星期日, 二月 12, 2012

Samabat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 80/587/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แหละ. คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
บัดนี้ ปัญหาของปรวาทีว่า ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง
หลาย เป็นต้นนั่นแหละอีก เพื่อเปรียบเทียบญาณในความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายของพระตถาคตกับพระสาวกที่สกวาทีตอบรับรองเป็น
สาธารณญาณนั้น แล้วจึงถามซึ่งความเป็นสาธารณญาณทั้งหลายแม้ที่
เหลือ. ญาณนั้นอันสกวาทีผู้แก้ปัญหารับรองแล้วว่าเป็นสาธารณญาณ
เพราะไม่มีอะไรแปลกกันในการสิ้นอาสวะเลย. ในญาณทั้งหลายนอก
จากนี้ท่านตอบปฏิเสธความเป็นญาณสาธารณะเพราะไม่มีพิเศษในพระ-
สาวก. คำถามเรื่องอสาธารณญาณ๑ ของปรวาทีเปรียบเทียบอาสวัก-
ขยญาณนั้นนั่นแหละกับบรรดาญาณทั้งหลายมีฐานาฐานญาณเป็นต้น
อีก. ในการวิสัชนาปัญหานั้น สกวาทีปฏิเสธในอาสวักขยญาณแต่รับรอง
ในญาณแม้ที่เหลือ. ต่อจากนี้เป็นคำถามอสาธารณญาณของปรวาที
เปรียบเทียบกับอินทริยปโรปริยัตติญาณ. ญาณนั้นท่านแสดงไว้โดยย่อ.
๑ อสาธารณญาณ ๖ ได้แก่ ญาณที่ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ๖ คือ :-
๑. อินทริยปโรปริยัตติญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอิน-
ทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.
๒. อาสยานุสยญาณ ได้แก่ ปัญหาหยั่งรู้อาสยะ คือ อัธยาศัย และกิเลสที่
นอนเนื่องในสันดานของสัตว์.
๓. ยมกปาฏิหิรญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้การทำยมกปาฏิหาริย์
๔. มหากรุณาสมาปัตติญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ในการเข้ามหากรุณาสมาบัติอาทิผิด สระ
๕. สัพพัญญุตญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ธรรมทั้งปวง
๖. อนาวรณญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ธรรมอันไม่มีอะไรขัดข้อง.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: