星期六, 十一月 19, 2016

Banlu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/229/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลง
สู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสม
งา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้ง
กลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
ฉะนั้น.
อริยสาวกบรรลุอาทิผิด สระจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ
บริสุทธิ์อยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน
และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน
และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น.
อริยสาวกเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วย
สัทธรรม ๗ ประการนี้ และมีปกติได้ตามความปรารถนา ได้
โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้นแล มารผู้มีบาปก็ทำอันตราย
อริยสาวกไม่ได้.
จบ นครสูตรที่ ๓
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: