星期三, 五月 02, 2012

Fang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 60/318/22 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พำนักอยู่ ดังนี้เลยนะ. เขารับคำว่าดีละ พระมหาสัตว์รับปฏิญญาของเขาแล้ว
ก็ให้เขาขึ้นหลังตนพาไปส่งถึงทางไปกรุงพาราณสีแล้วจึงกลับ. ในวันที่เขาเข้า
ไปถึงกรุงพาราณสีนั่นเอง พระอัครมเหสีของพระราชาพระนามว่า เขมาเทวี
ทรงฝันเห็นกวางทองแสดงธรรมกถาถวายพระนางในพระสุบินเมื่อใกล้รุ่ง
ทรงพระดำริว่า ถ้ามฤคเห็นปานนี้ ไม่พึงมีไซร้ เราไม่น่าฝันเห็นเขา
ได้เลย คงจักมีแน่ ต้องกราบทูลแด่พระราชา. พระนางเข้าเฝ้าพระราชา
กราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม หม่อมฉันปรารถนาจะเห็นกวางทอง
ประสงค์จะฟังธรรมกถาของกวางทอง ถ้าจักได้ หม่อมฉันจักคงมีชีวิตอยู่
ถ้าไม่ได้ชีวิตของหม่อมฉันจักไม่มี. พระราชาทรงปลอบพระนาง พลางตรัสว่า
ขอให้มีในมนุษยโลกเถอะน่ะ เธอต้องได้แน่ ดังนี้แล้วรับสั่งให้หาพวกพราหมณ์
มาเฝ้า ตรัสถามว่า ธรรมดามฤคที่มีสีเหมือนสีทองยังจะมีอยู่หรือ ทรงสดับว่า
ข้าแต่สมมติเทพ มีอยู่พระเจ้าข้า ก็รับสั่งอาทิผิด สระให้บรรจุถุงเงิน ๑,๐๐๐ กระษาปณ์
ลงในผอบทอง วางไว้ ณ คอช้างที่ประดับเสร็จแล้ว มีพระประสงค์จะประทาน
ช้างนั้นกับผอบทองที่ใส่ถุงเงิน ๑,๐๐๐ กระษาปณ์ และสิ่งของที่ยิ่งกว่านี้แก่ผู้ที่
บอกเรื่องกวางทองได้ แล้วรับสั่งให้เขียนคาถาลงในแผ่นทอง ให้หาอำมาตย์
ผู้หนึ่งมาเฝ้า มีดำรัสตรัสว่า มาเถิด เจ้าจงแจ้งคาถานี้ตามคำของเราแก่ชาว
พระนครนะพ่อ แล้วตรัสพระคาถาที่ ๑ ในชาดกนี้ว่า
ใครบอกมฤคซึ่งสูงสุดกว่ามฤคทั้งหลายนั้นแก่
เราได้ เราจะให้บ้านส่วยและหญิงที่ประดับประดาแล้ว
แก่ผู้นั้น.
อำมาตย์ ถือแผ่นทองเที่ยวป่าวร้องไปในพระนครทั่วทุกแห่ง ลำดับนั้น
แลเศรษฐีบุตรก็เข้าไปสู่กรุงพาราณสี ฟังอาทิผิด สระถ้อยคำนั้นแล้วไปสู่สำนักอำมาตย์
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: