星期四, 二月 16, 2012

Elamuga

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/466/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อตฺตํ ได้แก่ ตน. บทว่า ปนฺถานุปฺปนฺนํ ความว่า ภัยใหญ่จัก
มาถึงเนื้อตัวเดินไปตามทางที่ประตูบ้าน เมื่อพวกมนุษย์ถืออาวุธออกจากบ้าน
เพื่อต้องการเนื้อ พวกที่เห็นนั้น ๆ ย่อมฆ่าเนื้อนั้นเสีย ฉันใด มรณภัยใหญ่
จักมาถึงคือจักเข้าถึงพระองค์แม้เมื่อเสด็จอุตตรปัญจาลนคร ฉันนั้น พระมหา-
สัตว์ทูลข่มพระราชาด้วย ๘ คาถา ด้วยประการฉะนี้.
พระเจ้าวิเทหราชถูกพระมหาสัตว์ข่มอย่างเหลือเกินทีเดียว ก็ทรงพิโรธ
ว่า มโหสถนี้หมิ่นเราดุจทาสของตน ไม่สำคัญว่าเราเป็นพระราชา รู้ราช-
สาสน์ที่พระอัครราชส่งมาสำนักเราว่า จักประทานพระราชธิดาดังนี้แล้ว ไม่
กล่าวคำประกอบด้วยมงคลแม้คำหนึ่งมากล่าวกะเราว่า เป็นเหมือนเนื้อโง่
เป็นเหมือนปลากลืนเบ็ด และเป็นเหมือนเนื้อเดินตามทางถึงประตูบ้านจักถึง
ความตาย ครั้นกริ้วแล้วได้ตรัสคาถาเป็นลำดับว่า
พวกเรานี่แหละเป็นคนเขลา บ้าน้ำลายที่กล่าว
ถึงเหตุแห่งการได้รัตนะอันสูงสุดในสำนักเจ้า เจ้า
เจริญด้วยหางไถ จะรู้จักความเจริญเหมือนคนอื่นเขา
ได้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลามฺหเส ความว่า เป็นคนเขลา.
บทว่า เอลมูคาอาทิผิด ได้แก่ พวกเรานี่แหละมีปากเต็มไปด้วยน้ำลาย. บทว่า
อุตฺตมคฺถานิ ได้แก่ เหตุให้ได้นางแก้วอันอุดม. บทว่า ตยี ลปิมฺหา
ความว่า กล่าวในสำนักของท่าน. บทว่า กิเมว ความว่า เมื่อจะติเตียนเขา
จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า นงฺคลโกฏิวฑฺโฒ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชทรง
หมายเนื้อความว่า บุตรคฤหบดีย่อมเจริญด้วยถือหางไถนาตั้งแต่เป็นหนุ่ม
เท่านั้น จึงตรัสด้วยพระราชประสงค์นี้เองว่า เจ้าย่อมรู้งานของบุตรคฤหบดี
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: