星期二, 十月 18, 2011

Ruesi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/411/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่
ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุเห็น
รูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรม
และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ. ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบโทณสูตรที่ ๒
อรรถกถาโทณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยโทณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตฺวํปิ โน แก้เป็น ตฺวมฺปิ นุ แปลว่า แม้ท่านหนอ.
บทว่า ปวตฺตาโร คือ ผู้สอน. บทว่า เยสํ คือ เป็นสมบัติของฤๅษีอาทิผิด สระ
เหล่าใด. บทว่า มนฺตปทํ ได้แก่ มนต์ คือ พระเวทนั่นเอง. บทว่า
คีตํ ได้แก่ พวกโบราณพราหมณ์ ๑๐ คน มีอัฏฐกพราหมณ์เป็นต้นสาธยาย
แล้วด้วยสรภัญญสมบัติ คือ เสียง. บทว่า ปวุตฺตํ ได้แก่ บอกกล่าว
[สอน] แก่คนอื่น. บทว่า สมิหิตํ ได้แก่ รวบรวม คือ ทำให้เป็นกอง
อธิบายว่าตั้งไว้เป็นกลุ่มเป็นก้อน. บทว่า ตทนุคายนฺติ ความว่า บัดนี้พราหมณ์
ทั้งหลายก็ขับสาธยายมนต์ตามที่โบราณพราหมณ์เหล่านั้นขับมาก่อน. บทว่า
ตทนุภาสนฺติ ได้แก่ กล่าวมนต์นั้นตาม. บทนี้เป็นไวพจน์ของบทก่อนนั่นแล.
บทว่า ภาสิตมนุภาสนฺติ ได้แก่ กล่าวตามที่พวกโบราณพราหมณ์เหล่านั้น
กล่าวไว้. บทว่า สชฺฌายิตมนุสชฺฌายนฺติอาทิผิด ได้แก่ สาธยายตามที่พวก
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: