนใหม่. ไม่มีเกลือจะทำเกลือด้วยน้ำ
ทะเล ควรอยู่. น้ำเค็มที่ภิกษุรับประเคนเก็บไว้กลายเป็นเกลือ หรือเกลือกลาย
เป็นน้ำ, น้ำอ้อยสดกลายเป็นน้ำอ้อยแข้นหรือน้ำอ้อยแข้นกลายเป็นน้ำอ้อยเหลว
ไป การรับประเคนเดิมนั่นแหละยังใช้ได้อยู่. หิมะและลูกเห็บ มีคติอย่างน้ำ
นั้นแล.
พวกภิกษุกวน (แกว่ง) น้ำให้ใสด้วยเมล็ดผลไม้ที่ทำน้ำให้ใส (เมล็ด
ตุมกาก็ว่า) ซึ่งเก็บรักษาไว้, น้ำมีน้ำอาทิผิด สระที่กวนให้ใสเป็นต้นนั้น เป็นอัพโพหาริก
ระคนกับอามิส ก็ควร. น้ำที่กวนให้ใสด้วยผลมะขวิดเป็นต้น ที่มีคติเหมือน
อามิส ควรแต่ในเวลาก่อนฉันเท่านั้น. น้ำในสระโบกขรณีเป็นต้น ขุ่นข้น
ก็ควร แต่ถ้าว่า น้ำขุ่นข้นนั้น ติดปากและมือ ไม่ควร. น้ำนั้นควรรับประเคน
แล้วจึงบริโภค. น้ำขุ่นข้นในสถานที่ถูกไถในนาทั้งหลาย พึงรับประเคน.
ถ้าน้ำไหลลงสู่ลำธารเป็นต้น แล้วเต็มแม่น้ำ ควรอยู่.
ชลาลัยมีบึงซึ่งมีต้นกุ่มเป็นต้น มีน้ำอันดาดาษไปด้วยดอกไม้ที่หล่น
จากต้น. ถ้ารสดอกไม้ไม่ปรากฏ ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคน. ถ้าน้ำน้อยอยู่ มี
รสปรากฏ พึงรับประเคน. แม้ในน้ำที่ปกคลุมด้วยใบไม้สีดำในลำธารทั้งหลาย
มีซอกเขาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ดอกไม้ทั้งหลายมีเกสรก็ดี มีน้ำต้อยที่ขั้ว
ก็ดี (มีขั้วและน้ำนมก็ดี) เขาใส่ลงในหม้อน้ำดื่ม, พึงรับประเคน. หรือว่า
ดอกไม้ทั้งหลายภิกษุรับประเคนแล้วพึงใส่ลงไปเถิด. ดอกแคฝอยและดอกมะลิ
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论