星期一, 二月 02, 2015

Nang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 14/283/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในกายนี้เท่านั้น ท่านอธิบายว่า มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างอื่น. คนทั้งหลาย
แลเห็นน้ำในพยับแดด แม้ที่ไม่มีน้ำฉันใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้ว่า
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่สวยงามว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข
เป็นตัวตน และสวยงาม ฉันนั้น หามิได้ ที่แท้ พิจารณาเห็นกาย ท่าน
อธิบายว่า พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมของอาการ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มิใช่ตัวตน และไม่สวยงามต่างหาก.
อีกอย่างหนึ่ง ก็กายอันนี้ใด ที่ท่านกล่าวไว้ข้างหน้าว่า มีลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ เป็นต้น มีกระดูกที่ป่นเป็นที่สุด ตามนัย พระบาลีเป็นต้น ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปป่าก็ดี ฯลฯ เธอมีสติหายใจ
เข้า ดังนี้ และกายอันใดที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค (ขุททกนิกาย) ว่า
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายคือดิน กายคือน้ำ กายคือไฟ
กายคือลม กายคือผม กายคือขน กายคือผิวหนัง กายคือหนังอาทิผิด กายคือเนื้อ
กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความของกายนั้นทั้งหมด แม้อย่างนี้ว่า
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย โดยพิจารณาเห็นในกายอันนี้เท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกาย ที่นับว่า
เป็นที่รวมแห่งธรรมมีผมเป็นต้นในกาย โดยไม่พิจารณาเห็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
ที่พึงถือว่าเป็นเรา เป็นของเราในกาย แต่พิจารณาเห็นกายนั้น ๆ เท่านั้นเป็น
ที่รวมแห่งธรรมต่าง ๆ มีผม ขนเป็นต้น.
อนึ่ง พึงทราบความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกายในกาย แม้โดยพิจารณา
เห็นกายที่นับว่าเป็นที่รวมแห่งอาการ มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นต้น ทั้งหมดทีเดียว
ซึ่งมีนัยที่มาในปฏิสัมภิทามรรค ตามลำดับบาลี เป็นต้นว่า พิจารณาเห็นใน
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: