星期日, 四月 30, 2017

Vigata

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 88/189/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๖. นเหตุสเหตุกธรรม และนเหตุอเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
๗. นเหตุสเหตุกธรรม และนเหตุอเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาหาร-
ปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ
[๑๖๓] ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ
ในปัจจัยทั้งปวง มี ๗ วาระ ฯลฯ ในนสหชาตปัจจัย มี ๖ วาระ ในนอัญญ-
มัญญปัจจัย มี ๖ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๖ วาระ ในปัจจัยทั้งปวง มี ๗
วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน-
โนอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตอาทิผิด อักขระปัจจัย มี
๗ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.
พึงนับอย่างนี้.
ปัจจนียนัย จบ

อนุโลมปัจจนียนัย
การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ
[๑๖๔] เพราะอารัมมณปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ใน
นอธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในปัจจัยทั้งปวง มี
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 29, 2017

Son

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 65/228/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ นี้ผัสสะ
เป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคต
นี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน นี้เรียกว่า ญาตปริญญา.
ตีรณปริญญา เป็นไฉน ? ธีรชนทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณา
ซึ่งผัสสะ คือ ย่อมพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
โรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่าง
อื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค
เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่
ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนอาทิผิด อักขระเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็น
ของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไป
เป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลอาทิผิด สระแห่งความลำบาก เป็นดัง
เพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอัน
เหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชรา
เป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิเป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา
เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา
เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของ
ดับไป เป็นของไม่ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า
ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญา เป็นไฉน ? ธีรชนพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมละ บรร
เทาทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สม
จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะใน
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 四月 28, 2017

Khao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 71/212/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สตรังสิยเถราปทานที่ ๒ (๕๒)
ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระโลกนายก
[๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อุดมบุรุษ เสด็จขึ้นภูเขาอันสูงสุด
แล้ว ประทับนั่งอยู่ เราเป็นพราหมณ์ผู้เรียนจบมนต์ อยู่ใน
ที่ไม่ไกลภูเขา.
ได้เข้าไปเฝ้าอาทิผิด พระมหาวีรเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็น
นราสภ ประนมกรอัญชลีแล้ว ชมเชยพระผู้นายกของโลกว่า
พระมหาวีรพุทธเจ้าพระองค์นี้ ทรงประกาศธรรมอาทิผิด อักขระอันประเสริฐ
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ไม่ทรงกำเริบดังมหา-
สมุทร หาผู้ต้านทานได้ยากดุจอรรณพ ไม่ทรงครั่นคร้าม
เหมือนราชสีห์ทรงแสดงธรรม
พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงทราบความดำริ
ของเรา ประทับยืนในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า ผู้ใดได้ถวายอัญชลีนี้ และเชยชมพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐสุด ผู้นั้นจักได้เสวยเทวรัชสมบัติตลอด ๓ หมื่นกัป.
ในแสนกัป พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอังคีรส ผู้มีกิเลส
ดังหลังคาเปิด จักเสด็จอุบัติในภพนั้น ผู้นั้น จักเป็นโอรสผู้รู้
มรดกในธรรมของพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันธรรมนิรมิต
แล้ว จักเป็นพระอรหันต์มีชื่อว่าสตรังสี.
เรามีอายุ ๗ ปีโดยกำหนด ออกบวชเป็นบรรพชิตมีชื่อว่า
สตรังสี รัศมีของเราแผ่ออกไป เรามักเพ่งฌาน ยินดีใน
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 四月 24, 2017

Khio

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/206/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ประมาณ ๙๐๐ โยชน์ ฝาข้างหนึ่ง ๆ ประมาณ ๘๑ โยชน์. เปลวไฟนั้นตั้งขึ้น
ในทิศบูรพาจดฝาทิศประฉิมทะลุฝานั้นไปข้างหน้า ๑๐๐ โยชน์. แม้ในทิศ
ที่เหลือ ก็มีนัยนี้แล. ด้วยประการฉะนี้ โดยส่วนยาวและส่วนกว้าง ด้วยที่สุด
ของเปลวไฟ มีประมาณ ๓๑๘ โยชน์. แต่โดยรอบ ๆ มีประมาณ ๙๕๔ โยชน์.
ส่วนโดยรอบกับอุสสุทประมาณหมื่นโยชน์. ในบทว่า อุพฺภตํ ตาทิสเมว โหติ
นี้ ความว่า ไม่สามารถจะยกเท้าที่เหยียบจนถึงกระดูกให้มั่นคงได้. ก็ในบทนี้
มีอธิบายดังนี้ ถูกเผาไหม้ทั้งข้างล่างข้างบน. ด้วยประการฉะนี้ ในเวลาเหยียบ
ปรากฏถูกเปลวไฟเผาไหม้ในเวลายกขึ้น ก็เป็นเช่นนั้น . เพราะฉะนั้นท่านจึง
กล่าวอย่างนี้. บทว่า พหุสมฺปตฺโต คือถึงหลายแสนปี
ถามว่า เพราะเหตุไร นรกนี้จึงชื่อว่า อเวจี. ตอบว่า ท่านเรียก
ระหว่างว่าคลื่น. ในนรกนั้น ไม่มีระหว่างของเปลวไฟของสัตว์หรือของทุกข์
เพราะฉะนั้น นรกนั้น จึงชื่อว่า อเวจี. เปลวไฟตั้งขึ้นแต่อาทิผิด อักขระฝาด้านทิศบูรพาของ
นรกนั้น พลุ่งไป ๑๐๐ โยชน์ ทะลุฝาไปข้างหน้า ๑๐๐ โยชน์. แม้ในทิศที่เหลือ
ก็มีนัยนี้แล. เทวทัตเกิดในท่ามกลางแห่งเปลวไฟทั้ง ๖ เหล่านี้. เทวทัตมี
อัตภาพประมาณ ๑๐๐ โยชน์. เท้าทั้งสองเข้าไปสู่โลหะแผ่นดินถึงข้อเท้า
มือทั้งสองเข้าไปสู่ฝาโลหะถึงข้อมือ. ศีรษะจดหลังคาโลหะถึงกระดูกคิ้วอาทิผิด อักขระ. หลาว
โลหะอันหนึ่งเข้าไปโดยส่วนล่างทะลุกายไปจดหลังคา. หลาวออกจากฝาด้านทิศ
ปราจีนทะลุหัวใจ เข้าไปฝาด้านทิศประฉิม หลาวออกจากฝาด้านทิศอุดร
ทะลุซี่โครงไปจดฝาด้านทิศทักษิณ เทวทัต เป็นเช่นนี้ เพราะผลกรรมที่ว่า
เทวทัตหมกไหม้อยู่เพราะผิดในพระตถาคตผู้ไม่หวั่นไหว. ด้วยประการฉะนี้
นรกชื่อว่า อเวจี เพราะเปลวไฟไม่หยุดยั้ง. ในภายในนรกนั้น ในที่ประมาณ
๑๐๐ โยชน์. สัตว์ยัดเหยียดกันเหมือนแป้งที่เขายัดใส่ไว้ในทะนาน ไม่ควร
กล่าวว่า ในที่นี้ มีสัตว์ ในที่นี้ไม่มี. สัตว์เดิน ยืน นั่ง และนอนไม่มีที่สุด.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 四月 22, 2017

Arahat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/189/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อม
ของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความ
ดับแห่งสังขารโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรม
ด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรมด้วย
นิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ อรหัตอาทิผิด สระผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนา-
คามี.
จบปัพพชิตสูตรที่ ๙

อรรถกถาปัพพชิตสูตรที่ ๙
ปัพพชิตสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตสฺมา แปลว่า เพราะเหตุที่ประโยชน์แห่งสามัญญผล
[คุณเครื่องเป็นสมณะ] ไม่ถึงพร้อมแก่ผู้ที่มีจิตมิได้สร้างสมอย่างนี้ ฉะนั้น.
บทว่า ยถาปพฺพชฺชา ปริจิตญฺจ โน จิตฺตํ ภวิสฺสติ. ความว่า สร้างสม
มาโดยสมควรแก่การบวช จริงอยู่ คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่าบวช
คนเหล่านั้นทั้งหมด ก็ปรารถนาพระอรหัต เพราะฉะนั้น จิตใดเขา
สร้างสมอบรมมาเพื่อประโยชน์แก่การบรรลุพระอรหัต จิตนั้นพึงทราบ
ว่า ชื่อว่าสร้างสมมาโดยสมควรแก่การบวช. เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของเราจักเป็นเช่นนี้. บทว่า โลกสฺส สมญฺจ วิสมญฺจ ได้แก่
สุจริตและทุจริตของสัตวโลก. บทว่า โลกสฺส สมฺภวอาทิผิด อักขระญฺจ วิภวญฺจ ได้แก่
ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกนั้น อีกนัยหนึ่ง สมบัติและวิบัติ.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 18, 2017

Aphat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/192/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธ
ต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรค
กาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรค
ไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด
โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ
โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราดอาทิผิด สระ หูด โรคละออง
บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง
โรคริดสีดวง อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน
อาพาธมีไข้อาทิผิด สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่
การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธ
อัน เกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ
ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษ
ในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา.
ดูก่อนอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป
ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ
ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาท
วิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมด
สิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี
ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่ง
อกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนอานนท์
นี้เรียกว่า ปหานสัญญา.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 四月 17, 2017

Fai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 46/198/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ด้วยสมถวิปัสสนาด้วยตนเอง ถึงความเป็นผู้เที่ยง ด้วยมรรคต้น มีมรรคอัน
ได้เฉพาะแล้ว ด้วยมรรคที่เหลือทั้งหลาย หรือมีญาณเกิดแล้ว ด้วยผลญาณ
ได้บรรลุแล้ว ซึ่งญาณทั้งปวง ด้วยตนเองเท่านั้น เพราะฉะนั้น ผู้นั้นชื่อว่า
อนญฺเนยฺโย อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแล.
ทิฏฐิวิสูกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๒
คาถาว่า นิลฺโลลุโป ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า วิเสท (พ่อครัว) ของพระเจ้าพาราณสี ปรุงพระกระยาหาร
ในระหว่างน้อมเข้าถวาย ด้วยความปรารถนาว่า การเห็นโภชนะที่ฟูใจ เป็นรส
ที่ประเสริฐ ทำอย่างไรหนอ พระราชาพึงพระราชทานทรัพย์แก่เรา. พระ-
กระยาหารนั้นยังความประสงค์ที่จะเสวยให้เกิดขึ้นแก่พระราชาด้วยกลิ่นเท่านั้น
จึงทำให้พระเขฬะเกิดขึ้นในพระโอษฐ์ แต่พอพระองค์ทรงใส่พระกระยาหาร
คำแรกลงในพระโอษฐ์ ประสาทสำหรับรับรส ๗ พัน ก็ซาบซ่านดุจถูกน้ำ
อมฤตฉะนั้น วิเสทคิดว่า บัดนี้ พระราชาจักทรงพระราชทานแก่เรา ฝ่ายอาทิผิด อาณัติกะ
พระราชาทรงพระราชดำริว่า พ่อครัวสมควรแก่สักการะ แต่ครั้นทรงลิ้มรส
แล้ว ทรงพระราชดำริว่า เกียรติศัพท์ที่ชั่ว พึงระบือถึงเราผู้สักการะว่า
พระราชานี้เป็นผู้โลภติดในรส จึงไม่ตรัสอะไร ฝ่ายวิเสทก็คิดว่า พระราชา
จักพระราชทานรางวัลในบัดนี้ จนกระทั่งเสวยพระกระยาหารเสร็จอย่างนี้ แม้
พระราชาก็ไม่ตรัสอะไร เพราะทรงกลัวการติเตียน.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 16, 2017

Kamlang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/456/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๒๘๖] นางหิริเทพธิดานั้น ผู้ไม่คบสัตว์ลามก
ในกาลทุกเมื่อ อันโกสิยดาบสผู้มีความรุ่งเรืองอนุมัติ
แล้ว ได้เข้าไปสู่อาศรมอันน่ารื่นรมย์ สมบูรณ์ด้วย
น้ำและผลไม้ อันท่านผู้ประเสริฐบูชาแล้ว ณ ที่ใกล้
อาศรมนั้น มีรุกขชาติเป็นอันมาก กำลังอาทิผิด สระผลิดอกออก
ผล คือ มะม่วง มะหาด ขนุน ทองกวาว มะรุม
อีกทั้งต้นโลท บัวบก การะเกด จันทน์กะพ้อ หมาก
หอมควาย กำลังออกดอกสะพรั่ง ในที่ใกล้อาศรมนั้น
มากไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ๆ คือ ต้นสาละ ต้นกุ่ม ต้นหว้า
ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นมะซาง ไม้ย่างทราย ราชพฤกษ์
แคฝอย ต้นจิก ต้นลำเจียก มีกิ่งก้านห้อยย้อยลงมา
กำลังส่งกลิ่นหอมน่ายวนใจ ถั่วแระ อ้อยแขม ถั่วป่า
ต้นมะพลับ ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเหลืองเมล็ดเล็ก
กล้วยไม่มีเมล็ด ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ราชดัด ข้าวสาร
ที่เกิดเองมีอยู่เป็นอันมากที่อาศรมนั้น มีสระโปกขรณี
ที่เกิดเอง งดงามไม่ขุ่น มีท่าราบเรียบ น้ำใสจืดสนิท
ไม่มีกลิ่นเหม็น อนึ่ง ในสระโปกขรณีนั้น มีปลา
ต่าง ๆ ชนิด คือ ปลาดุก ปลากระทุงเหว ปลากราย
กุ้ง ปลาตะเพียน ปลาฉลาด ปลากา ว่ายอยู่คลาคล่ำ
ในสระโปกขรณีอันมีขอบคัน เป็นปลาที่ปล่อย มีเหยื่อ
มากชนิด มีนกต่าง ๆ ชนิด คือ หงส์ นกกระเรียน
นกยูง นกจากพราก นกออก นกกระเหว่าลาย นก
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 四月 14, 2017

Thiang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/205/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร. จริงอยู่ ผู้มีความเพียรนั้น
เป็นผู้ประกอบด้วยวิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร) ดังที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้น มีกำลังใจ
มีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ชื่อว่า อาตาปี เพราะ
มีปกติเผากิเลสได้โดยสิ้นเชิง. บทว่า โอตฺตปฺปี ได้แก่ ชื่อว่ามีปกติเผา
กิเลส เพราะประกอบด้วยโอตตัปปะ ดังที่ท่านกล่าวไว้อยู่นี้ว่า บุคคลย่อม
เผาสิ่งที่ควรเผา คือ เผาความเกิดแห่งอกุศลธรรมอันลามก ดังนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า โอตตัปปี. จริงอยู่ ผู้ที่ประกอบด้วยหิริ และโอตตัปปะ เพราะเว้น
จากอกุศลธรรมอันลามกนั้น ท่านว่าเป็นผู้มีโอตตัปปะ ด้วยประการฉะนี้. ผู้
ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ เป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย
เป็นผู้ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย. ท่านแสดงถึงสีลสัมปทาของผู้นั้น ด้วย
ประการฉะนี้. บทว่า อาตาปี ท่านแสดงถึงความที่บุคคลนั้นเป็นผู้ขวนขวาย
ในสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา โดยแสดงถึงการเผากิเลสโดยนัยนี้. อนึ่ง
ความเพียรตามที่กล่าวแล้ว เว้นเสียจาก ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา จะมี
ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น อินทรีย์อันมีศรัทธาครบ ๕ ทำวิมุตติให้แก่กล้า เป็นอัน
ท่านกล่าวโดยอรรถเท่านั้น. ในความสำเร็จเหล่านั้น สัญญาอันเป็นนิพเพธภาคี
(ส่วนแห่งการตรัสรู้) ๖ อย่าง คือ สัญญาในสิ่งไม่เที่ยงอาทิผิด อาณัติกะว่าไม่เที่ยง ๑ สัญญา
ในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ๑ สัญญาในทุกข์ว่าเป็นอนัตตา ๑ สัญญาในการละ
ทุกข์ ๑ สัญญาในความสิ้นกำหนัด ๑ สัญญาในนิโรธ ๑ เป็นความสำเร็จ
นั่นเอง
พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงถึงความเป็นผู้ควร เพื่อบรรลุมรรค ผล
นิพพาน เพราะศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นโลกิยะของผู้ประกอบด้วยธรรม
สองเหล่านี้สำเร็จ จึงตรัสว่า อาตาปี จ โข ฯเปฯ อธิคมาย ภิกษุผู้มี
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 四月 11, 2017

Chet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/374/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จัมเปยยขันธกะ
เรื่องพระกัสสปโคตร
[๑๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ริมฝั่งสระ
โบกขรณีชื่อคัคครา เขตจัมปานคร ครั้งนั้น บ้านวาสภคามตั้งอยู่ในกาสี
ชนบท พระชื่อกัสสปโคตรเป็นเจ้าอาวาส ในวาสภคามนั้นฝักใฝ่ในการก่อสร้าง
ถึงความขวนขวายว่า ทำไฉน ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา พึงมา ที่มาแล้ว
พึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้พึงถึงความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ สมัยต่อมา
ภิกษุหลายรูป เที่ยวจาริกในกาสีชนบท ได้ไปถึงวาสภคาม พระกัสสปโคตร
ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงปูอาสนะ ตั้งอาทิผิด น้ำล้างเท้า ตั่ง
รองเท้า กระเบื้องเช็ดอาทิผิด อักขระเท้า ลุกไปรับบาตรจีวร นิมนต์ให้ฉันน้ำ ได้จัดแจง
การสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร พระอาคันตุกะ
เหล่านั้น จึงอาทิผิด สระได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอาวาสรูปนี้ดีมาก
ได้จัดแจงอาทิผิด อักขระการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ผิฉะนั้น
พวกเราจงพักอยู่ในวาสภคามนี้แหล่ะ ครั้นแล้วได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นนั่นเอง
พระกัสสปโคตรจึงได้มีความปริวิตกว่า ความลำบากโดยฐานเป็นอาคันตุกะ
ของพระอาคันตุกะเหล่านี้ สงบหายแล้ว พระอาคันตุกะที่ไม่ชำนาญในที่โคจร
เหล่านี้ บัดนี้ชำนาญในที่โคจรแล้ว อันการทำความขวนขวายในสกุลคนอื่น
จนตลอดชีวิต ทำได้ยากมาก และการขอก็ไม่เป็นที่พอใจของคนทั้งหลาย ถ้า
กระไรเราพึงเลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ดังนี้แล้ว
ได้เลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 四月 07, 2017

Thoet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/377/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อ
ก่อนแลพระเจ้าอาวาสรูปนี้จัดแจงการสรงน้ำ จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว
ภัตตาหาร บัดนี้ เธอเลิกจัดแจงยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร อาวุโสทั้ง
หลาย เดี๋ยวนี้พระเจ้าอาวาสรูปนี้ชั่วเสียแล้ว ผิฉะนั้น พวกเราจงยกพระเจ้า
อาวาสรูปนี้เสีย ต่อมาจึงประชุมกัน ได้กล่าวคำนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า เมื่อ
ก่อนแล ท่านได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว
ภัตตาหาร บัดนี้ ท่านนั้นเลิกจัดแจงยาคู ของอาทิผิด อักขระควรเคี้ยว ภัตตาหารเสียแล้ว
อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้น ไหม ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า
อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงยกข้าพระ-
พุทธเจ้าเสียฐานไม่เห็นอาบัติทันที ข้าพระพุทธเจ้าได้มีความปริวิตกว่า เราไม่
รู้ข้อนั้นว่า นั่นอาบัติ หรือมิใช่อาบัติ เราต้องอาบัติแล้วหรือไม่ต้อง ถูกยก
เสียแล้วหรือไม่ถูกยก โดยธรรมหรือไม่เป็นธรรม กำเริบหรือไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะหรือไม่ควรแก่ฐานะ ถ้ากระไร เราพึงไปจัมปานคร แล้วทูลถาม
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้ามาจากวาสภคามนั้น พระพุทธ-
เจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหา
มิได้ เธอไม่ต้องอาบัติ เธอต้องอาบัติหามิได้ เธอไม่ถูกยกเสีย เธอถูกยกเสีย
หามิได้ เธอถูกยกเสียโดยกรรมไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ไปเถิดอาทิผิด อักขระ
ภิกษุ เธอจงอาศัยอยู่ในวาสภคามนั้นแหละ.
พระกัสสปโคตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้นพระพุทธ-
เจ้าข้า แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว
กลับไปวาสภคาม.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 四月 06, 2017

Kit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/189/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
หรือเป็นผู้สละนวกรรมแล้ว กิเลสทั้งหลายอาศัยอโยนิโสมนสิการและ
การสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น. กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถ
แห่งการไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น.
ก็ภิกษุบางรูป มาจากพรหมโลก ย่อมเป็นสัตว์บริสุทธิ์. กิเลสทั้ง
หลายย่อมไม่ได้โอกาส เพราะยังไม่มีการซ่องเสพ. แต่ว่าในกาลอื่นอีก เธอมี
การซ่องเสพอันได้แล้ว กิเลสทั้งหลายอาศัยอโยนิโสมนสิการและการ
สละสติย่อมเกิดขึ้น. กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งการไม่
ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นได้.
พึงทราบความที่กิเลสทั้งหลายยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งการไม่
ปรากฏ ดังพรรณนามาฉะนี้ก่อน.
อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ที่ยังไม่
เคยเสพเป็นอย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ ได้อารมณ์อันต่างด้วยอารมณ์มีอารมณ์
อันเป็นที่ชอบใจเป็นต้นที่ยังไม่เคยเสพ. กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น อาศัย
อโยนิโสมนสิการ และการสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอในอารมณ์นั้นได้.
กิเลสทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งอารมณ์อันยังไม่เคยเสพอย่างนี้
ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นได้. แต่ว่า ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค วิริยะหนึ่งนั่นแหละ
ย่อมยังกิจ คือ การไม่ให้กิเลสทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิดขึ้น และพึงเกิดอย่างนี้
ย่อมไม่ให้เกิดขึ้น ยังกิจอาทิผิด สระคือการละกิเลสทั้งหลายอันเกิดขึ้นแล้วด้วย ให้สำเร็จ.
เพราะฉะนั้น ในข้อว่า “อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ” นี้ จึงได้ อุปปันนะ
(คือกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว) ๔ อย่าง คือ
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 四月 05, 2017

Khwam Phian

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/207/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๕๒๓] ในบทเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องอาทิผิด อาณัติกะในมรรค อันใด นี้เรียกว่า วิริยะ.
สมาธิ เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.
ปธานสังขาร เป็นไฉน ?
การปรารภความอาทิผิด อักขระเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิริยะ สมาธิ และ
ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิ-
ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.
[๕๒๔] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้ดี ความดี ความถึงด้วยดี ความ
ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.
คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของ
บุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.
คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง
ธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
[๕๒๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธาน-
สังขาร เป็นอย่างไร ?
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 四月 03, 2017

Khao Jhan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 53/369/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภิกษุเหล่าใดเข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้ชอบทุกเมื่อ มี
พรหมจรรย์อันงอกงาม ภิกษุเหล่านั้นมีภพใหม่สิ้นแล้ว
ภิกษุผู้ยังมีใจฟุ้งซ่านกลับกลอก ถึงจะนุ่งห่มผ้าบังสุกุล
ภิกษุนั้นย่อมไม่งดงามด้วยผ้าบังสุกุลนั้น เหมือนกับวานร
คลุมด้วยหนังราชสีห์ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน
ไม่กลับกลอก มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์
ย่อมงดงามเพราะผ้าบังสุกุล ดังราชสีห์ในถ้ำฉะนั้น
เทพเจ้าผู้มีฤทธิ์มีเกียรติยศเป็นอันมากประมาณหมื่นและ
พรหมทั้งปวง ได้พากันมายืนประนมอัญชลี นอบ-
น้อมท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้มี
ฌานใหญ่ มีใจตั้งมั่น เปล่งวาจาว่า ข้าแต่ท่านบุรุษ
อาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดม-
บุรุษ ขอนอบน้อมแด่ท่าน ท่านย่อมเข้าอาทิผิด อาณัติกะฌานอยู่
เพราะอาศัยอารมณ์ใด ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมรู้ไม่ถึง
อารมณ์เหล่านั้นของท่าน น่าอัศจรรย์จริงหนอ วิสัยของ
ท่านผู้รู้ทั้งหลายลึกซึ้งยิ่งนัก ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้มา
ประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ นับว่าเป็นผู้เฉียบแหลมดังนาย
ขมังธนูก็ยังรู้ไม่ถึง ความยิ้มแย้มได้ปรากฏมีแก่ท่าน
พระกัปปินเถระ เพราะได้เห็นท่านพระสารีบุตรผู้ควรแก่
สักการบูชา อันหมู่ทวยเทพบูชาอยู่เช่นนั้นในเวลานั้น
ตลอดทั่วพุทธอาณาเขต ยกเว้นแต่สมเด็จพระมหามุนี
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 四月 02, 2017

Asangkhai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 79/213/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาฐิตกัปปีบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ฐิตกัปปีบุคคล. กัปตั้งอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
ฐิตกปฺโป. กัปตั้งอยู่ของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า
ฐิตกปฺโป แปลว่า ผู้มีกัปอันตั้งอยู่. อธิบายว่า เป็นผู้สามารถ เพื่อจะให้กัป
ดำรงอยู่ได้.
คำว่า ฑยฺหนเวลา อสฺสาติ ฌายนกาโล ภเวยย เวลาเป็นที่.
ไหม้ของกัปนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงชื่อว่า ฌายนกาโล แปลว่า มีกาล
เป็นที่ไหม้. คำว่า “เนว ตาว” ความว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมรรคนี้
(มคฺคสมงฺคีปุคฺคโล) ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผลเพียงใด กัปก็ยัง
ไม่ถูกไฟไหม้เพียงนั้น แม้กัปกำลังไหม้อยู่ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยมรรคนั้น
ไม่ไหม้เลย พึงดำรงอยู่ได้. จริงอยู่ขึ้นชื่อว่ากัปวินาศเป็นวิกาลใหญ่ เป็น
มหาปโยคะ เป็นมหาโลกวินาศ ด้วยสามารถแห่งการไหม้ตลอดแสนโกฏิจักรวาล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาวินาศนี้ พึงปรากฏอยู่อย่างนี้ทีเดียว แต่เมื่อพระ
ศาสนายังทรงอยู่ ชื่อว่า กัปวินาศก็ยังไม่มี ทั้งศาสนาก็ย่อมไม่มีในเวลาที่กัปพินาศ.
แต่ชื่อว่ากัปวินาศ ย่อมมีในเวลาอันถึงที่สุดแล้ว. แม้เมื่อความเป็นอย่างนั้น

๑. มหากัปหนึ่ง มีอายุเท่ากับ ๒๕๖ อันตรกัป
อสังขัยกัปหนึ่ง เท่ากับ ๑ ใน ๔ ของมหากัป. ท่านแบ่งมหากัปออกเป็น ๔ ภาค คือ
ก. สังวัฏฏอสังขัยกัป ได้แก่ โลกที่กำลังถูกทำลาย ข. สังวัฏฏฐายีอสังขัยอาทิผิด อักขระกัป ได้แก่ โลกที่ถูก
ทำลายเสร็จแล้ว ค. วิวัฏฏอสังขัยกัป ได้แก่ โลกที่กำลังก่อสร้าง ฆ. วิรัฏฎฐายีอสังขัยกัป ได้
แก่ โลกที่สร้างเสร็จแล้ว
อันตรกัป ได้แก่ ระยะเวลาที่ท่านประมาณไว้ดังนี้ คือ เมื่อมนุษย์มีอายุอยู่ถึง ๑ อสังขัยปี
แล้วก็ลดลงนา คือ ร้อยปีลดหนึ่งปี จนถึง ๑๐ ปี และกลับทับทวีเพิ่มขึ้นไปทุกชั่วระยะชีวิต จนถึง
๑ อสังขัยปีอีก จึงนับเป็นอันตรกัปหนึ่ง ๖๔ อันตรกัปจึงเป็นอสังขัยกัปหนึ่ง. อนึ่ง ขัยอายุของ
มนุษย์ที่ลดลงและเพิ่มขึ้นระยะนั้น เรียกว่า อายุกัป.
 
พระปิฎกธรรม