Rueang
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 3/407/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
หรือสมควรหนอ ดังนี้ ชื่อว่า ปริกถา. ภิกษุถามว่า อุบาสก ! พวก
ท่านอยู่ที่ไหน ? พวกอุบาสกตอบว่า ที่ปราสาท ขอรับ ! พูดต่อไปว่า
ก็ปราสาทไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายหรือ อุบาสก ! คำพูดมีอาทิอย่างนี้
ชื่อว่า โอภาส. ก็การกระทำมีอาทิอย่างนี้ คือภิกษุเห็นพวกชาวบ้านแล้ว
ขึงเชือก ให้ตอกหลัก เมื่อพวกชาวบ้านถามว่า นี้ให้ทำอะไรกัน ขอรับ ?
ตอบว่า พวกอาตมาจะสร้างที่อยู่อาศัยที่นี้ ชื่อว่า นิมิตตกรรม. ส่วน
ในคิลานปัจจัย แม้วิญญติก็ควร จะป่วยกล่าวไปไยถึงปริกถาเป็นต้นเล่า.
คำว่า มนุสฺสา อุปทฺทุตา ยาจนาย อุปทฺทุตา วิญฺญตฺติยา
มีความว่า พวกชาวบ้านถูกบีบคั้นด้วยการขอร้อง และด้วยการออกปาก
ขอนั้นของภิกษุเหล่านั้น.
บทว่า อุพฺภิชฺชนฺติปิ มีความว่า ย่อมได้รับความหวาดสะดุ้ง คือ
ไหว หวั่นไปว่า จักให้นำอะไรไปให้หนอ ?
บทว่า อุตฺตสนฺติปิ มีความว่า พบภิกษุเข้า ก็พลันสะดุ้งชะงัก
ไปเหมือนพบงูฉะนั้น.
บทว่า ปลายนฺติปิ มีความว่า ย่อมหนีไปเสียแต่ไกล โดยทางใด
ทางหนึ่ง.
สองบทว่า อญฺเญนปิ คจฺฉนฺติ มีความว่า ละทางที่ภิกษุเดินไป
เสีย แล้วกลับเดินมุ่งไปทางซ้าย หรือทางขวา. ปิดประตูเสียบ้างก็มี.
[แก้อรรถศัพท์อาทิผิด อักขระในเรื่องอาทิผิด อาณัติกะมณีกัณฐนาคราช]
สองบทว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เป็นต้น มีความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ และตรัสธรรมี-
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论