星期日, 十一月 13, 2016

Kan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 75/393/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ชื่อว่า อวิตฺถนตา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาการคือความเบาแห่งขันธ์ทั้ง ๓
เหล่านั้นโดยนัยแรก ตรัสอาการ คือ ความเบาแห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยที่ ๒.
ความอ่อน ชื่อว่า มุทุตา คำว่า มทฺทวตา ความว่า ความสนิธ
ความเกลี้ยงเกลา ตรัสเรียกว่า มัททวะ ความเป็นมัททวะนั้น ชื่อว่า มัททวตา.
ภาวะที่ไม่กักขฬะ ชื่อว่า อกักขฬตา. ภาวะที่ไม่กระด้าง ชื่อว่า อกถินตา.
แม้ในนิทเทสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า อาการ คือ ความอ่อนแห่งขันธ์ ๓
ไว้โดยนัยแรก และของวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.
ความสำเร็จแห่งการอาทิผิด อักขระงาน ชื่อว่า กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน
คือ ความควรแก่การประกอบในการทำกุศล. สองบทที่เหลือท่านเพิ่มมาด้วย
อำนาจพยัญชนะโดยแท้. จริงอยู่ แม้โดยบททั้ง ๒ พระองค์ก็ตรัสอาการ คือ
ความควรแก่การงานของขันธ์ทั้ง ๓ โดยนัยแรก และตรัสอาการ คือ ความควร
แก่การงานแห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.
ภาวะแห่งความคล่องแคล่ว ชื่อว่า ปคุณตา คือ ความไม่ชักช้า
ความไม่ป่วยไข้. บทที่เหลือเป็นบทที่เพิ่มมาด้วยอำนาจพยัญชนะ. แม้ในนิทเทส
นี้ ก็ตรัสความคล่องแคล่วไม่เป็นไข้นั่นแหละแห่งขันธ์ ๓ โดยนัยแรก ตรัส
ความคล่องแคล่วไม่ป่วยไข้แห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.
ภาวะแห่งความซื่อตรง ชื่อว่า อุชุตา คือ ความเป็นไปโดยอาการ
อันตรง. ภาวะแห่งขันธ์ ๓ อันตรงและวิญญาณขันธ์อันตรง เรียกว่า อุชุกตา.
ความปฏิเสธแห่งความคดเหมือนมูตรโค ชื่อว่า อชิมหตา (ความคล่องแคล่ว).
บทว่า อวงฺกตา ได้แก่ ปฏิเสธความโค้งเหมือนวงจันทร์. บทว่า อกุฏิลตา
ได้แก่ ปฏิเสธความคดเหมือนปลายงอนไถ. จริงอยู่. บุคคลใดทำบาปแล้วกล่าว
ว่าเราไม่ได้กระทำ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คดเหมือนมูตรโค (เยี่ยวโค)
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: