星期二, 一月 18, 2011

Kon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 15/183/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เธอจึงกล่าว ท่านจักไม่ได้อะไรแม้เพียงก้อนอาทิผิด อาณัติกะโคมัยสด. บทว่า ปาตพฺยตํ ได้
แก่ความส้องเสพ. บทว่า สนฺนิธิการกํ ได้แก่ทำการสั่งสม. บทว่า อปาทานํ
ปญฺญายิตฺถ ความว่า ที่ที่เขาเก็บไปแล้วได้ปรากฏเป็นของพร่องไป. บทว่า
สณฺฑสณฺฑา ความว่า เป็นกลุ่ม ๆ เหมือนจัดไว้เป็นพวกหมู่ในที่หนึ่ง ๆ.
บทว่า มริยาทํ ฐเปยฺยาม ความว่า พวกเราจะตั้งเขตแบ่งกัน.
บทว่า ปาณินา ปหรึสุ ความว่า สัตว์เหล่านั้นเอามือตีคนที่ไม่เชื่อคำตน
ถึง ๓ ครั้ง บทว่า ตทคฺเค โข ปน แปลว่า เพราะทำเหตุนั้นเป็นสิ่งสำคัญ.
บทว่า ขียิตพฺพํ ขีเยยฺย อธิบายว่า พึงประกาศบอกบุคคลผู้ควรประกาศ
คือติเตียนบุคคลที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่. บทว่า โย เนสํ สตฺโต
ความว่าบรรดาสัตว์เหล่านั้นสัตว์ผู้ใด. ถามว่า ก็สัตว์นั้นเป็นใคร. ตอบว่า
คือพระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย. หลายบทว่า สาลีนํ ภาคํ อนุปฺปทสฺสาม
ความว่าเราจักนำข้าวสาลีมาจากไร่ของแต่ละคน ๆ ละทะนาน แล้วจะให้
ส่วนข้าวสาลีแก่ท่าน ท่านไม่ต้องทำงานอะไร ขอท่านจงตั้งอยู่ในฐานะ
เป็นหัวหน้าของเราทั้งหลายเถิด.
บทว่า อกฺขรํ อุปนิพฺพตฺตํ ความว่า เกิดบัญญัติโวหารซึ่งเข้าใจ
กันได้ด้วยการนับ. คำว่า ขตฺติโย ขตฺติโย ดังนี้เป็นคำที่เกิดขึ้นคำที่
สอง. บทว่า อกฺขรํ ความว่า ไม่ใช่เฉพาะอักษรอย่างเดียวเท่านั้น แต่
พวกสัตว์เหล่านั้นยังได้ทำการอภิเษกบุคคลนั้น ด้วยการยกย่องถึง ๓ ครั้ง
ว่า ขอให้ท่านจงเป็นใหญ่ในนาของพวกเราดังนี้. บทว่า รญฺเชติ
แปลว่า ย่อมยังผู้อื่นให้มีความสุขเอิบอิ่ม บทว่า อคฺคญฺเญน ความว่า การ
บังเกิดขึ้นด้วยอักษร อันเกิดขึ้นในสมัยแห่งโลกเกิดขึ้น ที่รู้กันว่าเลิศหรือ
รู้จักกันในส่วนเลิศ
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: