星期一, 一月 24, 2011

Khwam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/96/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาปฐมปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๗
ปฐมปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อิทมฺเม เจตโส ลีนตฺตํ ความอาทิผิด สระว่า เมื่อจิตหดหู่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุย่อมรู้ตามสภาวะความเป็นจริงว่า จิตของเรานี้หดหู่ จิตไปตาม
ถีนมิทธะ ชื่อว่าจิตหดหู่ในภายใน จิตที่กวัดแกว่งไปในกามคุณ ๕
ชื่อว่าจิตฟุ้งไปในภายนอก บทว่า เวทนาเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงถือเอาด้วยอำนาจมูลแห่งธรรมอันเป็นเครื่องเนิ่นช้า. ด้วยว่า
เวทนาเป็นมูลแห่งตัณหา เพราะตัณหาเกิดขึ้นด้วยอำนาจความสุข
สัญญาเป็นมูลของทิฏฐิ เพราะทิฏฐิ เกิดขึ้นในอวิภูตารมณ์ อารมณ์
ที่ไม่ชัดแจ้งวิตกเป็นมูลแห่งมานะ เพราะอัสมิมานเกิดขึ้นด้วย
อำนาจวิตก. บทว่า สปฺปายา สมฺปาเยสุ ได้แก่ที่เป็นอุปการะและ
ไม่เป็นอุปการะ. บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ เหตุ. คำที่เหลือในบททั้งปวง
ง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: