星期四, 十月 20, 2011

Bukkhon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/465/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผ้าปาวาร ผ้าโกเชาว์ เป็นต้น (ผ้ามีขนอ่อน และผ้าทำด้วยขนแกะ). ก็แม้
อาสนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้ว ด้วยศัพท์ว่า เสยฺย ในคำว่า
เสยฺยาวสถํ นี้. บทว่า อาวสถํ ได้แก่ ที่อาศัย อันเป็นเครื่องบรรเทาอันตราย
มีลมและแดดเป็นต้น. บทว่า ปทีเปยฺยํ ได้แก่เครื่องอุปกรณ์แห่งแสงสว่าง
มีประทีปและตะเกียงเป็นต้น.
บทว่า เอวํ โข ภิกฺขเว ความว่า เมื่อไทยธรรมมีอยู่ บุคคลไม่
ให้ ของที่จะต้องให้อย่างนี้ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ย่อมเป็น
เช่นกับเมฆที่ไม่ให้ฝนตก. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมฆ
หนา ๑๐๐ ชั้น ๑,๐๐๐ ชั้น ตั้งขึ้นแล้ว ไม่โปรยอะไร ๆ ลงมาเลย จางหายไปฉันใด
คนใดรวบรวมสมบัติอันโอฬาร และไพบูลย์ อยู่ครอบครองเรือนก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ไม่ให้ภิกษาแม้ทัพพีเดียว หรือข้าวยาคู เพียงกระบวยเดียวแก่ใคร ๆ
หลีกไปเสีย. หมดอำนาจ ย่อมไปสู่ปากแห่งมัจจุ คนผู้นั้นย่อมชื่อว่าเหมือน
เมฆ ที่ไม่ให้ฝนตกดังนี้. แม้ในบทที่เหลือ พึงทราบพระดำรัส ตรัสย้ำโดย
นัยนี้.
ก็ในบุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ บุคคลพวกแรกพึงถูกตำหนิ โดยส่วน
เดียวเท่านั้น. คนพวกที่สอง น่าสรรเสริญ คนพวกที่สาม น่าสรรเสริญกว่า
(คนพวกที่สอง). อีกนัยหนึ่ง บุคคลอาทิผิด สระพวกแรก พึงทราบว่าเลวกว่าบุคคลทุก
ประเภท พวกที่ ๒ พึงทราบว่า ปานกลาง พวกที่ ๓ พึงทราบว่าสูงสุดดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. บทว่า สมเณ เป็น
พหูพจน์ โดยเป็นทุติยาวิภัตติ. แม้ในบทที่เหลือก็เช่นนั้น. บทว่า ลทฺธาน
แปลว่า ได้ (ปฏิคาหก) แล้วปรารถนา สมณะผู้เป็นทักขิไณยบุคคลแล้วถูก
ถามแล้ว ก็ไม่จัดแบ่งให้. บทว่า อนฺนปานญฺจ โภชนํ ความว่า ไม่จัด
แบ่งข้าวหรือน้ำ หรือโภชนะอันควรแก่การบริโภคอย่างอื่น ที่มีอยู่. ก็ในพระ
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: