星期三, 二月 29, 2012

Dueat Ron

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 46/428/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเมื่ออายตนะภายในและภายนอก
ทั้งหกเกิดขึ้น สัตวโลกจึงเกิดขึ้น และสังขารโลกก็ย่อมเกิดขึ้น ด้วยอำนาจ
แห่งทรัพย์และธัญชาติเป็นต้น และเพราะสัตวโลกย่อมกระทำความเชยชิดแม้
สองอย่าง ในอายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นแล ในสังขารโลกนี้ หรือ เมื่อยึดถือ
อายตนะคือจักษุว่า " เรา ของเรา " หรือยึดถืออายตนะอื่นในบรรดาอายตนะที่
เหลือ ย่อมยึดถือ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า คนใดพึงกล่าวว่า จักษุเป็นตัวตน
คนนั้น (พึงยึดถือจักษุนั้นนั่นเทียว) ข้อนั้น ไม่ควร เป็นต้น เพราะโลก
แม้ทั้งสองยึดถืออายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นเทียว ย่อมถึงการนับว่า โลก และเมื่อ
มีอายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นแล สัตวโลกก็ย่อมเดือดร้อนอาทิผิด อักขระ เพราะทุกข์ปรากฏ
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีมือ ก็ย่อม
มีการถือ และการวาง เมื่อมีเท้า ก็มีการก้าวไปและการถอยกลับ เมื่อมีไขข้อ
ก็มีการคู้เข้าและการเหยียดออก เมื่อมีท้อง ก็ต้องมีหิวและกระหาย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อมีจักษุ สุขและทุกข์ภายในก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็น
ปัจจัยอย่างนั้นเหมือนกัน เป็นต้น อนึ่ง เมื่อมีเครื่องรองรับเหล่านั้น สังขาร-
โลกที่ถูกเบียดเบียน ก็ย่อมเดือดร้อนอาทิผิด อักขระ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เมื่อมีจักษุ คนก็ย่อมเดือดร้อน ในรูปที่เห็นไม่ได้ กระทบได้ หรือว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย จักษุย่อมเดือดร้อน ในเพราะรูปที่พอใจและไม่พอใจ ดังนี้
เป็นต้น อนึ่ง โลกแม้ทั้งสองย่อมเดือดร้อนอาทิผิด อักขระ เพราะอายตนะภายในและภายนอก
ที่เป็นเหตุเหล่านั้นนั่นแล เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จักษุ

๑. ม. อุ. ฉฉกฺกสุตฺต ๔๖๓. ๒. สํ. สฬายตนอคฺค. ๒๑๓. ๓. อภิธมฺมสงฺคณี. ๑๙๙. ๔. สํ. สฬายตนวคฺค. ๒๑๗.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 二月 28, 2012

Nop Nom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 43/444/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๙. เรื่องพระสารีบุตรเถระ [๒๗๒]

ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตร-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺยํ " เป็นต้น.
พระสารีบุตรเคารพในพระอัสสชิผู้อาจารย์
ได้ยินว่า ท่านพระสารีบุตรนั้น จำเดิมแต่กาลที่ท่านฟังธรรมใน
สำนักของพระอัสสชิเถระแล้วบรรลุโสดาปัตติผล สดับว่า " พระเถระ
ย่อมอยู่ในทิศใด" ก็ประคองอัญชลีไปทางทิศนั้น นอนหันศีรษะไปทาง
ทิศนั้นแล.
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า " พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถึงวันนี้ก็เที่ยว
นอบน้อมอาทิผิด อักขระทิศทั้งหลายอยู่ " ดังนี้แล้ว กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระ-
ตถาคต.
พระศาสดารับสั่งให้เรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสถามว่า " สารีบุตร
นัยว่า เธอเที่ยวนอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่ จริงหรือ ?" เมื่อพระเถระ
กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า พระองค์เท่านั้นย่อมทรงทราบความเป็นคือ
อันนอบน้อมหรือไม่นอบน้อมทิศทั้งหลาย ของข้าพระองค์ " ดังนี้แล้ว,
ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมไม่นอบน้อมอาทิผิด อักขระทิศทั้งหลาย, แต่เพราะ
ความที่เธอฟังธรรมจากสำนักของพระอัสสชิเถระ แล้วบรรลุโสดาปัตติผล
จึงนอบน้อมอาจารย์ของตน; เพราะว่า ภิกษุอาศัยอาจารย์ใด ย่อมรู้ธรรม,
ภิกษุนั้นพึงนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมไฟ
อยู่ฉะนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 25, 2012

Kandan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 65/357/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ทิฏฐิที่ไม่แน่นอน เป็นทิฏฐิที่เหลวไหลเพราะยึดถือผิด ¹ชื่ออาณัติกะมิจฉาทิฏฐิ
ชื่อมิจฉาทิฏฐิเพราะอรรถว่า ทิฏฐิอันบัณฑิตทั้งหลายรังเกียจ เพราะไม่นำ
ประโยชน์มาดังนี้ก็มี.
มิจฉาทิฏฐินั้นมีความยึดมั่นโดยไม่แยบคายเป็นลักษณะ, มีความ
ยึดถือเป็น รส, มีความยึดมั่นผิดเป็น ปัจจุปปัฏฐาน, มีความเป็นผู้ใคร่หลงลืมอาทิผิด
การเล็งเห็นอาทิผิดพระอริยะทั้งหลายเป็น ปทัฏฐาน, พึงเห็นว่า มีโทษอย่างยิ่ง.
บทว่า ทสวตฺถุกา อนฺตคฺคาหิกา ทิฏฺฐิ ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็น
ไปโดยนัยเป็นต้นว่า โลกเที่ยง, โลกไม่เที่ยง, โลกมีที่สุด, เป็นไปอย่างนี้
ด้วยสามารถทำส่วนหนึ่ง ๆ เป็นที่ตั้งยึดถือ ชื่ออันตัคคาหิกาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐.
บทว่า ยา เอวรูปา ทิฏฺฐิ ได้แก่ ทิฏฐิที่มีชาติอย่างนี้.
บทว่า ทิฏฺฐิคตํ ได้แก่ ความเป็นไปในทิฏฐิทั้งหลาย. ทัศนะนี้
ชื่อว่า ทิฏฺฐิคตํ เพราะอรรถว่า หยั่งลงในภายในแห่งทิฏฐิ ๖๒.
รกชัฏเพราะอรรถว่าก้าวล่วงได้ยากคือทิฏฐิ ชื่อว่า รกชัฏคือทิฏฐิ
ดุจรกชัฏหญ้า รกชัฏป่า รกชัฏภูเขา.
ชื่อว่า กันดารคือทิฏฐิ เพราะอรรถว่ามีภัยเฉพาะหน้าที่น่ารังเกียจ
ดุจกันดารเพราะโจร กันดารเพราะสัตว์ร้าย กันดารเพราะขาดน้ำ และ
กันดารอาทิผิด อักขระเพราะข้าวยากหมากแพง.
ชื่อว่า เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ เพราะอรรถว่าแทงตลอด และ
เพราะอรรถว่าทวนซึ่งสัมมาทิฏฐิ. ด้วยว่ามิจฉาทัศนะเมื่อเกิดขึ้นย่อมแทง
ตลอด และทวนสัมมาทัศนะ.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 24, 2012

Samat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 54/173/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ลัทธิสมัยและทางแห่งวาทะที่ควรเรียนในสำนักนิครนถ์นั้น ก็รู้ว่าคนเหล่านั้นรู้
กันเท่านี้ วิเศษยิ่งกว่านี้ไม่มี ก็หลีกออกไปจากสำนักนั้น ไปในที่ ๆ มีบัณฑิต
เล่าเรียนศิลปความรู้ของบัณฑิตเหล่านั้น มองไม่เห็นใครที่สามารถจะพูดด้วย
กับตนอาทิผิด อักขระ เข้าไปตามนิคมใด ๆ ก็กองทรายไว้ใกล้ประตูคามนิคมอาทิผิดนั้น ๆ วางกิ่ง
หว้าไว้บนกองทรายนั้น ให้สัญญาณแก่พวกเด็กที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ว่า ผู้ใดสามารถอาทิผิด อาณัติกะ
จะยกวาทะของเราได้ ผู้นั้นก็จงเหยียบกิ่งหว้านี้ แล้วก็ไปที่อยู่ เมื่อกิ่งหว้า
วางอยู่อย่างนั้น ๗ วัน นางก็จะถือกิ่งหว้านั้นหลีกไป.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เสด็จอุบัติในโลก ทรงประกาศ
พระธรรมจักรอันประเสริฐ ทรงอาศัยกรุงสาวัตถีโดยลำดับ ประทับ อยู่ ณ
พระเชตวัน แม้นางกุณฑลเกสา ก็ท่องเที่ยวไปในคามนิคมอาทิผิดราชธานีทั้งหลาย
โดยนัยที่กล่าวแล้ว ถึงกรุงสาวัตถีวางกิ่งหว้าลงบนกองทราย ใกล้ประตู
พระนคร ให้สัญญาณแก่พวกเด็ก ๆ แล้วก็เข้าไปยังกรุงสาวัตถี,
ครั้งนั้น ท่านพระธรรมเสนาบดีเข้าไปพระนครลำพังผู้เดียว เห็นกิ่ง
ไม้นั้น ประสงค์จะย่ำยีวาทะ จึงถามพวกเด็ก ๆ ว่า เหตุไร กิ่งไม้นี้จึงถูก
วางไว้อาทิผิด อักขระอย่างนี้. พวกเด็กก็บอกความข้อนั้น. พระเถระกล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น
พวกเจ้าจงช่วยกันเหยียบกิ่งไม้นี้เถิด. พวกเด็กก็พากันเหยียบกิ่งไม้นั้น.
นางกุณฑลเกสาฉันอาหารเสร็จแล้ว ก็ออกจากนคร เห็นกิ่งไม้ถูก
เหยียบ จึงถามว่าใครเหยียบ ทราบว่าพระเถระให้เหยียบ คิดว่า วาทะที่ไม่
มีคนอาทิผิด อักขระเข้าข้างไม่งาม จึงเที่ยวไปจากถนนหนึ่งสู่อีกถนนหนึ่ง โฆษณาว่า ท่าน
ทั้งหลายโปรดดูวาทะของข้าพเจ้ากับพระสมณะศากยบุตรเถิด ถูกมหาชนห้อม
ล้อมแล้ว เข้าไปหาท่านพระธรรมเสนาบดี ซึ่งนั่งอยู่โคนไม้ต้นหนึ่ง ทำปฏิ-
สันถารแล้ว ยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่งกล่าวว่า กิ่งไม้หว้าที่ข้าพเจ้าวางไว้
ท่านให้เด็กเหยียบหรือ. พระเถระตอบว่า ถูกละ เราให้เด็กเหยียบ. นาง
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 23, 2012

Sapplap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/244/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ก็ข้าพเจ้าไม่เห็นแอก ไถ ผาล
ประตักหรือโคทั้งหลายของท่านพระโคดมเลย เมื่อเช่นนี้ท่านพระโคดมยังกล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็
บริโภค.
[๖๗๓] ครั้งนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
พระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่
ข้าพเจ้าไม่เห็นการไถของพระองค์ พระ-
องค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพเจ้าถามแล้วขอจง
ตรัสบอก ไฉน ข้าพเจ้าจะรู้การทำนาของ
พระองค์นั้นได้.
[๖๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน
ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็น
งอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาล
และประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มี
วาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วใน
การบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้า
(คือวาจาสับปลับอาทิผิด ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะ
ของเราเป็นเครื่องให้แล้วเสร็จงาน ความ
เพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้
สมหวัง นำไปถึงความเกษมจากโยคะ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 20, 2012

Ubasok

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   6/65/8  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ถ้อยคำ แสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอน
ของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า
พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระ-
พุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกอาทิผิด ผู้มอบชีวิตถึงสรณะจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ก็เศรษฐีผู้คหบดีนั้น ได้เป็นอุบาสกกล่าวอาทิผิด อักขระอ้างพระรัตนตรัย เป็นคนแรก
ในโลกอาทิผิด สระ

ยสกุลบุตรสำเร็จพระอรหัตต์
[๒๘] คราวเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม แก่บิดา ของ
ยสกุลบุตร จิตของยสกุลบุตร ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้
แจ้งแล้ว ก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า เมื่อแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตรอยู่ จิตของ
ยสกุลบุตร ผู้พิจารณาเห็นภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว พ้น
แล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ยสกุลบุตรไม่ควรจะกลับเป็นคฤหัสถ์
บริโภคกาม เหมือนเป็นคฤหัสถ์ครั้งก่อน ถ้ากระไร เราพึงคลายอิทธาภิสังขาร
นั้นได้แล้ว พระองค์ก็ได้ทรงคลายอิทธาภิสังขารนั้น เศรษฐีผู้คหบดีได้เห็น
ยสกุลบุตรนั่งอยู่ ครั้นแล้วได้พูดกะยสกุลบุตรว่า พ่อยส มารดาของเจ้า
โศกเศร้าคร่ำครวญถึง เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด ครั้งนั้น ยสกุลบุตร
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 16, 2012

Elamuga

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/466/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อตฺตํ ได้แก่ ตน. บทว่า ปนฺถานุปฺปนฺนํ ความว่า ภัยใหญ่จัก
มาถึงเนื้อตัวเดินไปตามทางที่ประตูบ้าน เมื่อพวกมนุษย์ถืออาวุธออกจากบ้าน
เพื่อต้องการเนื้อ พวกที่เห็นนั้น ๆ ย่อมฆ่าเนื้อนั้นเสีย ฉันใด มรณภัยใหญ่
จักมาถึงคือจักเข้าถึงพระองค์แม้เมื่อเสด็จอุตตรปัญจาลนคร ฉันนั้น พระมหา-
สัตว์ทูลข่มพระราชาด้วย ๘ คาถา ด้วยประการฉะนี้.
พระเจ้าวิเทหราชถูกพระมหาสัตว์ข่มอย่างเหลือเกินทีเดียว ก็ทรงพิโรธ
ว่า มโหสถนี้หมิ่นเราดุจทาสของตน ไม่สำคัญว่าเราเป็นพระราชา รู้ราช-
สาสน์ที่พระอัครราชส่งมาสำนักเราว่า จักประทานพระราชธิดาดังนี้แล้ว ไม่
กล่าวคำประกอบด้วยมงคลแม้คำหนึ่งมากล่าวกะเราว่า เป็นเหมือนเนื้อโง่
เป็นเหมือนปลากลืนเบ็ด และเป็นเหมือนเนื้อเดินตามทางถึงประตูบ้านจักถึง
ความตาย ครั้นกริ้วแล้วได้ตรัสคาถาเป็นลำดับว่า
พวกเรานี่แหละเป็นคนเขลา บ้าน้ำลายที่กล่าว
ถึงเหตุแห่งการได้รัตนะอันสูงสุดในสำนักเจ้า เจ้า
เจริญด้วยหางไถ จะรู้จักความเจริญเหมือนคนอื่นเขา
ได้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลามฺหเส ความว่า เป็นคนเขลา.
บทว่า เอลมูคาอาทิผิด ได้แก่ พวกเรานี่แหละมีปากเต็มไปด้วยน้ำลาย. บทว่า
อุตฺตมคฺถานิ ได้แก่ เหตุให้ได้นางแก้วอันอุดม. บทว่า ตยี ลปิมฺหา
ความว่า กล่าวในสำนักของท่าน. บทว่า กิเมว ความว่า เมื่อจะติเตียนเขา
จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า นงฺคลโกฏิวฑฺโฒ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชทรง
หมายเนื้อความว่า บุตรคฤหบดีย่อมเจริญด้วยถือหางไถนาตั้งแต่เป็นหนุ่ม
เท่านั้น จึงตรัสด้วยพระราชประสงค์นี้เองว่า เจ้าย่อมรู้งานของบุตรคฤหบดี
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 二月 15, 2012

Buea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   7/60/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระพุทธานุญาตอาทิผิด เภสัช ๕ นอกกาล
[๒๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช ๕ นั้น ในกาล
แล้วบริโภคในกาล โภชนาหารของพวกเธอชนิดธรรมดา ชนิดเลว ไม่ย่อย
ไม่จำต้องกล่าวถึงโภชนาหารที่ดี พวกเธออันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารทนั้น
และอันความเบื่ออาทิผิด อาณัติกะภัตตาหารนี้ถูกต้องแล้ว เพราะเหตุ ๒ ประการนั้น ยิ่งเป็นผู้
ซูบผอมเศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วย
เอ็นมากขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นซึ่งซูบผอม
เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวพรรณเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น
มากขึ้น ครั้นแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์ มารับสั่งถามว่า ดูก่อนอานนท์
ทำไมหนอ เดี๋ยวนี้พระภิกษุ ทั้งหลายยิ่งซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี
มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลาย
รับประเคนเภสัช ๕ นั้นในกาลแล้วบริโภคในกาล โภชนาหารของพวกเธอชนิด
ธรรมดา ชนิดเลว ไม่ย่อย ไม่จำต้องกล่าวถึงโภชนาหารที่ดี พวกเธออัน
อาพาธซึ่งเกิดในฤดูสารทนั้น และอันความเบื่อภัตตาหารนี้ถูกต้องแล้ว เพราะ
เหตุ ๒ ประการนั้น ยิ่งเป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิว-
เหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้า
มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับ สั่งว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช ๕ นั้น แล้วบริโภคได้ทั้งในกาลอาทิผิด อักขระ
ทั้งนอกกาล.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 12, 2012

Samabat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 80/587/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แหละ. คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
บัดนี้ ปัญหาของปรวาทีว่า ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง
หลาย เป็นต้นนั่นแหละอีก เพื่อเปรียบเทียบญาณในความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายของพระตถาคตกับพระสาวกที่สกวาทีตอบรับรองเป็น
สาธารณญาณนั้น แล้วจึงถามซึ่งความเป็นสาธารณญาณทั้งหลายแม้ที่
เหลือ. ญาณนั้นอันสกวาทีผู้แก้ปัญหารับรองแล้วว่าเป็นสาธารณญาณ
เพราะไม่มีอะไรแปลกกันในการสิ้นอาสวะเลย. ในญาณทั้งหลายนอก
จากนี้ท่านตอบปฏิเสธความเป็นญาณสาธารณะเพราะไม่มีพิเศษในพระ-
สาวก. คำถามเรื่องอสาธารณญาณ๑ ของปรวาทีเปรียบเทียบอาสวัก-
ขยญาณนั้นนั่นแหละกับบรรดาญาณทั้งหลายมีฐานาฐานญาณเป็นต้น
อีก. ในการวิสัชนาปัญหานั้น สกวาทีปฏิเสธในอาสวักขยญาณแต่รับรอง
ในญาณแม้ที่เหลือ. ต่อจากนี้เป็นคำถามอสาธารณญาณของปรวาที
เปรียบเทียบกับอินทริยปโรปริยัตติญาณ. ญาณนั้นท่านแสดงไว้โดยย่อ.
๑ อสาธารณญาณ ๖ ได้แก่ ญาณที่ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ๖ คือ :-
๑. อินทริยปโรปริยัตติญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอิน-
ทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.
๒. อาสยานุสยญาณ ได้แก่ ปัญหาหยั่งรู้อาสยะ คือ อัธยาศัย และกิเลสที่
นอนเนื่องในสันดานของสัตว์.
๓. ยมกปาฏิหิรญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้การทำยมกปาฏิหาริย์
๔. มหากรุณาสมาปัตติญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ในการเข้ามหากรุณาสมาบัติอาทิผิด สระ
๕. สัพพัญญุตญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ธรรมทั้งปวง
๖. อนาวรณญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ธรรมอันไม่มีอะไรขัดข้อง.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 11, 2012

Thoet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 29/282/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข. ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ทรงพยากรณ์อีกเหมือนกัน.
[๗๕๕] ป. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร ปัญหานี้
เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่
แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า
ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง
พยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว
ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร
ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า
ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายอาทิผิด แล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก
ก็หามิได้หรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหา
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ข้าแต่แม่เจ้า อะไรเล่าเป็นเหตุเป็น
ปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานี้.
[๗๕๖] ข. ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจักขอย้อน
ถามมหาบพิตรในปัญหาข้อนี้บ้าง ปัญหาข้อนี้พอพระทัยมหาบพิตรอย่างใด
มหาบพิตรพึงทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนี้อย่างนั้นเถิดอาทิผิด อักขระ ขอถวายพระพร
มหาบพิตรจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน มหาบพิตรมีนักคำนวณ นัก
ประเมินหรือนักประมาณไร ๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณทรายในแม่น้ำคงคาว่า
ทรายมีประมาณเท่านี้ หรือว่ามีทรายเท่านี้ ร้อยเม็ด หรือว่ามีทรายเท่านี้
พันเม็ด หรือว่ามีทรายเท่านี้แสนเม็ด หรือไม่.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 10, 2012

Chong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 10/390/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
วินิจฉัยในบทว่า อขณฺฑานิ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
บรรดาอาบัติ ๗ กอง สิกขาบทของภิกษุใดเป็นคุณสลายเสียข้างต้น
หรือข้างปลาย ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่าด้วน เปรียบเหมือนผ้าขาดที่ชายโดยรอบ
ฉะนั้น.
ฝ่ายสิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสียตรงท่ามกลาง ศีลของภิกษุนั้น
ซึ่งว่า เป็นช่องทะลุอาทิผิด อักขระ เปรียบเหมือนผ้าที่เป็นช่องทะลุตรงกลางฉะนั้น.
สิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสีย ๒-๓ สิกขาบทโดยลำดับ ศีลของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าด่าง เปรียบเหมือนแม่โคซึ่งมีสีตัวดำและแดงเป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง สลับกับสีซึ่งไม่เหมือนกันที่ผุดขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง ฉะนั้น.
สิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสียในระหว่าง ๆ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่า
พร้อย เปรียบเหมือนแม่โคที่พราวเป็นดวงด้วยสีไม่เหมือนกันในระหว่าง ๆ
ฉะนั้น.
ส่วนศีลของภิกษุใด ไม่ทำลายโดยประการทั้งปวง ศีลเหล่านั้นของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่ด้วน ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย.
ก็ศีลเหล่านี้นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นไท เพราะทำ
ความเป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ เพราะเป็นศีลที่ท่านผู้รู้ยกย่อง อันกิเลสไม่
จับต้อง เพราะเป็นศีลที่ตัณหาและทิฏฐิจับต้องไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ เพราะ
ยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไปพร้อม.
สองบทว่า สีลสามญฺคโต วิหรติ มีความว่า ผู้มีศีลเข้าถึงความ
เป็นผู้เสมอกัน กับภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งอยู่ในทิศาภาคเหล่านั้น ๆ.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 二月 08, 2012

Tham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/383/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คำว่า พึงเปิดเผย ความว่า พึงทำให้แจ้งในท่ามกลางสงฆ์ ท่าม-อาทิผิด อักขระ
กลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง.
คำว่า เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่เธอ
ความว่า ความผาสุกอาทิผิด อักขระมีเพื่ออะไร ความผาสุกมีเพื่อบรรลุปฐมฌาน ความผาสุก
มีเพื่อบรรลุทุติยฌาน. ความผาสุกมีเพื่อบรรลุตติยฌาน ความผาสุกมีเพื่อ
บรรลุจตุตถฌานอาทิผิด สระ ความผาสุกมีเพื่อบรรลุฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก กุศลธรรม.

สวดปาติโมกข์วันอุโบสถ
[๑๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์แล้ว จึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน ภิกษุทั้งหลายพา
กันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน รูปใดสวด
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ.
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
การสวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถแล้ว จึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ใน
วันที่ ๑๔ วันที่ ๑๕ และวันที่ ๘อาทิผิด อาณัติกะ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ปักษ์ละ ๑ ครั้ง
คือในวันที่ ๑๔ หรือวันที่ ๑๕.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 05, 2012

Nang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/327/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับ
ภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียชาย ไม่รับภิกษาที่แนะนำทำกันไว้ ไม่รับภิกษาใน
ที่ที่สุนัขเฝ้าชะแง้ดู ไม่รับภิกษาในที่ที่แมลงวันตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่
รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลัง
เดียว บริโภคคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง บริโภค ๒ คำบ้าง ฯลฯ
รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง บริโภค ๗ คำบ้าง เลี้ยงชีวิตด้วยภิกษาในถาดน้อย
ใบเดียวบ้าง ๒ บ้าง ฯลฯ ๗ บ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วัน
บ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียน
มาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่าง
เป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่าย
เป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีข้าวไหม้เป็น
ภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้ามันและผลไม้
ในป่าเป็นอาหาร. บริโภคผลไม้หล่นเลี้ยงชีวิตบ้าง เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง
ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสืออาทิผิด สระบ้าง
หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกไม้กรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง
ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนก
เค้าบ้าง เป็นผู้ถือการถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการ
ถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ถือการยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้ถือ
กระหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการเดินกระหย่งบ้าง เป็นผู้ถือการนอน
บนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้ถือการอาบน้ำวันละ ๓
ครั้ง คือ ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ขวนขวายในการ
ประกอบเหตุเครื่องทำกายให้เดือดร้อนอาทิผิด อักขระ ให้เร่าร้อน ด้วยวิธีเป็นอันมากเช่นนี้
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 04, 2012

Sisa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/895/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน พึงเดินประคองศีรษะ
ไป ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ทำท่าคอ
พับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ

อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศีรษะอาทิผิด ใน
ละแวกบ้าน ทำท่าคอพับ. . .
พระบัญญัติ
๑๖๕. ๒๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะนั่ง
ในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองศีรษะ
ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะในแวกบ้าน ทำศีรษะอาทิผิด สระให้ห้อย
ต้องอาบัติทุกกฏ.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 03, 2012

Pen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 17/200/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อันภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยทัสสนะนั้นแล และเธอย่อมมีความสำคัญ ใน
อาสวะที่ยังละไม่ได้นั้นแลว่า อันตนละได้แล้วก็หามิได้. ในบททั้งปวง
มีความพิสดารอย่างนี้.
บทว่า สพฺพาสวสํวรสํวุโต ความว่า เป็นอาทิผิด อักขระผู้ปิดแล้วด้วยการปิด
อาสวะทุกอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้ปิดแล้วด้วยเครื่องปิดซึ่งอาสวะทุก
อย่าง..
บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺหํ ความว่าตัดแล้ว หรือถอนขึ้นได้แล้ว
ซึ่งตัณหาหมดทุกอย่าง.
บทว่า วิวตฺตยิ สํโยชนํ ความว่า ย่อมหมุนกลับซึ่งสังโยชน์
แม้ทั้ง ๑๐ คือทำให้หมดมลทิน.
บทว่า สมฺมา คือโดยเหตุ ได้แก่โดยกาล.
บทว่า มานาภิสมยา ความว่า เพราะบรรลุด้วยการเห็น และเพราะ
บรรลุด้วยการละมานะ. ความจริง อรหัตตมรรคย่อมเห็นแจ้งมานะด้วย
อำนาจกิจ. นี้เป็นการบรรลุด้วยการเห็นของภิกษุนั้น. ก็อรหัตตมรรค
อันภิกษุเห็นแล้วด้วยทัสสนะนั้นอันเธอย่อมละได้ในขณะนั้นนั่นเอง เหมือน
การกลับได้ชีวิตของสัตว์ผู้ถูกงูพิษกัดฉะนั้น. นี้เป็นการบรรลุโดยการละ
ของภิกษุนั้น.
บทว่า อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ความว่า ที่สุด ๔ อย่างนี้ คือ
ที่สุดคือเขตแดนอันมีในที่สุด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปลาย
ประคดเอวเก่าแล้ว หรือยอดของเขียวสดเหี่ยวแล้ว และที่สุดที่เลวทราม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นที่สุดแห่ง
ชีวิต และที่สุดคือส่วนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า สักกายะ
 
พระปิฎกธรรม