星期五, 三月 30, 2012

Kharuehat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/456/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ว่าโดยกรรม การงดเว้นจากมุสาวาทเป็นวจีกรรม (ส่วน) ที่เหลือเป็น
กายกรรม. ว่าโดยสมาทาน ผู้ไม่ได้รับการสมาทานนั้นในสำนักของผู้อื่นที่เป็น
ครุฏฐานิยบุคคล สมาทานศีล ๕ ด้วยตนเองเป็นเอกัชฌสมาทาน หรือเป็น
ปัจเจกสมาทาน ก็ย่อมเป็นอันสมาทานแล้ว. ว่าโดยการขาด สำหรับคฤหัสถ์
ทั้งหลาย สิกขาบทใดที่ล่วงเกินแล้ว จะขาดเฉพาะสิกขาบทนั้น ๆ เท่านั้น
นอกนี้ไม่ขาด. เพราะเหตุไร ? เพราะคฤหัสถ์อาทิผิด ทั้งหลายมีศีล ไม่เกี่ยวเนื่องกัน
(เป็นปัจเจกสมาทาน) รักษาเฉพาะสิกขาบทที่สามารถรักษาได้เท่านั้น. ส่วน
สำหรับบรรพชิต เมื่อล่วงละเมิดสิกขาบทเดียว ก็ขาดทั้งหมด.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ผลโต ดังต่อไปนี้ กับบรรดา เวรมณี
เหล่านี้ ปาณาติปาตาเวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้คือ องฺคปจฺจงฺคสมนฺ-
นาคตา (ความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่) ๑ อาโรหปริณาทสมฺ-
ปตฺติ (ความถึงพร้อมด้วยส่วนสูงและส่วนกว้าง) ๑ ชวนสมฺปตฺติ (ความถึง
พร้อมด้วยเชาว์ไวไหวพริบ) ๑ สุปติฏฺฐิตปาทตา (ความเป็นผู้มีเท้าตั้งอยู่
เหมาะสม) ๑ จารุตา (ความสวยงาม) ๑ มุทุตา (ความเป็นผู้อ่อนโยน) ๑
สุจิตา (ความสะอาด) ๑ สูรตา (ความกล้าหาญ) ๑ มหาพลตา (ความเป็น-
ผู้มีกำลังมาก) ๑ วิสฏฺฐวจนตา (ความเป็นผู้มีถ้อยคำสละสลวย) ๑ สตฺตานํ
ปิยุมนาปตา (ความเป็นผู้น่ารัก น่าพอใจ ของสัตว์ทั้งหลาย) ๑ อภิชฺช-
ปริสตา (ความเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกัน) ๑ อฉมฺภิตา (ความเป็นผู้ไม่-
สะดุ้งหวาดเสียว) ๑ ทุปฺปธํสิยตา (ความเป็นผู้อันใคร ๆ กำจัดได้ยาก) ๑
ปรูปกฺกเมน อมรณตา (ความเป็นผู้ไม่ตายด้วยอาทิผิด การปองร้ายของผู้อื่น) ๑
มหาปริวารตา (ความเป็นผู้มีบริวารมาก) ๑ สุวณฺณตา (ความเป็นผู้มีผิว-
ดังทอง) ๑ สุสณฺฐานตา (ความเป็นผู้มีทรวดทรงงาม) ๑ อปฺปาพาธตา
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 29, 2012

Samanutthet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 22/92/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อถ โข จุนฺโท สมณุทฺเทโส ความว่า พระเถระรูปนี้
เป็นน้องชายคนเล็กของพระธรรมเสนาบดี. ในเวลายังเป็นอนุปสัมบัน (สาม-
เณร) ภิกษุทั้งหลายเรียกท่านว่า จุนทะ สมณุทเทส แม้ในเวลาท่านเป็น
พระเถระก็ยังคงเรียกอย่างนั้นอยู่. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า จุนทะ
สมณุทเทสอาทิผิด อักขระ ดังนี้. บทว่า อุปสงฺกมิ ถามว่า เข้าไปหาเพราะเหตุไร ได้ยิน
ว่า เมื่อนาฏบุตรตายแล้ว พวกมนุษย์ในชมพูทวีปก็ยังประกาศถ้อยคำใน
ที่นั้น ๆ ว่า นิครนถ์นาฏบุตร ปรากฏว่าเป็นศาสดาเอก. เพราะท่านกระทำ
กาละ เหล่าสาวกก็เกิดการโต้แย้งกัน เห็นปานนี้ ส่วนพระสมณโคดมปรากฏว่า
เป็นดุจพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ในชมพูทวีป เมื่อพระสมณโคดมปริ-
นิพพานแล้ว เหล่าสาวกจักวิวาทโต้แย้งกันเช่นไรหนอ ดังนี้. พระเถระได้
สดับถ้อยคำนั้นแล้ว คิดว่า เราจักถือเอาถ้อยคำนี้ไปกราบทูลแก่พระทศพล
พระศาสดาจักทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดขึ้นแห่งเรื่องราว
แล้วจักตรัสเทศนาอย่างหนึ่ง. ท่านจึงออกไปแล้วเข้าไปหาท่านพระอานนท์ที่
สามคาม ท่านยังไม่ไปสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรง เข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ผู้เป็นอุปัชฌาย์. ได้ยินว่าท่านมีความคิดอย่างนี้ อุปัชฌาย์ของเรา
มีปัญญามาก ท่านจักกราบทูลข่าวนี้แด่พระศาสดา ทีนั้น พระศาสดาจักทรง
แสดงธรรมอันเหมาะสมกับวาทะ (ที่เกิดขึ้น).
บทว่า กถาปาภฏํ แปลว่า ถ้อยคำอันเป็นต้นเรื่อง จริงอยู่ ต้นทุน
ท่านเรียกว่า ปาภฏะ. สมดังที่ตรัสไว้ว่า
อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณุํ อคฺคิํว สนฺธมํ.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 24, 2012

Kamlang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 41/480/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๑๐. เรื่องพระขานุโกณฑัญญเถระ [๙๐]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระขานุ-
โกณฑัญญเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “ โย จ สฺสสตํ ชีเว ”
เป็นต้น.
พระเถระนั่งเข้าฌาน โจรเอาห่อของทับไม่รู้สึก
ได้ยินว่า พระเถระนั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาอยู่ในป่า
บรรลุพระอรหัตแล้วคิดว่า “จักทูลพระศาสดา” เมื่อมาจากที่นั้นเหน็ด-
เหนื่อยในระหว่างทาง แวะจากทางนั่งเข้าฌานบนศิลาดาดแห่งหนึ่ง.
ครั้งนั้น โจร ๕๐๐ คนปล้นบ้านแห่งหนึ่งแล้วผูกห่อสิ่งของตามสมควร
แก่กำลังอาทิผิด สระของตน เอาศีรษะเทินเดินไป ครั้นเดินไปไกลก็เหน็ดเหนื่อย
คิดว่า ‘เรามาไกลแล้ว, จักพักเหนื่อยบนศิลาดาดนี้’ แวะจากทางไปยัง
ที่ใกล้ศิลาดาด แม้เห็นพระเถระแล้วก็มีความสำคัญว่า “นี่เป็นตอไม้.”
ลำดับนั้น โจรคนหนึ่งวางห่อสิ่งของลงบนศีรษะพระเถระ. โจรคนอื่น ๆ
ก็วางห่อสิ่งของพิงพระเถระนั้น. ด้วยประการฉะนี้ โจรแม้ทัง ๕๐๐ คน
เอาห่อสิ่งของ ๕๐๐ ห่อล้อมรอบพระเถระ แม้ตนเองก็นอนหลับ ตื่น
ในเวลาอรุณขึ้น คว้าห่อของตน ๆ ได้เห็นพระเถระก็เริ่มจะหนีไป ด้วย
สำคัญว่า “เป็นอมนุษย์.”
ทันใดนั้น พระเถระกล่าวกะพวกโจรนั้นว่า “อย่ากลัวเลยอุบาสก,
๑. ปิฏฐิปาสาเณ บนแผ่นหินมีหลัง.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 23, 2012

Yuea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/669/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาฉวิสูตรที่ ๘
พึงทราบวินิจฉัยในฉวิสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
เพราะว่าลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดในนรกเป็นต้น ให้
อัตภาพนี้แม้ทั้งสิ้นฉิบหาย ความตายก็ดี ความเกือบตายก็ดี นำทุกข์มาให้
แม้ในอัตภาพนี้ ฉะนั้น ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า ฉวึ ฉินฺทติ ดังนี้.
จบอรรถกถาฉวิสูตรที่ ๘
๙. รัชชุสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายเหมือนเชือกหางสัตว์
[๕๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. . .ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรร-
เสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอัน
เกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภ
สักการะและความสรรเสริญ ย่อมตัดผิว แล้วตัดหนัง แล้วตัดเนื้อ แล้ว
ตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึงเยื่อในกระดูก.
[๕๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรง เอา
เชือกหางสัตว์อย่างเหนียว พันแข้ง แล้วสีไปสีมา เชือกนั้นพึงบาดผิว
แล้วบาดหนัง แล้วบาดเนื้อ แล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จด
ถึงเยื่ออาทิผิด อักขระในกระดูก ฉันใด ลาภสักการะและสรรเสริญ ย่อมตัดผิว แล้ว
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 22, 2012

Tang Chue

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 70/112/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มหาพรหมคอยกั้นเศวตฉัตร ท้าวสุยามะถือพัดวาลวิชนี และเทวดาอื่น ๆ
ถือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่เหลือ เดินตามเสด็จ. จากนั้นประทับยืน ณ พระ-
บาทที่ ๗ ทรงบันลือสีหนาทเปล่งอาสภิวาจาเป็นต้นว่า เราเป็นผู้เลิศ/
ของโลก ดังนี้.
จริงอยู่ พระโพธิสัตว์พอคลอดออกมาจากครรภ์ของพระมารดา
เท่านั้น เปล่งวาจาได้ใน ๓ อัตภาพ คือ อัตภาพเป็นมโหสถ อัตภาพ
เป็นพระเวสสันดร และอัตภาพนี้.
ได้ยินว่า ในอัตภาพเป็นมโหสถ เมื่อพระโพธิสัตว์นั้น จะ
ตลอดออกจากครรภ์มารดาเท่านั้น ท้าวสักกเทวราชเสด็จมาวางแก่นจันทน์
ลงในมือแล้วเสด็จไป พระโพธิสัตว์นั้นกำแก่นจันทน์นั้นไว้แล้วจึงคลอด
ออกมา. ลำดับนั้น มารดาถามพระโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าถือ
อะไรมาด้วย ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า โอสถจ้ะแม่ ดังนั้น บิดามารดาจึง
ตั้งอาทิผิด ชื่อเขาว่า โอสถกุมาร เพราะถือโอสถมา. บิดามารดาเอาโอสถนั้น
ใส่ไว้ในตุ่ม โอสถนั้นนั่นแหละได้เป็นยาระงับสารพัดโรค แก่คนตาบอด
หูหนวกเป็นต้นที่ผ่านมา ๆ. ต่อมา เพราะอาศัยคำพูดที่เกิดขึ้นว่า โอสถนี้
โอสถนี้มีคุณมหันต์ จึงได้เกิดมีชื่อว่า มโหสถ.
ส่วนในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์เมื่อจะประสูติจาก
พระครรภ์มารดา ทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาประสูติแล้วตรัสว่า พระมารดา
อะไร ๆ ในเรือนมีไหม ลูกจักให้ทาน. ลำดับนั้น พระมารดาของพระ-
องค์ตรัสว่า พ่อ ลูกบังเกิดในตระกูลที่มีทรัพย์ แล้วให้วางถุงทรัพย์หนึ่ง
พันไว้ จึงวางมือของพระโอรสไว้เหนือผ้าพระหัตถ์ของพระนาง.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 三月 21, 2012

Withi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 89/20/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒. อนารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณานิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล, แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูป ด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียง ด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
อนารัมมณขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณอาทิผิด อักขระ, แก่เจโตปริย-
ญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๓. อธิปติปัจจัย
[๒๒] ๑. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กระทำกุศลกรรม
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา, ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 三月 20, 2012

Prakop

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 31/160/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญ
ในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้อง
หลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบน
ฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด
กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่
[๑๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน
ฉันทะที่ประกอบอาทิผิด อักขระด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า
ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป.
[๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน ฉันทะที่ประกอบ
ด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๑๘๒] ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน ฉันทะที่ประกอบด้วย
ถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน.
[๑๑๘๓] ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป
พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปใน
ภายนอก
[๑๑๘๔] ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า
เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น
อย่างไร ความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้า อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้
ดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา
ภิกษุชื่อว่ามีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด
เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
[๑๑๘๕] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็
ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 三月 18, 2012

Ueafuea

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 10/956/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
หลายบทว่า ปฏิคฺคโห เตน น วิชฺชติ มีความว่า ด้วยเหตุ
นั้นแล ภิกษุณีผู้ใช้ก็หาได้มีการรับจากมือของภิกษุณีผู้ใช้ไม่.
สองบทว่า อาปชฺชติ ครุกํ มีความว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้นภิกษุณี
ผู้ใช้ ย่อมต้องอาบัติสังฆาทิเสส เพราะเหตุที่ภิกษุณีผู้ที่ตนใช้ไปรับบิณฑบาต
จากมือบุรุษผู้กำหนัด.
สองบทว่า ตญฺจ ปริโภคปจฺจยา มีความว่า ก็แลภิกษุณีผู้ใช้
เมื่อจะต้องอาบัตินั้น ย่อมต้องเพราะการบริโภคของภิกษุณีผู้รับใช้นั้น เป็นปัจจัย
จริงอยู่ ย่อมเป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ใช้ ในขณะเสร็จการฉันของภิกษุณีผู้รับ
ใช้นั้น
คาถาที่ ๒ ท่านกล่าวหมายถึงการใช้ไปในการรับน้ำและไม้สีฟันของ
ภิกษุณีผู้ใช้นั้นเอง.
หลายบทว่า น ภิกขุนี โน จ ผุเสยฺย วชฺชํ มีความว่าจริง
อยู่ ภิกษุณีต้องสังฆาทิเสสตัวใดตัวหนึ่ง ใน ๑๗ ตัวแล้ว แม้ปิดไว้ด้วยไม่เอื้อ-
เฟื้ออาทิผิด ก็ไม่ต้องโทษ คือไม่ต้องอาบัติใหม่อื่น เพราะการปิดเป็นปัจจัย เธอ
ย่อมได้ปักขมานัตต์เท่านั้น เพื่ออาบัติที่ปิดไว้ก็ตาม ไม่ปิดไว้ก็ตาม. ก็แล
บุคคลนี้ แม้จะไม่ใช่ภิกษุณี, แต่อาทิผิด อาณัติกะต้องครุกาบัติ มีส่วนเหลือแล้วปิดไว้ ก็ไม่
ต้องโทษ.
ได้ยินว่า ปัญหาที่ว่า ปญฺหา เมสา กุสเลหิ จินฺติตา นี้ ท่าน
กล่าวหมายถึงภิกษุผู้อันสงฆ์ยกวัตร. จริงอยู่ (สงฆ์) ไม่มีวินัยกรรมกับภิกษุ
นั้น, เพราะเหตุนั้น เธอต้องสังฆาทิเสสแล้ว แม้ปิดไว้ก็ไม่ต้องโทษ ฉะนี้แล.
เสทโมจนคาถา วัณณนา จบ
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 16, 2012

Kharuehat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 12/179/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาโปฏฐปาทสูตร
เอวมฺเม สุตํ ฯเปฯ สาวตฺถิยนฺติอาทิผิด โปฏฺฐปาทสุตฺตํ
ในโปฏฐปาทสูตรนั้น มีคำพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้. บทว่า
สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ความว่า ประทับอยู่ ณ
พระเชตวันอารามที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ให้สร้างในสวนของกุมารพระ-
นามว่า เชต ใกล้กรุงสาวัตถี.
บทว่า โปฏฺฐปาโท ปริพฺพาชโก ความว่า ฉันนปริพาชก ชื่อ
โปฏฐปาทะ. ได้ยินว่าในกาลเป็นคฤหัสถ์อาทิผิด อักขระเขาเป็นพราหมณ์มหาศาล เห็นโทษ
ในกามทั้งหลายแล้ว ละกองโภคทรัพย์จำนวนสี่สิบโกฏิ บวชเป็นคณาจารย์
ของเดียรถีย์ทั้งหลาย.
พราหมณ์และบรรพชิตทั้งหลายย่อมโต้ตอบลัทธิในสถานที่นั่น เพราะ
ฉะนั้น สถานที่นั้นจึงชื่อว่า สมยปฺปวาทกํ สถานที่สำหรับโต้ตอบลัทธิ นัยว่า
พราหมณ์ทั้งหลายมีจังกีพราหมณ์ตารุกขพราหมณ์ และโปกขรสาติพราหมณ์
เป็นต้น และบรรพชิตทั้งหลายมีนิคัณฐปริพาชก และ อเจลกปริพาชกเป็น
ต้น ประชุมกันในสถานที่นั้นแล้ว โต้ตอบ กล่าวแสดงลัทธิของตนๆ ในสถาน
ที่นั้น เพราะฉะนั้น อารามนั้น จึงเรียกว่า สมยปฺปวาทโก. อารามนั้นเทียว
ชื่อว่า แถวป่าไม้มะพลับ เพราะเป็นอารามที่แนวต้นมะพลับคือแถวต้น
มะพลับล้อมรอบ. ก็เพราะในอารามนั้นในชั้นแรก มีศาลาเพียงหลังเดียวเท่า
นั้น ภายหลังชนทั้งหลายอาศัยปริพาชกผู้มีบุญมากสร้างศาลาหลายหลัง เพราะ
ฉะนั้นอารามนั้น จึงเรียกว่า เอกสาลโก ด้วยอำนาจแห่งชื่อที่ได้มา เพราะ
อาศัยศาลาหลังเดียวนั้นเอง. ก็อารามนั้นสมบูรณ์ด้วยดอกและผล เป็นสวน
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 15, 2012

Duai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/280/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แลสาวกทั้งหลายย่อมไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะ ซึ่ง
การรักษาโดยญาณทัสสนะ จากสาวกทั้งหลาย.
เรื่องพระเทวทัต
[๓๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ตาม
พุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึง
กรุงราชคฤห์แล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์นั้น.
[๓๕๙] ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธ-
เจ้าข้า อชาตสัตตุกุมารได้ไปสู่ที่บำรุงของพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า
ด้วยรถ ๕๐๐ คัน แลนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วยอาทิผิด อาณัติกะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าพอใจลาภสักการะ และความ
สรรเสริญของเทวทัตเลย อชาตสัตตุกุมารจักไปสู่ที่บำรุงของเทวทัต ทั้งเวลา
เย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน. แลจักนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย
สักกี่วัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย
ถ่ายเดียว หวังความเจริญไม่ได้ เปรียบเหมือนคนทั้งหลายพึงทาน้ำดีหมีที่จมูก
ลูกสุนัขที่ดุร้าย ลูกสุนัขนั้นจะเป็นสัตว์ดุร้ายขึ้นยิ่งกว่าประมาณ ด้วยอาการ
อย่างนี้แล แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อชาตสัตตุกุมารจักไปสู่ที่บำรุงของ
เทวทัต ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน แลจักนำภัตตาหาร ๕๐๐
สำรับไปด้วย สักกี่วัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพึงหวังความเสื่อมใน
กุศลธรรมทั้งหลายถ่ายเดียว หวังความเจริญไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 三月 12, 2012

Sunyata

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/628/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า หีโน - เลว ได้แก่ ลามก. ภพในท่ามกลางของสมาธิ
เลวและสมาธิสูง ชื่อว่า มชฺโฌ - มัชฌะ - ปาฐะว่า มชฺฌิโม - มัช-
ฌิมะบ้าง. ความอย่างเดียวกัน, สมาธิถึงความเป็นประธาน ชื่อว่า
ปณีโต - ประณีต ความว่าสูงที่สุด. พึงทราบสมาธิเหล่านั้นด้วยการ
ประกอบไว้. ในขณะประกอบ ฉันทะ วีริยะ จิตตะหรือวิมังสา ของ
สมาธิใดเลว, สมาธินั้นชื่อว่า หีนะ. ธรรมเหล่านั้นของสมาธิใดปาน
กลาง, สมาธินั้นชื่อว่า มัชฌิมะ. ของสมาธิใดประณีต สมาธินั้น
ชื่อว่า ปณีตะ, หรือสมาธิสักว่าให้เกิดขึ้นก็ชื่อว่า หีนะ, เจริญไม่
ค่อยดีนัก ชื่อว่า มัชฌิมะ, เจริญอย่างดียิ่งถึงความชำนาญ ชื่อว่า
ปณีตะ. อรูปาวจรสมาธิพึงทราบทำนองเดียวกับนัยดังกล่าวแล้วใน
รูปาวจรสมาธิ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า สุญฺญโต สมาธิ ดังต่อไปนี้
เมื่อการออกจากมรรคเกิดแล้ว ด้วยอนัตตานุปัสนาของพระโยคาวจรผู้
เห็นตามลำดับแห่งวิปัสสนาว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ทุกฺขา
อนตฺตา - สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพราะ
วิปัสสนานั้นเป็นไปแล้ว โดยความเป็นของสูญในสังขารทั้งหลายที่ไม่มี
ตัวตน, ฉะนั้นจึงชื่อว่า สุญฺญตาอาทิผิด อาณัติกะ. อริยมรรคสมาธิ สำเร็จด้วยอาทิผิด อาณัติกะ
สุญญตานั้น ชื่อว่า สุญญตสมาธิ, อธิบายว่า สมาธิที่เป็นไปแล้ว
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 三月 11, 2012

Saek

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/540/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ด้วยอบเชยและแมงลัก เหมือนดังจะให้คนเบิกบานใจ
ด้วยดอกไม้และกิ่งไม้อันมีกลิ่นหอม เหล่าภมรโผผิน
บินว่อนเสียงวู่ ๆ อยู่โดยรอบ เพราะกลิ่นหอมแห่ง
บุปผชาติ ดูก่อนพราหมณ์ ณ ที่ใกล้สระนั้น มีฟักแฟง
แตงน้ำเต้า ๓ ชนิด ชนิดหนึ่งผลโตเท่าหม้อ อีกสอง
ชนิดผลโตเท่าตะโพน.
[๑๑๕๓] อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีผักกาด กระเทียม
หอม เป็นอันมาก ต้นเต่ารั้งตั้งอยู่สล้างดังต้นตาล
อุบลเขียวมีเป็นอันมาก ขึ้นอยู่ริมน้ำพอเอื้อมเด็ดได้
มะลิวัน นมตำเลีย หญ้านาง อบเชย อโศก เทียนป่า
ดอกเข็ม หางช้าง อังกาบ กากะทิง กระลำพัก
ทองเครือ ดอกแย้มบานสะพรั่งขึ้นขนาน ต้นชุมแสง
ขึ้นแซงแซกอาทิผิด คัดเค้าและชะเอม มะลิซ้อน หงอนไก่
เทพทาโร แคฝอย ฝ้ายทะเล กรรณิการ์ดอกเบ่งบาน
งาม ปรากฏดังตาข่ายทองเปรียบด้วยเปลวไฟ บุปผ-
ชาติเกิดบนบกและที่เกิดในน้ำ ปรากฏมีในสระนั้น
ทุกอย่าง สระมุจลินท์มีน้ำมาก เป็นที่รื่นรมย์ ด้วย
ประการฉะนี้.
[๑๑๕๔] อนึ่ง ในสระนั้นมีปลาซึ่งว่ายอยู่ในน้ำ
มากมาย คือ ปลาตะเพียน ปลาช่อนอาทิผิด อักขระ ปลาดุก จระเข้
ปลาฉลาม ณ ที่ใกล้สระนั้น มีชะเอมต้น ชะเอมเครือ
กำยาน ประยงค์ เนรภูสี แห้วหมู สัตตบุษย์ สมุล-
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 三月 06, 2012

Amanut

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/62/17  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เรื่องยสกุลบุตร
[๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครพาราณสี มีกุลบุตร ชื่อ ยส
เป็นบุตรเศรษฐี สุขุมาลอาทิผิด อาณัติกะชาติ ยสกุลบุตรนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ หลังหนึ่ง
เป็นที่อยู่ในฤดูหนาว หลังหนึ่งเป็นที่อยู่อาทิผิด อาณัติกะในฤดูร้อน หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน
ยสกุลบุตรนั้นรับบำเรอด้วยพวกดนตรี ไม่มีบุรุษเจือปนในปราสาทฤดูฝนตลอด
๔ เดือนไม่ลงมาเบื้องล่างปราสาท ค่ำวันหนึ่ง เมื่อยสกุลบุตรอิ่มเอิบพร้อมพรั่ง
บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ได้นอนหลับก่อน ส่วนพวกบริวารชนนอนหลับภาย
หลังประทีปน้ำมันอาทิผิด อักขระยังตามสว่างอยู่ตลอดคืน คืนนั้นยสกุลบุตรตื่นขึ้นก่อน ได้เห็น
บริวารชนของตนกำลังนอนหลับ บางนางมีพิณตกอยู่ที่รักแร้ บางนางมีตะโพน
วางอยู่ข้างคอ บางนางมีเปิงมางตกอยู่ที่อก บางนางสยายผม บางนางมี
น้ำลายไหล บางนางบ่นละเมออาทิผิด อาณัติกะต่าง ๆ ปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจป่าช้าผีดิบ ครั้น
แล้วความเห็นเป็นโทษได้ปรากฏแก่ยสกุลบุตร จิตตั้งอยู่ในความเบื่อหน่าย จึง
ยสกุลบุตรเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ แล้ว
สวมรองเท้าทองเดินตรงไปยังประตูนิเวศน์ พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ด้วยหวัง
ใจว่า ใคร ๆ อย่าได้ทำอันตรายแก่การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตของ
ยสกุลบุตรเลย ลำดับนั้น ยสกุลบุตรเดินทรงไปทางประตูพระนคร พวก
อมนุษย์อาทิผิด อักขระเปิดประตูให้ด้วยหวังใจว่า ใคร ๆ อย่าได้ทำอันตรายแก่การออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตของยสกุลบุตร ทีนั้น ยสกุลบุตรได้เดินตรงอาทิผิด อักขระไปทางป่า
อิสิปตนะมฤคทายวัน.
[๒๖] ครั้นปัจจุสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้าตื่นบรรทมแล้ว
เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้ง ได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเดินมาแต่ไกล ครั้น
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 三月 05, 2012

Haeng

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 47/666/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๓๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น
เนือง ๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะวิญญาณนั่นเองดับ
เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อม
เกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เพราะ
วิญญาณดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด.
ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้น
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยดังนี้แล้ว ย่อมเป็น
ผู้หายหิว ดับรอบแล้วเพราะความเข้าไปสงบ
แห่งอาทิผิด อักขระวิญญาณ.
[๓๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็น
เนือง ๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะผัสสะนั่นเองดับเพราะสำรอก
โดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา
เห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ของชน
ทั้งหลายผู้อันผัสสะครอบงำแล้ว ผู้แล่นไป
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 03, 2012

Phuttha Chao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/451/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๑๐. สคารวสูตร

[๗๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้น นางพราหมณีชื่อธนัญชานีอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน
ปัจจลกัปปะ เป็นผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
นางพลั้งพลาดแล้วเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่อาทิผิดพระผู้มีพระภาคเจ้า
อรหัตตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าอาทิผิด อาณัติกะพระองค์นั้น.
[๗๓๕] ก็สมัยนั้นแล มาณพชื่อสคารวะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านปัจจล-
กัปปะ เป็นผู้รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิคัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ พร้อมทั้ง
ประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์
ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ เขาได้ฟังวาจาที่
นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวอย่างนั้น ครั้นแล้วได้กล่าวกะนางธนัญชานี-
พราหมณีว่า นางธนัญชานีพราหมณีไม่เป็นมงคลเลย นางธนัญชานีเป็นคน
ฉิบหาย เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรวิชามีอยู่ เออก็นางไปกล่าวสรรเสริญ
คุณของสมณะหัวโล้นนั้นทำไม นางธนัญชานีพราหมณีได้กล่าวว่า ดูก่อนพ่อผู้มี
พักตร์อันเจริญ ก็พ่อยังไม่รู้ซึ่งศีลและปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ถ้าพ่อพึงรู้ศีลและพระปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พ่อจะไม่พึง
สำคัญ. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นว่า เป็นผู้ควรด่า ควรบริภาษเลย
สคารวมาณพกล่าวว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น พระสมณะมาถึงบ้าน
 
พระปิฎกธรรม