星期二, 七月 05, 2016

Phikhat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/345/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ที่ชื่อว่า อผาสุกา (ผู้มุ่งทำลายความผาสุก) เพราะไม่ใคร่ต่อการอยู่เป็นผาสุก
และเพราะใคร่ต่อการอยู่โดยไม่เป็นผาสุก. ที่ชื่อว่า อโยคกฺเขมกามา (ผู้มุ่ง
ทำลายแดนเกษม) เพราะไม่ใคร่ต่อความปลอดภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง และเพราะ
ใคร่ต่อภัย ดังนี้. การไปประกอบพร้อมกัน ชื่อว่า สํคติ (ความไปร่วม).
ความมาร่วมกัน ชื่อว่า สมาคโม (ความมาร่วม). ภาวะที่พร้อมกันในการยืน
การนั่งเป็นต้น ชื่อว่า สโมธานํ (ความประชุมร่วม). การทำร่วมกันซึ่งกิจ
ทั้งปวง ชื่อว่า มิสฺสีภาโว (ความเป็นผู้กระทำร่วม).
นี้เป็นโยชนา คือข้อแนะนำด้วยอำนาจแห่งสัตว์.
ส่วนโยชนาด้วยอำนาจแห่งสังขาร พึงถือเอาความตามที่ได้. คำว่า
อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า นี้เราเรียกชื่อว่า อัปปิยสัมปโยคทุกข์
อัปปิยสัมปโยคนั้น อนิฏฺฐอาทิผิด สระสโมธานลกฺขโณ มีการประชุมลงซึ่งสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนาเป็นลักษณะ จิตฺตวิฒาฏกรณรโส มีการทำความพิฆาตอาทิผิด อักขระจิตเป็นรส
อนตฺถภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีภาวะที่ไร้ประโยชน์เป็นปัจจุปัฏฐาน อัปปิย-
สัมปโยคทุกข์นั้น ชื่อว่าเป็นธรรมหนึ่งไม่มีโดยอรรถะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒ อย่างแก่บุคคลผู้
ประกอบด้วยอารมณ์อันไม่เป็นที่รักอย่างเดียว เพราะวัตถุทั้งหลายอันไม่น่า-
ปรารถนาถึงการประชุมลงแล้ว ย่อมยังทุกข์ทางกายให้เกิดขึ้นโดยการแทง
การตัด การผ่าเป็นต้นบ้าง ย่อมยังทุกข์ทางใจให้เกิดขึ้นโดยการเกิดความสะดุ้ง
กลัวบ้าง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: