Sutsom
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 14/285/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความท้อแท้ภายใน ย่อมทำอันตรายแก่ผู้ไม่มี
ความเพียร ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมหลงลืมในการกำหนด อุบายในการงดเว้น
สิ่งที่มิใช่อุบาย ผู้มีสติหลงลืมแล้ว ย่อมไม่สามารถในการกำหนดอุบาย และ
ในการสละสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย ด้วยเหตุนั้น กัมมัฏฐานนั้น ของภิกษุนั้น ย่อม
ไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้น กัมมัฏฐานนั้น ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งธรรม
เหล่าใด เพื่อทรงแสดงธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ. ทรงแสดงกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และองค์
แห่งสัมปโยคะ บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงองค์แห่งการละ จึงตรัสว่า นำออกเสีย
ซึ่งอภิชฌา และ โทมนัสในโลก.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า นำออกเสีย หมายความว่า นำออกเสีย
ด้วยการนำออกชั่วขณะหรือด้วยการนำออกด้วยการข่มไว้. คำว่า ในโลกก็คือ
ในกายอันนั้นแหละ. จริงอยู่ กายในที่นี้ ทรงหมายถึงโลก เพราะอรรถ
ว่าชำรุดทรุดอาทิผิดโทรม. อภิชฌา และโทมนัส มิใช่พระโยคาวจรนั้นละได้ในอารมณ์
เพียงกายเท่านั้น แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็ละได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้ในวิภังค์ (สติปัฏฐานวิภังค์) ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก.
คำนั้นท่านกล่าวตามนัยแห่งการขยายความ เพราะธรรมเหล่านั้น นับ
ได้ว่าเป็นโลก. แต่ท่านกล่าวคำอันใดไว้ว่า โลกเป็นอย่างไร โลกก็คือกาย
อันนั้นแหละ ความในคำนั้นมีดังนี้แล. พึงเห็นการเชื่อมความดังนี้ว่า นำออก
เสียซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลกนั้น . ก็เพราะในที่นี้ กามฉันท์รวมเข้ากับ
ศัพท์ว่า อภิชฌา พยาบาทรวมเข้ากับศัพท์ว่าโทมนัส ฉะนั้น จึงควรทราบว่า
ทรงอธิบาย การละนิวรณ์ด้วยการทรงแสดงธรรมอันเป็นคู่ที่มีกำลังนับเนื่องใน
นิวรณ์. แต่โดยพิเศษ ในที่นี้ ตรัสการละความยินดีที่มีกายสมบัติเป็น
มูลด้วยการกำจัดอภิชฌา ตรัสการละความยินร้ายที่มีกายวิบัติเป็นมูล ด้วยการ
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论