Chong
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 10/390/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
วินิจฉัยในบทว่า อขณฺฑานิ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
บรรดาอาบัติ ๗ กอง สิกขาบทของภิกษุใดเป็นคุณสลายเสียข้างต้น
หรือข้างปลาย ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่าด้วน เปรียบเหมือนผ้าขาดที่ชายโดยรอบ
ฉะนั้น.
ฝ่ายสิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสียตรงท่ามกลาง ศีลของภิกษุนั้น
ซึ่งว่า เป็นช่องทะลุอาทิผิด อักขระ เปรียบเหมือนผ้าที่เป็นช่องทะลุตรงกลางฉะนั้น.
สิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสีย ๒-๓ สิกขาบทโดยลำดับ ศีลของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าด่าง เปรียบเหมือนแม่โคซึ่งมีสีตัวดำและแดงเป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง สลับกับสีซึ่งไม่เหมือนกันที่ผุดขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง ฉะนั้น.
สิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสียในระหว่าง ๆ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่า
พร้อย เปรียบเหมือนแม่โคที่พราวเป็นดวงด้วยสีไม่เหมือนกันในระหว่าง ๆ
ฉะนั้น.
ส่วนศีลของภิกษุใด ไม่ทำลายโดยประการทั้งปวง ศีลเหล่านั้นของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่ด้วน ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย.
ก็ศีลเหล่านี้นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นไท เพราะทำ
ความเป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ เพราะเป็นศีลที่ท่านผู้รู้ยกย่อง อันกิเลสไม่
จับต้อง เพราะเป็นศีลที่ตัณหาและทิฏฐิจับต้องไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ เพราะ
ยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไปพร้อม.
สองบทว่า สีลสามญฺคโต วิหรติ มีความว่า ผู้มีศีลเข้าถึงความ
เป็นผู้เสมอกัน กับภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งอยู่ในทิศาภาคเหล่านั้น ๆ.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论