Khap Khaen
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 77/539/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ว่าด้วยนิเทศอุปาทาน (บาลีข้อ ๒๖๔)
พึงทราบวินิจฉัยนิเทศอุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัยต่อไป.
บัณฑิตพึงชี้แจงอุปาทาน ๔ เหล่านั้น
โดยการจำแนกโดยอรรถ โดยย่อและพิสดาร
แห่งธรรม และโดยลำดับ.
จริงอยู่ ในพระบาลี ทรงยกอุปาทาน ๔ เหล่านั้นขึ้น ด้วยพระดำรัส
ที่ตรัสว่า คำว่า อุปาทาน ได้แก่ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน.
ว่าด้วยการจำแนกโดยอรรถ
การจำแนกโดยอรรถแห่งอุปาทาน ๔ เหล่านั้น ดังนี้
ธรรมที่ชื่อว่า กามุปทาน เพราะอรรถว่า ยึดมั่นกามกล่าวคือ
วัตถุกาม. อนึ่ง กามนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
กามุปาทาน.
คำว่า อุปาทาน ได้แก่การยึดมั่น เพราะอุปศัพท์ในคำว่า อุปาทาน
นี้ มีอรรถว่ามั่น เหมือนในศัพท์มีคำว่า อุปายาส (ความคับแค้นอาทิผิด อักขระใจ)
อุปกัฏฐะ (เวลาใกล้เข้ามาแล้ว ) เป็นต้น. อนึ่ง ทิฏฐินั้น ด้วยเป็นอุปาทาน
ด้วย จึงชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะ
อรรถว่า ยึดมั่นทิฏฐิ เพราะทิฏฐิหลังย่อมยึดมั่นทิฏฐิแรก เหมือนในประโยค
มีอาทิว่า "อัตตาและโลกเที่ยง" เป็นต้น. อนึ่ง ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน
เพราะอรรถว่า ยึดมั่นศีลและพรต. ศีลและพรตนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย
ดังนี้ก็ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะโคศีล (ปรกติของโค) โควัตร
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论