星期一, 一月 17, 2011

Gavesanto

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 42/179/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
“ เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบ
จึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร มีชาติเป็นอเนก ความเกิด
บ่อยๆ เป็นทุกข์, แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่าน
แล้ว, ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้, ซี่โครงทุกซี่ของท่าน
เราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว, จิตของ
เราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว, เพราะเรา
บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว. ”
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า คหการํ คเวสวสนฺโตอาทิผิด อักขระ ความว่า เรา
เมื่อแสวงหานายช่างคือตัณหาผู้ทำเรือน กล่าวคืออัตภาพนี้มีอภินิหารอัน
ทำไว้แล้ว แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร เพื่อ
ประโยชน์แก่พระญาณ อันเป็นเครื่องอาจเห็นนายช่างนั้นได้ คือพระ-
โพธิญาณ เมื่อไม่ประสบ ไม่พบ คือไม่ได้พระญาณนั้นแล จึงท่องเที่ยว
คือเร่ร่อน ได้แก่วนเวียนไป ๆ มา ๆ สู่สงสารมีชาติเป็นอเนก คือสู่
สังสารวัฏนี้ อันนับได้หลายแสนชาติ สิ้นกาลมีประมาณเท่านี้.
คำว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํอาทิผิด สระ นี้ เป็นคำแสดงเหตุแห่งการแสวงหา
ช่างผู้ทำเรือน. เพราะชื่อว่าชาตินี้ คือการเข้าถึงบ่อย ๆ ชื่อว่าเป็นทุกข์
เพราะภาวะที่เจือด้วยชรา พยาธิและมรณะ. ก็ชาตินั้น เมื่อนายช่างผู้ทำ
เรือนนั้น อันใครๆ ไม่พบแล้ว ย่อมไม่กลับ. ฉะนั้น เราเมื่อแสวงหา
นายช่างผู้ทำเรือน จึงได้ท่องเที่ยวไป.
๑. ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป. ๒. อีกนัยหนึ่ง ผาสุกกา เป็นคำเปรียบกับเครื่องเรือน แปลว่า
จันทันเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว. ๓. บาลีเป็น คหการกํ.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: