星期四, 十一月 10, 2016

Yom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/252/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จึงชื่อว่า พระธรรมราชา. เพราะเป็นใหญ่ในแผ่นดินอันมีทะเลหลวง ๔ เป็น
ขอบเขต จึงชื่อว่า จาตุรนต์ อธิบายว่า เป็นใหญ่ในแผ่นดินที่ประดับด้วย
ทวีปทั้งสี่ ซึ่งมีสมุทรทั้ง ๔ ทิศเป็นที่สุด. เพราะทรงชำนะข้าศึกมีความโกรธ
เป็นต้นในภายใน และพระราชาทั้งหมดในภายนอก จึงชื่อว่า ผู้ชำนะพิเศษ.
คำว่า ถึงความมั่นคงในชนบท ความว่า ถึงความแน่นอน ความมั่นคงใน
ชนบท ไม่มีใครทำให้กำเริบได้ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทรงถึงความมั่นคงใน
ชนบท เพราะทรงมีชนบทที่ถึงความมั่นคง ไม่ต้องทรงมีความขวนขวายยินดี
ในการงานของพระองค์ ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลนในชนบทนั้น. บทว่า
อย่างไรนี้ เป็นคำสำหรับลงแทรกเข้ามา. ความว่า แก้วเหล่านั้น ของพระเจ้า
จักรพรรดินั้น คืออะไรบ้าง. ในคำว่า จักรแก้ว เป็นต้น ชื่อว่าจักรแก้ว
เพราะสิ่งนั้นเป็นจักร และชื่อว่าเป็นแก้ว เพราะอรรถว่า ให้ความยินดี. ในทุก
บท ก็เช่นนี้ทั้งนั้น.
ก็ในบรรดารัตนะเหล่านี้ พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงชนะแว่นแคว้นที่ยัง
ไม่ชนะด้วยจักรรัตนะ. ทรงเที่ยวไปตามความสุขสะดวกในแว่นแคว้นด้วย
ช้างแก้ว และม้าแก้ว ทรงรักษาแว่นแคว้นได้ด้วยปริณายกแก้ว. ทรงเสวย
อุปโภคสุขด้วยรัตนะนอกนี้. ก็การประกอบด้วยอำนาจแห่งความอุสสาหะ
แห่งพระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยรัตนะที่ ๑ ความประกอบด้วย
ศักดิ์แห่งเจ้า ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยช้างแก้ว ม้าแก้ว และคหบดีแก้ว การ
ประกอบด้วยอำนาจแห่งความฉลาด ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยปริณายกแก้วสุดท้าย.
ผลแห่งการประกอบด้วยอำนาจสามประการ ย่อมอาทิผิด อักขระบริบูรณ์ดีด้วยนางแก้ว และ
แก้วมณี. พระเจ้าจักรพรรดินั้น ทรงเสวยความสุขในการใช้สอยด้วยนางแก้ว
และแก้วมณี. ทรงเสวยอิสริยสุขด้วยรัตนะนอกนี้. อนึ่ง รัตนะ ๓ ข้างต้นของ
พระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งกรรมอันกุศลมูลคือ อโทสะ
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: