星期五, 一月 30, 2015

Sap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 4/131/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เจ้าเป็นพราหมณ์ชั่ว ดังนี้, แม้ภิกษุนั้น พระวินัยธรพึงปรับด้วยอาบัติ
เหมือนกัน.
ก็ในวาระว่า สนฺติ อิเธกจฺเจ เป็นต้นนี้ เป็นอาบัติทุกกฏ เพราะ
เป็นคำกล่าวกระทบกระทั่ง. แม้ในวาระว่า เย-นูน-น-มยํ ดังนี้เป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในอนุปสัมบัน เป็นทุกกฏอย่างเดียว ในวาระทั้ง ๔.
แต่ด้วยคำว่า โจโรสิ คณฺเภทโกสิ (เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนทำลายปม)
เป็นต้น ทุก ๆ วาระ เป็นทุกกฏเหมือนกัน ทั้งอุปสัมบันทั้งอนุปสัมบัน.
อนึ่ง เพราะความประสงค์จะเล่น เป็นทุพภาษิตทุก ๆ วาระ ทั้งอุปสัมบัน
ทั้งอนุปสัมบัน. ความเป็นผู้มีความประสงค์ในอันล้อเลียนและหัวเราะ ชื่อว่า
ความเป็นผู้มีความประสงค์จะเล่น ก็ในสิกขาบทนี้ เว้นภิกษุเสีย สัตว์ทั้งหมด
มีนางภิกษุณีเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบอาทิผิด สระว่า ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอนุปสัมบัน.
ในคำว่า อตฺถปุเรกขารสฺส เป็นต้น พึงทราบว่า ภิกษุผู้กล่าว
อรรถแห่งพระบาลี ชื่อว่า อัตถปุเรกขาระ (ผู้มุ่งอรรถ). ผู้บอกสอนพระบาลี
พึงทราบว่า ธัมมปุเรกขาระ (ผู้มุ่งธรรม). ผู้ตั้งอยู่ในการพร่ำสอน กล่าว
โดยนัยเป็นต้นว่า ถึงบัดนี้ เจ้าเป็นคนจัณฑาล, เจ้าก็อย่าได้ทำบาป, อย่าได้
เป็นคนมีมืดมามืดไปเป็นเบื้องหน้า ดังนี้, พึงทราบว่า ชื่อว่า อนุสาสนี-
ปุเรกขาระ (ผู้มุ่งสอน). บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เกิดทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑
ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม อกุศลจิต ทุกขเวทนา ฉะนี้แล.
แต่ในอาบัติเหล่านี้ อาบัติทุพภาษิต เกิดทางวาจากับจิต เป็นกิริยา
สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ อกุศลจิต มีเวทนา ๒ คือ สุขเวทนา ๑ อุเปกขา-
เวทนา ๑.
โอมสวาทสิกขาบทที่ ๒ จบ
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: