星期日, 三月 06, 2011

Thamlai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/252/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จำไว้อย่างนี้ ผู้นี้จะหนีไม่ได้ จักทำการของเรา ดังนี้ ก็ดี ผู้นั้นแม้ทำลายอาทิผิด อักขระเครื่อง
จำหนีไป ก็ควรให้บวช.
ฝ่ายผู้ใดรับผูกขาดบ้าน นิคม และท่า เป็นต้น ด้วยส่วย ไม่ส่ง
ส่วยนั้นให้ครบ ถูกส่งไปยังเรือนจำ ผู้นั้นหนีมาแล้ว ไม่ควรให้บวช.
แม้ผู้ใดรวมเก็บทรัพย์ไว้ เลี้ยงชีวิตด้วยกสิกรรมเป็นต้น ถูกใคร ๆ
ส่อเสียดใส่โทษเอาว่า ผู้นี้ได้ขุมทรัพย์ แล้วถูกจองจำจะให้ผู้นั้นบวชในถิ่นนั้น
เอง ไม่ควร. แต่จะให้เขาซึ่งหนีไปแล้วบวชในที่ซึ่งไปแล้วทุกตำบล ควรอยู่.
ในข้อนี้ว่า น ภิกฺขเว ลิขิตโก เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่าบุคคลที่
ชื่อว่าผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้ จะได้แก่ผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้ว่า พบเข้าในที่ใด ให้
ฆ่าเสียในที่นั้น ดังนี้ อย่างเดียวหามิได้ โดยที่แท้ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งกระทำโจรกรรม
หรือความผิดในพระราชาอย่างหนักชนิดอื่นแล้วหนีไป และพระราชารับสั่งให้
เขียนผู้นั้นลงในหนังสือหรือใบลานว่า ผู้มีชื่อนี้ ใครพบเข้าในที่ใด พึงจับฆ่า
เสียในที่นั้นหรือว่า พึงตัดอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นของมันเสีย หรือว่า พึง
ให้นำมาซึ่งสินไหมมีประมาณเท่านี้ ผู้นี้ชื่อผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้. ผู้นั้นไม่ควร
ให้บวช.
ในคำว่า กสาหโต กตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า ผู้ใดไม่ยอม
ทำการมีให้การและยอมรับใช้เป็นต้น จึงถูกลงอาชญา ผู้นั้นไม่นับว่าผู้ถูกลง
ทัณฑกรรม. ฝ่ายผู้ใดรับเก็บทรัพย์บางอย่าง โดยเป็นส่วน หรือโดยประการ
อื่นแล้วกินเสีย เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้ จึงถูกเฆี่ยนด้วยหวายว่า นี้แล จง
เป็นสินไหมอาทิผิด ของเจ้า ผู้นี้ชื่อ ผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย ถูกลงทัณฑกรรม. ก็แล
เขาจะถูกเฆี่ยนอาทิผิด อาณัติกะด้วยหวายหรือถูกด้วยไม้ค้อนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จง
ยกไว้ แผลยังสดอยู่เพียงใด ไม่ควรให้บวชเพียงนั้น. ต่อกระทำแผลทั้งหลาย
ให้กลับเป็นปกติแล้วจึงควรให้บวช.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: