星期四, 八月 18, 2011

Bandu Kamphon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 44/427/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาชุณหสูตร

ชุณหสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กโปตกนฺทรายํ ได้แก่ ในวิหารมีชื่ออย่างนั้น. ได้ยินว่า
เมื่อก่อนนกพิราบเป็นอันมากอยู่ในซอกเขานั้น. ด้วยเหตุนั้น ซอกเขานั้น
จึงเรียกกันว่า กโปตกันทรา. ภายหลังถึงเขาสร้างวิหารไว้ในที่นั้น ก็ยัง
ปรากฏว่า กโปตกันทรา อยู่นั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กโป-
ตกนฺทรายนฺติ เอวํนามเก วิหาเร.
บทว่า ชุณฺหาย รตฺติยา ได้แก่ ในราตรีศุกลปักษ์. บทว่า นโว-
โรปิเตหิ เกเสหิ ได้แก่ มีผมที่ปลงไม่นาน ก็คำว่า เกเสหิ นี้ เป็น
ตติยาวิภัตติ ใช้ในลักษณะอิตถัมภูต. บทว่า อพฺโภกาเส ได้แก่ ที่เนิน
กลางแจ้งที่ไม่มีเครื่องมุงหรือเครื่องบัง. ในพระเถระเหล่านั้น ท่านพระ-
สารีบุตรมีวรรณดุจทองคำ ท่านมหาโมคคัลลานะมีวรรณดังดอกอุบลเขียว
ก็พระมหาเถระทั้งสององค์นั้นเป็นชาติพราหมณ์โดยเฉพาะ สมบูรณ์ด้วย
อภินิหาร สิ้นหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป บรรลุปฏิสัมภิทา ๖ เป็นพระ-
ขีณาสพผู้ใหญ่ ได้สมาบัติทุกอย่าง ถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ ๖๗ ประการ
ทำกโปตกันทราวิหารแห่งเดียวกันให้สว่างไสวไพโรจน์ เหมือนสีหะ ๒ ตัว
อยู่ถ้ำทองแห่งเดียวกัน เหมือนเสือโคร่ง ๒ ตัว หยั่งลงสู่พื้นที่เหยียดกาย
แห่งเดียวกัน เหมือนพญาช้างฉัททันต์ ๒ เชือก เข้าป่าสาลวันซึ่งมีดอก
บานสะพรั่งแห่งเดียวกัน เหมือนพญาครุฑ ๒ ตัวอยู่ป่าฉิมพลีแห่งเดียว
กัน เหมือนท้าวเวสวัณ ๒ องค์ ขึ้นยานสำหรับพาคนไปยานเดียวกัน
เหมือนท้าวสักกะ ๒ องค์ ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลอาทิผิด สระศิลาอาสน์เดียวกัน
เหมือนท้าวมหาพรหม ๒ องค์ อยู่ในวิมานเดียวกัน เหมือนดวงจันทร์ ๒
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: